statistics for six sigma made easy thai version - 16

3
การออกแบบการทดลองแบบง่าย 257 สิ่งที่เราจะได้เรียนรู้ในบทนี้ คือ วิธีการออกแบบการทดลองแบบง่าย (Simplified Design of Experiments : DOE) จุดมุ่งหมายของการออกแบบการทดลองคือเพื่อทำให้ กระบวนการมีความเหมาะสมมากที่สุด โดยการหาค่าการปรับตั้งที่เหมาะสมของตัวแปร ขาเข้าหลักของกระบวนการ (Key Process Input Variables : KPIV) บทนี้สามารถนำ ไปใช้ได้ในขั้นตอนปรับปรุง (Improve) ของกระบวนการ DMAIC ซึ่งจะใช้กับงานการ ผลิตหรืองานที่มีลักษณะเป็นกระบวนการเป็นส่วนใหญ่ ผู้ใช้งาน Six Sigma บางคนจะมีความรู้สึกว่า DOE ไม่ได้เป็นหน้าที่ของ Green Belt เพราะว่า DOE เป็นเรื่องที่ซับซ้อนเกินไป อีกทั้งเป็นเพราะว่ามีหนังสือหลายเล่มทีเนื้อหาทั้งเล่มเขียนอธิบายเฉพาะหัวข้อนี้เท่านั้น ซึ่งบุคคลเหล่านี้ไม่เชื่อว่า DOE จะ สามารถถูกอธิบายได้ครอบคลุมด้วยเนื้อหาเพียงไม่กี่หน้าได้ ความกังวลเหล่านี้อาจจะ ถูกต้องสำหรับ DOE แบบดั้งเดิม แต่สำหรับ DOE แบบง่ายที่จะกล่าวถึงในบทนี้นั้น ได้มี การนำไปใช้งานบ่อยครั้งมากจาก Green Belt และให้ผลลัพธ์ที่บรรลุตามเป้าหมาย การออกแบบการทดลองแบบง่าย บ ท ที15 Copyrighted Material of E.I.SQUARE PUBLISHING

Upload: eisquare-publishing

Post on 07-Apr-2015

314 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: Statistics for Six Sigma Made Easy THAI Version - 16

การออกแบบการทดลองแบบง่าย  257

สิง่ทีเ่ราจะไดเ้รยีนรูใ้นบทนี ้ คอื วธิกีารออกแบบการทดลองแบบงา่ย (Simplified

Design of Experiments : DOE) จุดมุ่งหมายของการออกแบบการทดลองคือเพื่อทำให้

กระบวนการมีความเหมาะสมมากที่สุด โดยการหาค่าการปรับตั้งที่เหมาะสมของตัวแปร

ขาเข้าหลักของกระบวนการ (Key Process Input Variables : KPIV) บทนี้สามารถนำ

ไปใช้ได้ในขั้นตอนปรับปรุง (Improve) ของกระบวนการ DMAIC ซึ่งจะใช้กับงานการ

ผลิตหรืองานที่มีลักษณะเป็นกระบวนการเป็นส่วนใหญ่

ผู้ใช้งาน Six Sigma บางคนจะมีความรู้สึกว่า DOE ไม่ได้เป็นหน้าที่ของ Green

Belt เพราะว่า DOE เป็นเรื่องที่ซับซ้อนเกินไป อีกทั้งเป็นเพราะว่ามีหนังสือหลายเล่มที่

เนื้อหาทั้งเล่มเขียนอธิบายเฉพาะหัวข้อนี้เท่านั้น ซึ่งบุคคลเหล่านี้ไม่เชื่อว่า DOE จะ

สามารถถูกอธิบายได้ครอบคลุมด้วยเนื้อหาเพียงไม่กี่หน้าได้ ความกังวลเหล่านี้อาจจะ

ถูกต้องสำหรับ DOE แบบดั้งเดิม แต่สำหรับ DOE แบบง่ายที่จะกล่าวถึงในบทนี้นั้น ได้มี

การนำไปใช้งานบ่อยครั้งมากจาก Green Belt และให้ผลลัพธ์ที่บรรลุตามเป้าหมาย

การออกแบบการทดลองแบบง่าย 

บ ท ที่ 15 Cop

yrigh

ted M

ateria

l of E

.I.SQUARE P

UBLISHIN

G

Page 2: Statistics for Six Sigma Made Easy THAI Version - 16

การออกแบบการทดลองแบบง่าย  267

TIP 

สำหรับผู้ที่เลือกจะทำ DOE แบบดั้งเดิมนั้น มีโปรแกรมสำเร็จรูปอยู่หลายๆ ตัวที่

สามารถใช้งานได้ และมีเวอร์ชั่นของ DOE หลายเวอร์ชั่นด้วยกัน โปรแกรมเหล่านี้รวมถึง

การออกแบบการทดลองเพื่อกรองพารามิเตอร์บางตัวออก ที่ช่วยจำกัดจำนวนของตัวแปร

ขาเข้าสำหรับการทำ DOE ที่เต็มรูปแบบได้ ถึงแม้ว่าโปรแกรมเหล่านี้เป็นโปรแกรมที่มี

ความสามารถ แต่เราต้องเข้าใจมันอย่างแท้จริงและต้องมีความละเอียดรอบคอบในขณะ

ใช้งาน การออกแบบการทดลองที่กรองพารามิเตอร์ออกทำให้ความเชื่อมั่นลดลงและ

การทำ DOE ที่ลดการทำซ้ำลงนั้นบ่อยครั้งจะทำการทดสอบนอกช่วงปกติของพารา-

มิเตอร์ ตามที่กล่าวมาก่อนหน้านี้แล้วว่า การทดสอบนอกช่วงปกติของพารามิเตอร์

สามารถเป็นสาเหตุให้กระบวนการมีลักษณะที่ไม่เป็นแบบเชิงเส้น (Non-Liner) ได้

มาก ซึ่งทำให้เกิดความเคลือบแคลงในการคาดการณ์ค่าการปรับตั้งที่เหมาะสมได้ อีกทั้ง

ยังมีโอกาสทำให้เครื่องจักรเสียหายอันเป็นผลมาจากการทดสอบที่ค่าการปรับตั้งที่

ไม่ปกติเหล่านี้ได้ นี่อาจเป็นเหตุผลที่ดีมากๆ ในการอธิบายว่าทำไมขีดจำกัดต่างๆ ของ

พารามิเตอร์ “ปกติ” จึงถูกกำหนดอย่างที่มันเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้; จะต้องทำความเข้าใจ

เหตุผลเหล่านี้ก่อนที่จะตัดมันออกไป

การใช้การ DOE แบบง่าย เพื่อทำให้เครื่องจักรหรือกระบวนการหนึ่งมีความเหมาะสม

ถ้าคุณมีเครื่องจักรหรือกระบวนการใดก็ตามที่ต้องทำการปรับแต่ง (Adjust- ment) การปรับตั้งค่าต่างๆ มีโอกาสที่จะไม่เหมาะสมได้ถ้าไม่มีใครบางคนทำ DOE นี่จึงเป็นโอกาสดีอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสำหรับเครื่องจักรหรือกระบวนการที่กำลังประสบกับข้อร้องเรียนจากลูกค้าในเรื่องผลิตภัณฑ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในบทที่ 15  

1. ในบทนี้สามารถนำไปใช้งานได้ในขั้นตอนปรับปรุง (Improve) ของกระบวน

DMAIC

2. DOE แบบง่ายทำให้ได้รับความรู้ที่มีประโยชน์จากกระบวนการ

3. ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำ DOE ใดๆ ก็ตามมักเกิดจากการทำการทดสอบ

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 3: Statistics for Six Sigma Made Easy THAI Version - 16

268 

ที่ภายใต้สภาพควบคุมอย่างเคร่งครัดมากกว่าที่จะได้มาจากผลลัพธ์ของการทำ DOE

โดยตรง

4. เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องจำกัดตัวแปรของการทดสอบให้เหลือ 3 ตัวแปรหรือ

น้อยกว่า การใช้ผังก้างปลาจะช่วยให้สามารถกำหนดตัวแปรที่จะถูกทดสอบได้

5. เปา้หมายของผลลพัธท์ีถ่กูทำใหเ้หมาะสมจะถกูจำกดัใหเ้หลอืเพยีงเปา้หมาย

เดียว

6. อาจจำเป็นต้องทำ DOE แบบง่าย 2 ครั้งเพื่อทดสอบความเหมาะสมและ

ทวนสอบผลลัพธ์ที่ได้

7. ทุกๆ คนที่เกี่ยวข้องใน DOE แบบง่ายควรให้ความใส่ใจในรายละเอียดอย่าง

ใกล้ชิด โดยมองหาสิ่งที่อาจทำให้เกิดความประหลาดใจ

8. การทำ DOE ที่ใช้การปรับตั้ง (Setup) หรือการทดสอบแบบย่อ มักทำให้

ความเชื่อมั่นทางสถิติของผลลัพธ์ที่ได้ลดลง

9. สูตรต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วในบทก่อนๆ มีความเพียงพอสำหรับการทำ DOE

แบบง่าย มีโปรแกรมสำเร็จรูปหลายๆ ตัวที่มีการออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับการทำ

DOE แบบดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้งานต้องใช้เวลามากในการทำความเข้าใจฟังก์ชัน

ทั้งหมดของการใช้งาน

หนังสือที่เกี่ยวข้อง 

Basic Statistics: Tools for Continuous Improvement, Mark J. Kiemele, Stephen

R. Schmidt, and Ronald J. Berdine, 4th edition (Colorado Springs, CO:

Air Academy Press, 1997).

Design and Analysis of Experiments, Douglas C. Montgomery, 5th edition (New

York: John Wiley, 2001).

Understanding Industrial Designed Experiments (with CD-ROM), Stephen

R. Schmidt and Robert G. Launsby, 4th edition (Colorado Springs, CO:

Air Academy Press, 1977).

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING