15 - sukhothai thammathirat open universityagri.stou.ac.th/uploadedfile/91721-15.pdf ·...

76
มสธ มสธ มสธ มสธ มสธ มสธ มสธ มสธ มสธ มสธ 15-1 หน่วยที15 การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับ การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือน กลุ่ม และชุมชน อาจารย์วิโรจน์ แสงบางกา ชื่อ อาจารย์วิโรจน์ แสงบางกา วุฒิ M.S. (Agriculture) Central Luzon State University, the Philippines. ตำแหน่ง อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน่วยที่เขียน หน่วยที ่ 15

Upload: others

Post on 10-Jan-2020

0 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-1การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

หน่วย ที่ 15การ บริหาร งาน ส่ง เสริม และ พัฒนาการ เกษตร กับ

การ เปลี่ยนแปลง ของ สังคม ไทย ระดับ ครัว เรือน กลุ่ม

และ ชุมชน

อาจารย์ วิโรจน์ แสง บาง กา

ชื่อ อาจารย์วิโรจน์ แสงบางกา

วุฒ ิ M.S. (Agriculture) Central Luzon State University, the Philippines.

ตำแหน่ง อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร

กรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

หน่วยที่เขียน หน่วยที่15

Page 2: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-2 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

หน่วย ที่ 15

การ บริหาร งาน ส่ง เสริม และ พัฒนาการ เกษตร กับ

การ เปลี่ยนแปลง ของ สังคม ไทย ระดับ ครัว เรือน กลุ่ม

และ ชุมชน

เค้าโครง เนื้อหาตอนที่15.1 แนวคิดการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของ

สังคมไทย

15.1.1การเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรมไทยระดับต่างๆ

15.1.2 การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคม

และวัฒนธรรม

ตอนที่15.2 กรณีตัวอย่างการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

15.2.1กรณีตัวอย่างการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรระดับครัวเรือน

15.2.2กรณีตัวอย่างการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรระดับกลุ่ม

15.2.3กรณีตัวอย่างการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรระดับชุมชน

ตอนที่15.3 แนวทางการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของ

สังคมไทย

15.3.1แนวทางการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรด้านโครงสร้าง

15.3.2 แนวทางการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรด้านกระบวนการส่งเสริม

และพัฒนาการเกษตร

แนวคิด 1. การเปลีย่นแปลงเปน็ธรรมชาติที่เกดิขึน้และสง่ผลกระทบทัง้เชงิลบและเชงิบวกตลอดเวลา

โดยเฉพาะภาคเกษตรของไทยซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับผลกระทบในเชิงลบค่อนข้างมาก แต่

หากผู้ที่รับผิดชอบการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของประเทศ ได้นำการ

เปลี่ยนแปลงในอดีตสถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคตมาใช้

ในการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเพื่อช่วยให้เกษตรกรปรับตัวได้ทันกับ

การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ ผลกระทบในเชิงลบก็จะน้อยกว่าผลกระทบในเชิงบวก

Page 3: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-3การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

2. กรณีตัวอย่างการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรในระดับครัวเรือน กลุ่มและ

ชุมชน เป็นตัวอย่างการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ช่วยให้เกษตรกร

ปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบแต่การนำไปใช้จะต้องศึกษาวิเคราะห์

และปรับใช้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาและศักยภาพของแต่ละบุคคลครัวเรือน

กลุ่มและชุมชนหรือภูมิสังคม

3. แนวทางการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่สอดคล้องกับสังคมไทยใน

แต่ละยุคสมัยย่อมมีความแตกต่างและหลากหลาย แต่หลักการสำคัญที่จะช่วยให้การ

เปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรในเชิงลบน้อยกว่าเชิงบวกหรือช่วยให้เกษตรกร

สามารถปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงได้ในทุกยุคทุกสมัยประการหนึ่ง ก็คือ

โครงสร้างและกระบวนการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ส่งเสริมและ

สนับสนุนให้เกษตรกรน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับ

สถานการณ์ปัญหาและศักยภาพของพื้นที่และเกษตรกรแต่ละครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

หรือภูมิสังคมโดยการบูรณาการแบบการมีส่วนร่วมที่ยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาหน่วยที่15จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรมไทยระดับต่าง ๆ กับการบริหารงาน

ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรได้

2. วิเคราะห์กรณีตัวอย่างการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรระดับครัวเรือนกลุ่ม

และชุมชนได้

3. วิเคราะห์แนวทางการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของ

สังคมไทยได้

Page 4: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-4 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

ความ นำ

สังคมไทยหรือสังคมใด ๆ ในโลก โดยเฉพาะสังคมเกษตรมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และ

การเปลี่ยนแปลงในแต่ละสังคมส่งผลกระทบถึงกันและกัน แต่จะเป็นผลกระทบในเชิงลบหรือเชิงบวกนั้น

ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ

การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครัวเรือนเกษตรกรกลุ่ม

และชุมชนน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง3ระดับไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับปัญหาและศักยภาพ

ของแต่ละครัวเรือน กลุ่มและชุมชนหรือภูมิสังคม จะช่วยให้ครัวเรือนเกษตรกร กลุ่มและชุมชนมีความ

เข้มแข็งสามารถปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงและสามารถควบคุมให้การเปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบใน

เชิงบวกได้

เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำแนวคิดและทฤษฎีที่ได้กล่าวไว้ในหน่วยต่างๆ มาวิเคราะห์สถานการณ์

การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย วิเคราะห์กรณีตัวอย่างครัวเรือน กลุ่มและชุมชนที่ประสบความสำเร็จใน

การน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้และวิเคราะห์แนวทางการบริหารงานส่งเสริมและ

พัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย โดยเฉพาะสังคมเกษตรได้ หน่วยนี้จึงแบ่งเนื้อหา

ที่จะนำเสนอออกเป็น3ตอนคือ

ตอนที่15.1 แนวคดิการบรหิารงานสง่เสรมิและพฒันาการเกษตรกบัการเปลีย่นแปลงของสงัคมไทย

ตอนที่15.2 กรณีตัวอย่างการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

ตอนที่15.3 แนวทางการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม

ไทย

Page 5: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-5การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

ตอน ที่ 15.1

แนวคิด การ บริหาร งาน ส่ง เสริม และ พัฒนาการ เกษตร

กับ การ เปลี่ยนแปลง ของ สังคม ไทย

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่15.1แล้วจึงศึกษาเนื้อหาสาระพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละตอน

หัว เรื่องเรื่องที่15.1.1 การเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรมไทยระดับต่างๆ

เรื่องที่15.1.2 การบรหิารงานสง่เสรมิและพฒันาการเกษตรภายใต้การเปลีย่นแปลงของสงัคม

และวัฒนธรรม

แนวคิด1. การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในระดับต่าง ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ทั้งในอดีต ปัจจุบัน

และอนาคต และการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบทั้งเชิงลบและเชิงบวกต่อสังคม

ทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับครัวเรือน ระดับกลุ่ม ระดับชุมชน ระดับประเทศและ

ระดับโลก

2. การบรหิารงานสง่เสรมิและพฒันาการเกษตรที่สง่เสรมิและสนบัสนนุให้ครวัเรอืนเกษตรกร

กลุม่และชมุชนนอ้มนำปรชัญาของเศรษฐกจิพอเพยีงทัง้3ระดบัไปปรบัใช้ให้สอดคลอ้งกบั

ปัญหาและศักยภาพของแต่ละครัวเรือนกลุ่มและชุมชนหรือภูมิสังคมโดยการบูรณาการ

แบบมีสว่นรว่มที่ยดึเกษตรกรเปน็ศนูยก์ลางจะชว่ยให้ครวัเรอืนเกษตรกรกลุม่และชมุชน

มีความเข้มแข็ง สามารถปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงและสามารถควบคุมให้การ

เปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบในเชิงบวกได้

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่15.1จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรมไทยระดับต่าง ๆกับการบริหารงาน

ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรได้

2. วิเคราะห์การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคม

และวัฒนธรรมได้

Page 6: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-6 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

เรื่อง ที่ 15.1.1 การ เปลี่ยนแปลง ของ สังคม และ วัฒนธรรม ไทย

ระดับ ต่าง ๆ

ความ หมาย ของ การ เปลี่ยนแปลง ทาง สังคม และ วัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมหมายถึง การเปลี่ยนรูปแบบของโครงสร้างทางสังคม

พฤติกรรมทางสังคมการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมทั้งที่เป็นวัตถุและไม่ใช่วัตถุ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทาง

สังคมและวัฒนธรรมเป็นไปได้ทั้งในทางบวกและทางลบคือมีสิ่งใหม่เกิดขึ้นหรือเพิ่มขึ้นและสิ่งที่มีอยู่เดิม

สิ้นสภาพหรือถูกทำลายไปการเปลี่ยนแปลงในทางที่มีสิ่งใหม่หรือเพิ่มขึ้นที่เห็นชัดได้แก่สิ่งประดิษฐ์ต่างๆ

ที่เป็นวัตถุสิ่งของและเทคนิควิธีการจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วการขยายตัวของเมืองการสื่อสาร

และการคมนาคมที่รวดเร็วและสะดวกระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเป็นต้นขณะเดียวกันก็ปรากฏว่าสิ่งของ

เครื่องใช้และวิธีการเก่าๆ หลายอย่างถูกยกเลิกหรือน้อยลงอย่างเห็นได้ชัดเช่นการใช้เกวียนการใช้วัวควาย

ไถนาการใช้หมอตำแยทำคลอดการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์การบวชตามประเพณีเป็นต้น

ลักษณะทั่วไปของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม

1. การเปลี่ยนแปลงมักทำให้สังคมทั้งระบบเปลี่ยนได้ โดยปกติคนส่วนใหญ่ในสังคมมักเป็นผู้รับ

การเปลี่ยนแปลงมากกว่าเป็นผู้ริเริ่มทำการเปลี่ยนแปลง

2. การเปลี่ยนแปลงเป็นกระบวนการปรับตัวตามธรรมชาติที่ทำให้สังคมดำรงอยู่ได้อย่างต่อเนื่อง

ยาวนาน

3. การเปลี่ยนแปลงในส่วนต่างๆของสังคมนั้นเกิดขึ้นเร็วช้าไม่เท่ากัน

4. การเปลี่ยนแปลงในส่วนหนึ่งของสังคมมักส่งผลกระทบถึงส่วนอื่นซึ่งอาจเป็นผลกระทบในทาง

บวกหรือทางลบก็ได้

แนว โน้ม ของ การ เปลี่ยนแปลง ทาง สังคม และ วัฒนธรรม โลกยุคปัจจุบันกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเมื่อเปรียบเทียบกับโลกยุคเก่า การเปลี่ยนเข้าสู่

โลกยุคใหม่เริ่มขึ้นราวร้อยกว่าปี โดยเริ่มจากสังคมตะวันตกแล้วแพร่กระจายไปทั่วโลก ในปัจจุบันมีการ

เปลี่ยนแปลงในโลกปรากฏขึ้นชัดเจนหลายประการเช่น

1. ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

2. ขนาดของสังคมต่างๆโดยเฉลี่ยใหญ่ขึ้น

3. มีการตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนถาวรและชุมชนเมืองมากขึ้น

4. สังคมมนุษย์มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆมากขึ้น

5. มีสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆเพิ่มขึ้นมากมาย

Page 7: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-7การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

6. มีผลผลิตทางวัฒนธรรมเช่นข่าวสารความรู้และบันเทิงเพิ่มขึ้น

7. ผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นมากทั้งชนิดและปริมาณ

8. การจัดระเบียบทางสังคมมีความซับซ้อนมากขึ้น

9. มีความไม่เท่าเทียมภายในสังคมและระหว่างสังคมเพิ่มขึ้น

การ เปลี่ยนแปลง ทาง สังคม และ วัฒนธรรม ของ สังคม ชนบท ไทย ใน ช่วง ที่ ผ่าน มาสังคมไทยคือกลุ่มคนไทยที่ตั้งถิ่นฐานทำมาหากินต่อเนื่องกันมาในพื้นที่ที่มีขอบเขตจำนวนหนึ่ง

บุคคลที่อยู่ในสังคมหนึ่งล้วนต้องพึ่งพาอาศัยและมีภาระหน้าที่ที่เป็นภาระส่วนตัวครอบครัวและภาระหน้าที่

ต่อชุมชนเช่นการปกป้องรักษาความสงบเรียบร้อยให้ชุมชนการปฏิบัติหน้าที่ในการส่งเสริมสถาบันต่างๆ

เช่น สถาบันศาสนาเพื่อเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจให้สงบด้วยเหตุที่สังคมต้องการความมั่นคงปลอดภัยเป็น

พื้นฐานชุมชนแต่ละแห่งจึงต้องมีความสามัคคีกันมีอุดมการณ์ร่วมกันอันเนื่องมาจากพัฒนาการของแต่ละ

ชุมชนในด้านต่างๆไม่เท่ากัน

สังคมไทยมีวิวัฒนาการมาช้านาน ก่อนที่จะมีการบันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์ มีการบันทึก

ข้อมูลในลักษณะของตำนานและเรื่องวิวัฒนาการของแต่ละสังคมคนไทยเข้ามาตั้งในสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็น

ดนิแดนของไทยในปจัจบุนัมีหลกัฐานปรากฏพบชมุชนโบราณหลายแหง่ในประเทศไทยเชน่อาณาจกัรทวารวด ี

อาณาจักรศรีวิชัยอาณาจักรอีสานปุระอาณาจักรตามพรลิงค์ เป็นต้นต่อมาสามารถรวบรวมบ้านเมืองเป็น

ปึกแผ่นมั่นคง เป็นอิสระและก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์

ในบริเวณประเทศไทยมีการพบหลักฐานทางโบราณคดีกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณประเทศไทยปัจจุบันซึ่งมี

การศกึษาคน้ควา้และสรปุได้วา่การเขา้สู่ยคุประวตัศิาสตร์ของประเทศไทยนัน้นา่จะเริม่ตน้ในราวสมยัทวารวด ี

โดยมีการพบจารึกที่เก่าแก่ที่เป็นอักษรมอญในบริเวณจังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นอารยธรรมที่เจริญขึ้นโดยมี

พื้นที่บริเวณจังหวัดนครปฐมในปัจจุบันเป็นศูนย์กลางอารยธรรมแต่ในระยะเวลาใกล้เคียงกันทางภาคใต้

ของประเทศไทยมีอาณาจักรอีกแห่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการค้าขายและท่าเรือที่สำคัญแห่งหนึ่ง

ในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ อาณาจักรศรีวิชัย ส่วนทางภาคอีสานของไทยก็เป็นทางผ่านของ

อารยธรรมขอมซึ่งต่อมาเจริญสูงสุดอยู่ในบริเวณจังหวัดลพบุรีปัจจุบัน จึงอาจถือได้ว่าเป็นช่วงระยะเวลา

หนึ่งที่ทำให้เกิดเป็นสมัยลพบุรีขึ้น ขณะนั้นอารยธรรมทวารวดีดูเหมือนว่าจะเบาบางลงไปแล้วแต่ผลผลิต

จากอารยธรรมดังกล่าวนั้นกลับขึ้นมามีบทบาทกับทางภาคเหนือแทนทำให้เกิดเป็นอีกหนึ่งอารยธรรมคือ

หริภุญไชยหลังจากนั้นการก่อตัวของชุมชนเริ่มซับซ้อนมากยิ่งขึ้นทำให้จากเดิมที่เคยเป็นรัฐขนาดเล็กได้

ขยายตัวและแพร่กระจายอำนาจมากขึ้น ในระยะนี้จึงเกิดเป็นอาณาจักรที่เรารู้จักดี คือ อาณาจักรล้านนา

ซึ่งอยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทยระยะใกล้เคียงกันก็มีอาณาจักรสุโขทัยอยู่บริเวณภาคเหนือตอนล่าง

จนมาในช่วงปลายของสมัยสุโขทัยก็เกิดสมัยอยุธยาขึ้นมา และในตอนหลังก็มีบทบาทและอำนาจเป็นระยะ

เวลาหลายร้อยปี จนเกิดสงครามกับประเทศพม่าในช่วงปลายอาณาจักร และอาณาจักรนี้ก็สูญสิ้นไป แต่ก็

กลับมาก่อตั้งใหม่อีกครั้งในบริเวณกรุงเทพมหานครซึ่งถือว่าเข้าสู่สมัยรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน

Page 8: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-8 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

การ เปลี่ยนแปลง ทาง สังคม และ วัฒนธรรม ของ สังคม ชนบท ใน ภาค ต่าง ๆ คำว่าชนบทตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่าหมายถึง“บ้านนอก”และคำว่า

บ้านนอกหมายถึง“เขตแดนที่ห่างจากตัวเมืองออกไป”

วิถีชีวิตของคนไทยที่อาศัยอยู่ในชนบทเป็นคนกลุ่มใหญ่มีจำนวนมากกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองหาก

จะนับถอยหลังไปในอดีตทั้งชุมชนในชนบทและชุมชนเมืองก็ยังมีชีวิตความเป็นอยู่ไม่แตกต่างกันมากนัก

เพียงแต่เมื่อมีการตั้งเมืองหลวงขึ้นเป็นศูนย์กลางอาณาจักร ชุมชนนั้นก็ใหญ่โตด้วยผู้คนภายในพระราชวัง

และบริเวณรอบๆ เขตเมืองหลวงเท่านั้น จนเมื่อความเจริญจากตะวันตกเริ่มเข้ามาในคริสต์ศตวรรษที่ 19

หรือนับแต่สยามทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษในค.ศ.1855และชาติตะวันตกอื่นๆในเวลาต่อมาความ

แตกต่างในด้านความเจริญทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ในราชธานี ก็เริ่มแตกต่างจากชนบทแต่ชุมชน

อื่นๆทั่วไปก็ยังเป็นชุมชนแบบชนบทการเริ่มเป็นชุมชนเมืองและชนบทจึงมีวิวัฒนาการที่เห็นชัดเจนในยุค

อุตสาหกรรมหลังสงครามโลกครั้งที่2เป็นต้นมา

อย่างไรก็ตาม วิถีชีวิตคนไทยในชนบทมีความแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคเนื่องจากมีสภาพ

แวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนการเคลื่อนย้ายของประชากรกลุ่มเผ่าพันธุ์ อันเป็น

ผลมาจากปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันไป

ตามปัจจัยภายในเช่นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมภายในกลุ่มคนของชุมชนการปรับตัวของชุมชนต่อกระแส

ภายนอก รวมถึงภูมิปัญญาในท้องถิ่นซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลง และปัจจัยภายนอก เช่น

การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจระดับโลกที่ส่งผลมาถึงประเทศไทยนโยบายของรัฐบาลในแต่ละ

ยุคสมัยที่ปรากฏในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในแต่ละฉบับเพื่อความเข้าใจลักษณะของสังคม

ชนบทไทยจึงขอนำเสนอภาพรวมของแต่ละภาคดังนี้

1. การ เปลี่ยนแปลง และ พัฒนา สังคม ชนบท ไทย ใน ภาค เหนือ หรือ สังคม ล้าน นา เป็นสังคมที่มี

รากฐานทางการจัดระเบียบชุมชนมาเป็นเวลาช้านานแล้วโดยการใช้ระบบหมวดจัดระเบียบและหน้าที่ระหว่าง

คนในชุมชนประกอบด้วยหมวดบ้านหมวดวัดและหมวดเหมืองฝายหมวดแต่ละหมวดจะมีผู้นำคือแก่

1.1 แก่บ้านหรือปัจจุบันเรียกว่า“พ่อหลวง”จะปกครองดูแลลูกบ้าน

1.2 แก่ฝาย เป็นผู้นำการจัดการระบบเมืองฝาย

1.3 แก่วัดดูแลด้านการศาสนา

คำว่าแก่แปลว่าผู้มีอายุมากหรือผู้สันทัดในเรื่องหนึ่งๆ เป็นการสะท้อนว่าในวัฒนธรรมล้านนา

ยอมรับผู้นำตามอาวุโส แต่ก็คำนึงถึงความสามารถด้านชุมชนหมู่บ้าน จึงไม่ได้เป็นผู้นำเพียงคนเดียว แต่มี

หลายคนแยกตามหน้าที่

แก่บ้าน แก่ฝายและแก่วัด เดิมไม่ต้องเลือกตั้งเพราะในหมู่บ้านหนึ่ง ๆมีคนน้อยผู้มีอายุมากใน

หมู่บ้านจะรับเป็นแก่บ้านแก่วัดแก่ฝายโดยปริยายต่อมาจึงมีการเลือกตั้งเป็นแก่บ้านและแก่ฝายแต่แก่วัด

เป็นและเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสม

ในทศวรรษหลังๆ นี้อุดมการณ์และโลกทัศน์แบบทุนนิยมพยายามขยายตัวเข้าไปทั่วทุกหัวระแหง

เพื่อแทรกแซงและครอบงำโลกทัศน์ของสังคมชาวนา แต่จุดยืนของทุนนิยมที่เข้ามาในเมืองไทยเป็นจุดยืน

ที่เอารัดเอาเปรียบและทำลายชุมชน ชุมชนหมู่บ้านจึงก้าวไปสู่ทุนนิยมสมัยใหม่อย่างเชื่องช้าไม่เต็มใจ และ

Page 9: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-9การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

ไม่มีพลัง นอกจากนี้ หมู่บ้านจำนวนมากแข็งขืนไม่เปลี่ยนแปลงดูคล้ายกับเป็นอนุรักษ์นิยม แต่สิ่งที่คิดว่า

เป็นอนุรักษ์นิยมนี้กลับกลายมาเป็นข้อดีเพราะสุดท้ายปรากฏว่าทุนนิยมเองได้เข้าไปทำการค้ากำไรและ

เอาเปรียบหมู่บ้านหาได้มีบทบาทในการพัฒนาทุนและการผลิตให้แก่หมู่บ้านแต่อย่างใดไม่

ระบบเครือญาติเป็นระบบสังคมที่เด่นมากของหมู่บ้าน ในแต่ละหมู่บ้านมักมีเครือญาติร่วมผี

เดียวกัน ความเป็นญาติมิตรช่วยเหลือเกื้อกูลทำให้ความแตกต่างระหว่างบุคคลและครัวเรือนขยายตัว

ออกไปอย่างช้าๆ

นอกจากมีคำว่าญาติแล้ว ยังมีคำว่า สังคญาติ เพื่อแสดงเครือข่ายการนับญาติทุกชั่วโคตร ระบบ

ครอบครัวเช่นนี้ แสดงถึงความศรัทธาและความเชื่อในความผูกพันระหว่างสายเลือดทำให้แรงยึดเหนี่ยว

ในหมู่บ้านยิ่งมั่นคงมากขึ้น เป็นเครื่องมืออันสำคัญในการช่วยให้ครัวเรือนต่างฐานะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

ระบบดังกล่าวได้สร้างกลไกสังคมเพื่อเรียกร้องกดดันให้คนที่มั่งมีกว่าต้องเสียสละหรือกระจายทรัพย์สิน

ของตนออกไปให้ผู้อื่นซึ่งเป็นมาตรการที่ใช้บังคับสมาชิกในชุมชนให้เสียสละ

2. การ เปลีย่นแปลง และ พฒันา สงัคม ชนบท ไทย ใน ภาค ตะวนั ออก เฉยีง เหนอืซึง่เปน็ภาคที่กวา้งใหญ่

มากทั้งพื้นที่และประชากรซึ่งมีวิถีชีวิตความเชื่อและขนบประเพณีต่างๆสรุปได้ดังนี้

2.1 วิถีชีวิต ประกอบด้วยระบบศาสนา ความเชื่อ “ขะลำ” หรือข้อห้ามและขนบประเพณี

ระบบศาสนาชาวอีสานส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธแต่ในทางปฏิบัติยังยึดมั่นอยู่ในสถาบันหลัก3สถาบัน

คือผี พราหมณ์ และพระพุทธศาสนาทั้งสามสถาบันนี้บรรพบุรุษได้จัดระบบและกลั่นกรองทำการสั่งสอน

สืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนานโดยเรียกรวมกันว่า“ฮีตสิบสองคองสิบสี่”หรือเรียกสั้นๆว่า“ฮีตคอง”

“คอง สบิ สี”่ หมายถงึครรลองหรอืแนวทางปฏบิตัิตนและหนา้ที่ของคนในสงัคมวา่ควรปฏบิตัิ

อยา่งไรเชน่หนา้ที่ของผู้ปกครองบา้นเมอืงเรยีกวา่ฮตีเจา้คองขนุหนา้ที่ของพระสงฆ์เรยีกวา่ฮีตวดัคองสงฆ ์

นอกจากนั้นก็เป็นหน้าที่ของสามัญชนเช่นฮีตพ่อคองแม่ฮีตลูกคองหลานฮีตปู่คองย่าฮีตป้าคองลุงเป็นต้น

ใครดำรงตนอยู่ในฐานะใดควรปฏบิตัิตนตอ่คนอืน่ๆในสงัคมอยา่งไรตวัอยา่งเชน่หนา้ที่ของลกูลกูที่เลีย้งดู

พ่อแม่ให้มีความสุข ได้รับการยกย่องว่าเป็นลูกที่ดี เป็นคนดี ในทำนองเดียวกันพ่อแม่ก็มีหน้าที่เลี้ยงดูลูก

ให้เป็นคนดีจัดสร้างบ้านเรือนให้ลูกอยู่หาคู่ครองให้และมอบมรดกให้เพื่อลูกจะได้มีหลักฐานเป็นฝั่งเป็นฝา

ต่อไป

คองสิบสี่ถือว่าเป็นการจัดระเบียบสังคมชาวอีสานโดยทั่วไปต่างยึดมั่นในคองสิบสี่เป็นผล

ให้ชาวอีสานอยู่กันอย่างเรียบง่ายและสุขสบายผู้คนต่างนับถือให้เกียรติซึ่งกันและกันเช่นคนอายุคราวพ่อ

ลูกหลานก็เรียกอย่างเต็มปากว่าพ่อ ถ้าอาวุโสกว่าก็เรียกว่าพ่อใหญ่ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งเป็นช่วยเหลือ

เจือจานซื่อสัตย์ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน

2.2 ความเชื่อชาวอีสานยังคงเชื่อถือเรื่องผีต่างๆอยู่มากเช่นผีบรรพบุรุษผีนาผีไร่ผีปู่ตา

(รักษาหมู่บ้าน) ทุกหมู่บ้านต้องสร้างศาลปู่ตา และประกอบพิธีเซ่นไหว้อยู่เป็นประจำ เนื่องจากเชื่อผีมี

อิทธิฤทธิ์ให้คุณให้โทษ ทั่วไปยังปฏิบัติกันอยู่ในวิถีประจำวัน ตัวอย่างพิธีบายศรีสู่ขวัญในโอกาสสำคัญ

เช่น การแต่งงาน การบวช การเจ็บป่วย การต้อนรับแขกผู้มาเยือนความเชื่อในพุทธศาสนา ชาวบ้านเชื่อ

ในเรื่องบาปบุญคุณโทษกฎแห่งกรรมประเพณีและพิธีกรรมต่าง ๆมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับความเชื่อ

Page 10: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-10 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

ดังกล่าว ในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ชาวบ้านมุ่งให้เกิดความสุขความสบายใจเป็นหลัก เช่นประเพณี

แห่ผีตาโขนบั้งไฟแห่เทียนพรรษาและไหลเรือไฟเป็นต้น

“ขะ ลำ” หรือ ข้อ ห้าม กฎเกณฑ์อีกอย่างหนึ่งซึ่งชาวอีสานยอมรับนับถือกันมาแต่โบราณ

เรยีกวา่“ขะลำ”หมายถงึกฎเกณฑ์ความประพฤติตา่งๆที่ควรหลกีเลีย่งไม่ควรกระทำให้ละเวน้หรอืเรยีกวา่

ข้อห้ามก็ได้ กฎเกณฑ์ดังกล่าวมีมากมาย จัดเป็นหมวดหมู่เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนทุกเพศทุกวัย

ชาวบ้านท่องจำกันได้ และบอกเล่าต่อๆกันมา ตัวอย่างเช่น กวาดบ้านกลางคืน ขะลำ เหตุผลที่ห้ามกวาด

บ้านเวลากลางคืน เพราะเกรงจะกวาดเอาสิ่งของอย่างอื่นลงไปด้วย บ้านไม่สะอาดเท่าที่ควร เพราะแสง

สว่างไม่พอเพียงเนื่องจากสมัยโบราณยังไม่มีไฟฟ้าใช้ถ้าใครละเมิดขะลำชาวอีสานถือว่า“ขวง”หมายถึง

เป็นคนขวางโลกผู้คนในสังกัดตั้งข้อรังเกียจและไม่คบค้าสมาคมด้วย

2.3 ขนบประเพณีชาวอีสานยึดมั่นและปฏิบัติตามฮีตสิบสองอย่างมั่นคง ฮีตสิบสอง

หมายถึง จารีตประเพณี ที่ชาวอีสานปฏิบัติกันในโอกาสต่าง ๆทั้งสิบสองเดือนของแต่ละปี จารีตประเพณี

ทั้งสิบสองเดือนที่ชาวอีสานทำบุญต่างๆมีดังนี้

1) เดือนอ้ายบุญเข้ากรรมเป็นการทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหารและฟังเทศน์เนื่อง

ในโอกาสที่พระสงฆ์อาบัติขึ้นรองจากปาราชิกให้เข้าไปอยู่ในที่อันจำกัดเพื่อทรมานร่างกายให้หายจากกรรม

ชำระจิตใจให้หายมัวหมองและพ้นจากอาบัติ

2) เดือนยี่ บุญคูณลาน เป็นการทำบุญสู่ขวัญข้าวที่นวดเสร็จแล้ว และกองไว้ใน

ลานข้าว

3) เดือนสามบุญข้าวจี่ทำบุญตักบาตร

4) เดือนสี่บุญผะเหวดหรือบุญมหาชาติทำบุญฟังเทศน์มหาชาติ

5) เดือนห้าบุญสงกรานต์สรงน้ำพระและผู้ใหญ่

6) เดือนหกบุญบั้งไฟเป็นประเพณีขอฝนอย่างหนึ่ง

7)เดือนเจ็ด บุญซำฮะ ทำบุญชำระล้างสิ่งที่เป็นเสนียดจัญไร อันจะทำให้เกิดความ

เดือดร้อนแก่บ้านเมืองมีการเลี้ยงผีปู่ตาและผีตาแฮก(ผีรักษาไร่นา)

8)เดือนแปดบุญเข้าพรรษา

9) เดือนเก้า บุญข้าวประดับดินทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่เปรตและญาติมิตรที่ตาย

ไปแล้ว

10) เดือนสิบ บุญข้าสาก (ข้าวกระยาสารท) ทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ตายและเปรตมีการ

แลกเปลี่ยนข้าวกระยาสารทกันระหว่างญาติพี่น้องและชาวบ้านใกล้เรือนเคียง

11) เดือนสิบเอ็ดบุญออกพรรษามีการถวายปราสาทผึ้ง (ขี้ผึ้งประดิษฐ์เป็นปราสาท)

การล่องเรือไฟ(ไหลเรือไฟ)และการแข่งเรือพาย

12) เดือนสิบสองบุญกฐิน

Page 11: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-11การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

3. การ เปลีย่นแปลง และ พฒันา สงัคม ชนบท ไทย ใน ภาค ใต ้ เมื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงชุมชน

หมู่บ้านระหว่างภาคใต้กับภาคต่างๆ ของประเทศไทยแล้วภาคใต้มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตน้อยกว่าทุกภาค

ชุมชนหมู่บ้านสามารถรักษาวัฒนธรรมชุมชนได้ดีและใช้วัฒนธรรมในระบบเครือญาติเข้าผนึกกันต่อสู้กับ

อิทธิพลภายนอกทั้งด้านการเมืองเศรษฐกิจสังคมพร้อมกับดัดแปลงมรดกทางสังคมวัฒนธรรมให้เข้ากับ

สถานการณ์ได้เป็นอย่างดีเช่นการออกปากกินวานระบบ“ขอมือ”ที่มีการลงแรงคล้ายระบบ“นาวาน”ของ

ภาคอีสานได้พัฒนาเป็นงานร่วมมือลงแรงในงานสวนยางพาราและงานสวนผลไม้อย่างมีประสิทธิภาพ

สิ่งที่น่าชื่นชมในความเปลี่ยนแปลงที่สามารถเข้ากับสภาพการณ์ปัจจุบันได้เป็นอย่างดีของชุมชน

หมู่บ้านในภาคใต้คือเครือข่ายการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจเช่นกลุ่มพัฒนา

คุณภาพอาจแบ่งกลุ่มออมทรัพย์กลุ่มการผลิตกลุ่มร้านค้าต่างๆเป็นต้นกลุ่มเหล่านี้มีชาวบ้านเป็นเจ้าของ

ร่วมกันโดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ เช่น กลุ่มออมทรัพย์หมู่บ้าน ร้านค้าหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์

ของหมู่บ้านคีรีวง มีเงินทุนหมุนเวียน 10 ล้านบาทมีสมาชิกประมาณ 1,700คนกลุ่มออมทรัพย์หมู่บ้าน

น้ำขาวอำเภอจะนะจังหวัดสงขลาใช้เวลา10ปีตั้งแต่พ.ศ.2525จนมีสมาชิกถึง1,407คนมีเงินหมุนเวียน

ประมาณสองล้านบาท นอกจากสองกลุ่มนี้แล้วยังมีกลุ่มของชุมชนอีกหลายแห่งที่ทำงานต่อสู้เพื่อชุมชน

ของตัวเองและประสบผลสำเร็จอย่างน่าสนใจและการที่ภาคใต้อยู่ห่างจากศูนย์กลางอำนาจของรัฐรัฐบาล

เข้าไปทำการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภาคใต้อย่างเชื่องช้าชาวบ้านภาคใต้จึงหาวิถีทางต่างๆ ที่จะจัดระบบ

ความปลอดภัยทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมให้แก่ตนเอง พึ่งตนเอง และพึ่งเพื่อนของตนอย่างเหนียวแน่น

ความรู้สึกรักพวกพ้องและรักถิ่นรวมทั้งการป้องกันตนเองที่เข้มแข็งขณะเดียวกันชาวบ้านรู้สึกห่างเหินกับ

รัฐ รู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง ถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมชุมชนท้องถิ่นไม่ยอมรับ และบางช่วงถึงกับเกลียดชังรัฐ

ในทศวรรษ2510และต้นทศวรรษ2520ปัญหานี้ร้ายแรงสถานการณ์ค่อยดีขึ้นเมื่อรัฐเปลี่ยนนโยบายต่อ

ภาคใต้ให้การยอมรับความเป็นท้องถิ่นมากขึ้น

การที่ชาวภาคใต้มีการติดต่อกับโลกภายนอกมายาวนานในประวัติศาสตร์รวมทั้งในเวลาต่อมาพื้นที่

การผลิตนำใช้ไปในการปลูกยางพาราและทำเหมืองแร่ซึ่งผลผลิตใช้ไม่ได้ในขั้นปฐมหากแต่ต้องแปรเป็น

ผลผลิตขั้นต้นส่งออกนอกประเทศรวมทั้งราคาก็เกี่ยวข้องกับตลาดโลกโดยตรงทำให้ในระดับโลกชาวบ้าน

ต้องเรียนรู้และคุ้นเคยกับระบบแบ่งงานกันทำทางเศรษฐกิจ ขณะที่ชาวบ้านในภาคอื่นผลผลิตของพวกเขา

คือ ข้าวพืชผักผลไม้ ล้วนแต่บริการได้ในขั้นต้นในตลาดท้องถิ่น ส่วนการผลิตเพื่อป้อนให้แก่การแปรรูป

มิใช่เป้าหมายหลักของชาวบ้านไทยด้วยเหตุผลนี้ชาวบ้านภาคใต้จึงมีความเกี่ยวข้องกับระบบโลกและระบบ

อตุสาหกรรมนำหนา้ไปกอ่นแลว้การเขา้รว่มกบัระบบการแบง่งานกนัทำของชาวบา้นก็ไม่สมบรูณ์เพราะโรงงาน

และการตลาดอยู่ในมือของผู้อื่นการถูกขูดรีดจากระบบทุนและการที่รัฐและระบบอุตสาหกรรมอย่างเต็มที่

ได้ชาวบ้านยังคงต้องพึ่งไร่นาของตนเองและชุมชนเพื่อกินและใช้เป็นหลักอยู่นั่นเองชาวบ้านภาคใต้จึงมีชีวิต

อยู่ในวิถีการผลิตสองแบบควบคู่กันไป

การที่ชาวบ้านมีชีวิตอยู่ในวิถีการผลิตสองแบบกำหนดให้หมู่บ้านได้รับอิทธิพลจากสองวัฒนธรรม

คือ วัฒนธรรมหมู่บ้านที่ยังคงเน้นการรวมหมู่ช่วยเหลือพึ่งพา และวัฒนธรรมการผลิตที่เน้นความคิดเรื่อง

ประสิทธิภาพประสิทธิผลและประโยชน์สูงสุด การที่หมู่บ้านภาคใต้มีวัฒนธรรมความเชื่อท้องถิ่น สมทบ

ด้วยหลักเหตุผลนิยมจากโลกภายนอกทำให้ชุมชนจัดการและรับมือกับปัญหาโดยการเน้นพลังอำนาจของ

Page 12: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-12 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

ตนเองไม่ยอมรับว่าอำนาจอื่นเหนือกว่าหรือครอบงำไว้สร้างความเชื่อมั่นในตนเองและในชุมชนมากกว่าจะ

รอความช่วยเหลือจากอำนาจอื่นหรือบุคคลอื่นเหตุที่ไม่ได้อาศัยสังคมประเพณีโบราณเป็นหลักอย่างเดียวใน

การจัดระบบชุมชนนี้เองทำให้ชาวภาคใต้เข้าสู่สังคมสินค้าด้วยความตระหนักในอำนาจของตนเองชาวบ้าน

ริเริ่มและเข้าร่วมการจัดตั้งองค์กรแบบต่าง ๆ ในท้องถิ่นเพื่อแก้ปัญหาของตนเองอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

ไม่ใช่ทำตามข้อเรียกร้องของรัฐ หลายหมู่บ้านพลิกแพลงเนื้อหา รูปแบบ องค์กรชนิดต่าง ๆ ทั้งโดยชอบ

ด้วยกฎหมายหลีกเลี่ยงกฎหมายและผิดกฎหมายเพื่อใช้ให้เหมาะสมแก่ท้องถิ่นชุมชนภาคใต้เป็นตัวแบบ

ของหมู่บ้านที่มีและใช้สิทธิในตนเองอย่างสูง ในเรื่องนี้การวิวาทกันระหว่างชาวบ้านภาคใต้กับรัฐในเรื่อง

“กลุ่มออมทรัพย์เป็นกลุ่มเถื่อน”เป็นไปอย่างเผ็ดร้อนรุนแรงและการตอบโต้ของชาวภาคใต้ก็แสดงออกถึง

การดื้อแพ่งอย่างเข้มแข็ง

ชาวบ้านภาคใต้ไม่ได้จำกัดการจัดตั้งกลุ่มหรือแนวต่อสู้เพื่อช่วยตนเองไว้เพียงเพื่อยกระดับ

หมู่บ้านความเคยชินที่มีความสัมพันธ์ติดต่อกับชุมชนอื่นอยู่ตลอดมาในประวัติศาสตร์ทำให้ชาวใต้ตระหนัก

ในการมีข่ายใยเชื่อมต่อเพื่อเพิ่มพลังให้แก่กลุ่ม ชาวหมู่บ้านภาคใต้จึงขยายเครือข่ายขององค์กรไปสู่ระดับ

ตำบลอำเภอและระดับจังหวัดอย่างรวดเร็วโดยปราศจากความลังเลใจ ชาวบ้านแก้ปัญหาอุปสรรคต่างๆ

จากฝ่ายรัฐบาลหลายวิธีการเพื่อข้ามพ้นความจำกัดพลังของตนเองไปให้ได้ ความคิดของผู้นำกลุ่มชาวบ้าน

ต่าง ๆ สะท้อนให้เห็นว่าพวกเขาคิดการใหญ่และเรื่องใหญ่ ไม่กลัวอนาคตตามแบบของคนภาคใต้แท้ ๆ

จากกลุ่มออมทรัพย์ขยายเป็นการจัดสวัสดิการเพื่อชุมชนจัดการขายและการแปรรูปผลผลิตให้อยู่ในอำนาจ

ของชาวบ้านแท้จริงอุดมการณ์ที่สำคัญของชาวบ้านที่ปรากฏตลอดการต่อสู้นี้ก็คือดึงเอาอำนาจที่จะควบคุม

ชีวิตตนเองคืนมาต่อต้านรัฐและนายทุนจำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมกลุ่มของหมู่บ้านและของตำบลที่ขยายจาก

สิบเป็นร้อยจนถึงเป็นพันๆคนในระดับตำบลรวมทั้งมีเงินหมุนเวียนถึงกลุ่มละเป็นจำนวนล้านบาทและ

สูงสุดคือกลุ่มคีรีวงและคลองเปียะ เป็นจำนวนสิบๆ ล้านบาทแสดงให้เห็นว่าชาวบ้านยังคงมีศรัทธาและ

เชื่อมั่นต่อชุมชนของเขาพวกเขาไม่ต้องตกเป็นเหยื่อของระบบเศรษฐกิจภายนอก ในขณะที่หมู่บ้านกำลัง

เผชิญกับปัญหาหนี้สินและปัญหาการกดราคา องค์กรของหมู่บ้านสามารถต่อสู้เพื่อหมู่บ้าน ให้สวัสดิการ

กู้ชีวิตคืน และให้หลักประกันแก่เขา เป็นการผลิตซ้ำความศรัทธาต่อชุมชนที่ชาวบ้านมีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

การที่ชาวบ้านสามารถบริหารจัดการเงินนับสิบล้านบาททั้งๆที่ไม่มีการศึกษาไม่ได้เรียนรู้ระบบการจัดการ

และมิได้มีรัฐหรือกฎหมายใดมาดูแลอยู่สะท้อนให้เห็น2สิ่งได้แก่

3.1 ทางเลือกใหม่ ๆ ของสังคมอาจไม่จำเป็นต้องตีตรากฎหมายจากรัฐกลาง ซึ่งนอกจาก

ไร้ความหมายแล้วยังอาจเป็นอุปสรรคภาวะที่ไม่ต้องตีราคากฎหมายนี้อาจเป็นกุญแจทางเลือกที่สำคัญ

ขององค์กรชาวบ้านความพยายามที่จะตีตรากฎหมายนั่นเองที่อาจเป็นการทำลายองค์กรของชุมชน

3.2 ความรู้เรื่องการบริหารต่างๆ ไม่จำเป็นต้องมาจากภายนอกล้วนๆความรู้อาจงอกงาม

ขึ้นมาเอง จากการเรียนรู้พื้นฐานความจริงในสังคมของตนเอง ศูนย์กลางผู้บริโภคที่ผู้นำกลุ่มออมทรัพย์

ภาคใต้ตกลงกันตั้งขึ้นเป็นการต่อสู้ที่มีความหมายยิ่ง

หมู่บ้านภาคใต้เป็นตัวอย่างหนึ่งสำหรับชุมชนหมู่บ้านไทยที่ก้าวหน้านำไปก่อนมีหลักคิด

อุดมการณ์และยุทธวิธีอันทันสมัยทันเหตุการณ์ หมู่บ้านไทยในภาคเหนือและอีสานมีข้อดีเด่นเรื่องสังคม

Page 13: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-13การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

ประเพณีแต่ก็ยงัขาดพลวตับางดา้นในการกา้วให้ทนัโลกสมยัใหม่ชมุชนทอ้งถิน่ในภาคตา่งๆอาจตอ้งเรยีนรู้

ประสบการณ์ของกันและกันให้มากขึ้น

4. การ เปลี่ยนแปลง และ พัฒนา สังคม ชนบท ไทย ใน ภาค กลาง อาจกล่าวได้ว่า สภาพภูมิศาสตร์

มีอิทธิพลต่อการตั้งหมู่บ้านทางภาคกลางไม่น้อยกว่าทุกภาคดังที่กล่าวมาแล้ว ในงานวิจัยของฉัตรทิพย์

นาถสุภาเรื่องวัฒนธรรมหมู่บ้านไทยฉัตรทิพย์ แบ่งลักษณะที่ตั้งหมู่บ้านทางภาคกลางไว้เป็น3ลักษณะดังนี้

4.1 หมูบ่า้นที่ตัง้สองฟากฝัง่แมน่ำ้ใช้เสน้ทางนำ้ในการไปมาหาสู่ซือ้ขายสิง่ของเครือ่งอปุโภค-

บริโภคกัน หมู่บ้านดังกล่าวเช่นนี้เป็นหมู่บ้านรุ่นเก่าที่สุดและมีที่สังเกตคือชื่อหมู่บ้านจะบอกลักษณะที่ตั้ง

เป็นที่สังเกตเช่นบ้านตลิ่งชันบ้านท่าใหญ่บ้านหนองป่าแซงบ้านท่าวุ้งลักษณะหมู่บ้านตามแนวยาวไปตาม

สายน้ำเช่นนี้จะไม่พบในภาคเหนือภาคอีสานและภาคใต้

4.2 หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ตามท้องทุ่งตามที่ราบ ซึ่งในภาคกลางมักเป็นพื้นที่อันกว้างใหญ่ และมี

ชาวนามาตั้งบ้านเรือนหลายหมู่บ้าน เข้าทำนาในที่ราบลุ่มแห่งนี้ บางแห่งเป็นทุ่งราบไม่กว้างใหญ่ก็มีหมู่บ้าน

เดียว โดยมีหนองน้ำเป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค เช่น บ้านหนองศาลา ตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมือง จังหวัด

สพุรรณบรุีชาวทุง่กอกชาวบา้นสามทองบา้นทา่ใหญ่และบา้นตลิง่ชนัก็ทำนาอยู่ในบา้นทุง่กอกนบัเปน็หมืน่ไร ่

ดังนั้นจึงแตกต่างจากภาคอีสานที่หมู่บ้านและพื้นที่เป็นเฉพาะของบ้านตนการติดต่อสื่อสารกันส่วนใหญ่ใช้

เส้นทางน้ำ เช่นคูคลองมีเรือขึ้นล่องเป็นประจำ เป็นชุมชนเปิดและเป็นเครือข่าย และเมื่อมีผู้คนหนาแน่น

ขึ้นก็พากันออกไปหาแหล่งนาแห่งใหม่ ซึ่งอยู่ห่างออกไปหลายทุ่ง เช่น ชาวบ้านท่าข้ามริมลำน้ำท่าวัง ตำบล

สนามคลี อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เดินไกลจากหมู่บ้าน ไปหาที่ทำกินที่บ้านปราสาทพื้นที่ที่บุกเบิก

รุ่นเดียวกันก็มีเช่นทุ่งประดู่ทุ่งแฉลบทุ่งหัวอุดเป็นต้น

4.3 หมู่บ้านที่อยู่ห่างจากท้องทุ่ง เป็นพื้นที่ดอนและห่างไกลจากชุมชนมักเรียกกว่าบ้านป่า

สมัยก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสุพรรณบุรีอ่างทองสิงห์บุรีเหล่านี้ล้วนเป็นบ้านป่า

ทั้งสิ้น ในการเปลี่ยนแปลงหมู่บ้านที่อยู่กลางทุ่งเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่เพื่อการค้าเป็นไปอย่างรวดเร็ว

เช่นเดียวกับหมู่บ้านริมแม่น้ำส่วนหมู่บ้านบนที่ดอนและบ้านป่านั้นจะตามมาภายหลัง

ในการถือครองที่ดิน กล่าวได้ว่าดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยาหรือที่ราบกรุงเทพ

เจ้าของที่ดินของหมู่บ้านเหล่านี้มักจะได้แก่เจ้านายและชนชั้นสูงเจ้านายองค์หนึ่งอาจถือครองที่ดินนับพันไร ่

และมีชาวนาบางส่วนที่มีที่ดินถือครองของตนเอง บ้างก็ขายไป แต่ส่วนมากเกิดจากชนชั้นสูงมีโอกาสซื้อ

หาจับจองหรือเป็นเจ้าของที่ดินมากกว่าชาวบ้านธรรมดาโดยเฉพาะที่ดินริมคลอง หมู่บ้านแบบนี้พบได้ง่าย

ในจังหวัดอยุธยา ปทุมธานี อ่างทอง และกรุงเทพมหานคร ในสมัยต่อมาเจ้าของที่ดินในหลายหมู่บ้านซึ่ง

อยู่ในเมืองตั้งตัวแทนของตนที่เรียกว่า “นายกองนา” ให้ดูแลผลประโยชน์ในนาของตนในหมู่บ้านบ้านซุ้ง

ตำบลนครหลวงอำเภอนครหลวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งเป็นชุมชนที่เจริญที่สุดของอำเภอนครหลวง

ในสมัยนั้น

ความเจริญของหมู่บ้านในเขตภาคกลางมิได้อยู่เฉพาะในเขตที่ราบลุ่มดินดอนสามเหลี่ยม

ปากแม่น้ำเจ้าพระยาเท่านั้นแต่ที่สำคัญคือเป็นแหล่งค้าขายผลผลิตเช่นข้าวน้ำตาลเช่นที่ราบในขอบเขต

ภเูขาทวิเขาอนัครอบคลมุพืน้ที่ของจงัหวดักำแพงเพชรพจิติรพษิณโุลกสโุขทยัอตุรดติถ์เพชรบรูณ์และพืน้ที่

ในเขตทีร่าบใหญ่ภาคกลางเชน่อทุยัธานีชยันาทสงิหบ์รุีอา่งทองลพบรุีนครสวรรค์เปน็พืน้ที่คลา้ยกบัหวัเมอืง

Page 14: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-14 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

ในประวัติศาสตร์ซึ่งมีไพร่ส่วยจำนวนมากแสดงถึงการมีผลผลิตสำคัญๆโดยเฉพาะข้าวเปลือกที่ค้าขายใน

ท้องถิ่นและมีทางคมนาคมทางเกวียนและทางน้ำ โดยมีปากน้ำโพเป็นชุมทางใหญ่รองจากกรุงเทพมหานคร

เช่นเดียวกับนครปฐมสุพรรณบุรีเป็นเขตที่ผลิตน้ำตาลสำคัญที่สุด

พัฒนาการของหมู่บ้านภาคกลางในช่วง 40-50ปีที่ผ่านมาหมู่บ้านที่เกิดขึ้นในป่าสงวน เช่น

หมู่บ้านคลองตะเคียนชัย ตำบลดาหลัง อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี หมู่บ้านห้วยหัน ตำบลยายหมี

อำเภอสนามชยัเขตจงัหวดัฉะเชงิเทราหมูบ่า้นอดุมพฒันาตำบลธารทหารอำเภอหนองบวัจงัหวดันครสวรรค์

เป็นต้นผู้คนที่เข้ามาอยู่ในป่าสงวนต้องใช้ระบบเป็นญาติเพื่อนบ้านบางหมู่บ้านอพยพมาจากหลายจังหวัด

เช่นเพชรบูรณ์พิษณุโลกนครราชสีมาเข้ารวมตัวกันต่อสู้กับโจรผู้ร้ายและผู้ที่มาแย่งที่ทำกิน

กล่าวโดยรวมแล้วหมู่บ้านภาคกลางเป็นหมู่บ้านที่เข้าสู่ระบบทุนนิยมรวดเร็วและกว้างขวางยิ่งกว่า

ภาคอืน่ใดเพราะเหตผุลสองประการไดแ้ก่ความพรอ้มของพลงัการผลติคอืความอดุมสมบรูณ์ของทรพัยากร

และอยู่ใกล้กับเมืองหลวงซึ่งเป็นเมืองท่าและเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเศรษฐกิจแต่การขยายตัวของทุนนิยม

เปลี่ยนหมู่บ้านจากสภาพพอยังชีพและทำการค้าภายในเพียงเล็ก ๆน้อยๆ เฉพาะส่วน เช่นหมู่บ้านที่อยู่

ริมแม่น้ำ อยู่บนที่ราบอันอุดมสมบูรณ์ และหมู่บ้านที่อยู่ในเขตเมืองชุมทาง ซึ่งมีเงื่อนไขอันเหมาะสมที่จะ

เปลี่ยนแปลงรองรับขยายตัวของเศรษฐกิจการค้าเท่านั้น หมู่บ้านอื่นๆ ที่อยู่ในเงื่อนไขไม่เหมาะสมจะค่อยๆ

เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงนี้อย่างช้าๆ มีขั้นตอนยาวนานเงื่อนไขที่ชนชั้นสูงเปลี่ยนแปลงระบบเช่นการขุดคูคลอง

การชลประทานเป็นต้นส่วนการจัดระบบการค้าของราชธานีเป็นเงื่อนไขสมทบให้การเปลี่ยนแปลงนี้เร็วกว่า

ภาคอื่น ๆ ของประเทศไทย (จาก http://www.baanjomyut.com/library_2/development_of_soci-

ety/11.htmlพัฒนาการสังคมไทยค้นคืนวันที่24พฤษภาคม2556)

การ เปลี่ยนแปลง ของ สังคม และ วัฒนธรรม ใน ระดับ ต่าง ๆการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่11(พ.ศ.2555-2559)

จะต้องเผชิญกับบริบทการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ทั้งการเปลี่ยนแปลงระยะยาว

ที่เริ่มมาแล้วและจะทวีความเข้มข้นมากขึ้น และผลต่อเนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกเมื่อปี 2551 ซึ่งก่อ

ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อระบบเศรษฐกิจโลกอีกหลายด้านการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระดับโลกและใน

ประเทศส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศทั้งที่คาดว่าจะเป็นโอกาสให้สามารถใช้จุดแข็งของประเทศในการ

พัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและส่วนที่เป็นภัยคุกคามที่ต้องแก้ไขจุดอ่อนเพื่อระมัดระวังและป้องกัน

ผลด้านลบที่จะเกิดขึ้นดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมให้แก่คนสังคมและระบบเศรษฐกิจ

ของประเทศโดยเฉพาะภาคเกษตรให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสมและสามารถพัฒนา

ประเทศให้ก้าวหน้าต่อไปเพื่อประโยชน์สุขที่ยั่งยืนของสังคมไทยตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งการ

เปลี่ยนแปลงในแต่ละระดับสรุปได้ดังนี้

1. การ เปลี่ยนแปลง ของ เกษตรกร ไทย ใน ระดับ ครัว เรือน ปัจจุบันนี้ครัวเรือนเกษตรกรไทย

เปลี่ยนแปลงไปทั้งในเชิงบวกและเชิงลบหลายด้านเช่น

Page 15: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-15การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

1.1 การเปลี่ยนแปลงเชิงบวก

1.1.1 เกษตรกรสนใจติดตามและเข้าถึงความรู้ ข้อมูลข่าวสารและการเปลี่ยนแปลง

ทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมการเมืองการปกครองทั้งภายในและภายนอกชุมชนเพิ่มขึ้น

1.1.2 เกษตรกรมีความรู้และหันมาใช้เทคโนโลยีการเกษตรแผนใหม่เพื่อนำรายได้มา

ซือ้เครือ่งบรโิภค/อปุโภคโดยเฉพาะเครือ่งอำนวยความสะดวกเพิม่ขึน้จากเดมิหรอืกอ่นแผนพฒันาเศรษฐกจิ

แห่งชาติฉบับที่1มาก

1.1.3 เกษตรกรมีความรู้และความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา ทำให้สามารถ

ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาภาครัฐและภาคเอกชน ในการสร้างนวัตกรรมที่ตอบสนองตลาดและสามารถ

ขายสทิธิให้ภาคเอกชนนำไปผลติและจำหนา่ยมากขึน้เชน่อนิทผลมัพนัธุ์ลกูผสมKL1/แม่โจ้36ซึง่เกบ็เกีย่ว

ปีละสองครัง้ฝรัง่ไร้เมลด็และฝรัง่แดงมะนาวแปน้จรยิาขนนุเพชรดำรงและแดงสรุยิาพทุธรกัษาหลากหลายส ี

เป็นต้น

1.1.4 ชนดิปรมิาณมลูคา่ของสนิคา้และอตัราการผลติสนิคา้เกษตรเพือ่การคา้เพิม่ขึน้

จากการพัฒนาการผลิตเพื่อการค้าพร้อมทั้งการเพิ่มความหลากหลายของสินค้าและปริมาณซึ่งทำให้มูลค่า

สินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น

1.1.5 เกษตรกรได้รับการสงเคราะห์จากรัฐเพิ่มขึ้นจากนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลทั้ง

ด้านราคาและด้านอื่นๆ

1.1.6 เกษตรกรโดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย นำเกษตรทฤษฎีใหม่มาปรับใช้อย่าง

แพร่หลาย ซึ่งเป็นการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการเกษตรที่เป็นรูปธรรม ทำให้สามารถ

สร้างภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงได้มากคือ สามารถลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และเพิ่มการพึ่งตนเองทำให้

ครัวเรือนเกษตรกรมีความมั่นคง และพร้อมที่จะก้าวสู่การรวมตัวทำกิจกรรมในรูปกลุ่มและเครือข่ายใน

ระดับต่างๆได้

1.2 การเปลี่ยนแปลงเชิงลบ

1.2.1 เกษตรกรรู้สึกต่ำต้อย น้อยค่า เป็นภาระสังคม ขาดความภูมิใจในความเป็น

เกษตรกรและอาชีพการเกษตร จึงประกอบอาชีพการเกษตรด้วยความจำเป็น และหลีกเลี่ยงที่จะให้

บุตรหลานสืบสานอาชีพการเกษตร แต่ส่งเสริมให้รับราชการหรือทำงานในภาคส่วนอื่น ๆ ที่มีรายได้และ

ห่างไกลธรรมชาติมากกว่า แม้ว่าความต้องการที่จะให้บุตรหลานเป็นเจ้าคนนายคนจะลดลง

1.2.2 เกษตรกรขาดองค์ความรู้และการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมแต่นิยมใช้เทคโนโลยี

แผนใหม่แบบทำตามกนัไปโดยไม่สนใจที่จะศกึษารายละเอยีดไม่วา่เทคโนโลยีดา้นการเกษตรดา้นการสือ่สาร

รวมทั้งเทคโนโลยีที่ช่วยอำนวยความสะดวกที่เป็นการเพิ่มต้นทุนโดยไม่มีผลต่อการเพิ่มรายได้ เช่น เครื่อง

ปรับอากาศรถมอเตอร์ไซค์รถยนต์และโทรศัพท์มือถือที่เกินความจำเป็นเป็นต้น

1.2.3 เกษตรกรพึ่งพาตนเองลดลง แต่พึ่งพิงภายนอกเพิ่มขึ้นทั้งในแง่เศรษฐกิจและ

สังคม เช่นพึ่งพาเทคโนโลยี ปัจจัยการผลิต และตลาดภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ ทำให้ต้นทุนสูง รายได้ต่ำ

แต่ดำเนินชีวิตเสมือนคนเมืองเพิ่มขึ้นเช่นแต่งตัวทันสมัยใช้เงินอนาคตหรือเงินล่วงหน้าใช้สินค้าฟุ่มเฟือย

เกินฐานะของตนเอง ลดหรือเลิกผลิตสินค้าเกษตรที่ใช้บริโภคในครัวเรือนรวมทั้งการหุงหาอาหารรับประทาน

Page 16: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-16 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

ร่วมกันระหว่างสมาชิกในครอบครัวก็ลดลง จึงต้องหารายได้เสริมนอกภาคเกษตรและทำงานนอกชุมชนที่

ตนอาศัย

1.2.4 เกษตรกรที่ไม่ได้นำเกษตรทฤษฎีใหม่ไปปรบัใช้ขาดความมัน่คงทางอาหาร(food

security) แม้ว่าผลผลิตการเกษตรในภาพรวมจะเพิ่มขึ้นแต่การทำการเกษตรแผนใหม่โดยปลูกพืชเชิงเดี่ยว

(monocrop) เช่นข้าวมันสำปะหลังยางพาราปาล์มน้ำมัน เพื่อการส่งออกที่ละเลยการปลูกข้าวพืชผัก

ผลไม้และพืชสมุนไพรเพื่อการบริโภค ทำให้ครัวเรือนเกษตรกรส่วนใหญ่ต้องซื้อหาอาหารมาบริโภคความ

มัน่คงทางอาหารระดบัครวัเรอืนจงึลดลงทัง้ดา้นปรมิาณหรอืความเพยีงพอ(foodavailability)ดา้นราคาหรอื

การเข้าถึง(foodaccessibility)ด้านการใช้ประโยชน์(foodutilization)ทั้งมิติของความปลอดภัย(food

safety)และมติิของคณุคา่ทางโภชนาการ(foodnutrition)และดา้นเสถยีรภาพ(foodstability)ดงัตวัอยา่ง

ผลการศึกษาชุมชนบ้านลุ่มบัวจังหวัดสุพรรณบุรีโดยสำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรีเมื่อปี2546พบว่า

เกษตรกรมีค่าใช้จ่ายในการซื้อหาอาหารมารับประทานประมาณร้อยละ50ของค่าใช้จ่ายในครัวเรือนทั้งหมด

ซึ่งถือได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมากนอกจากนั้นการซื้อหาอาหารจากภายนอกชุมชนแทนการผลิตเพื่อบริโภค

เหมือนในอดีต ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านบรรจุภัณฑ์ ด้านการขนส่งและด้านการตลาด ทำให้อาหารมี

ราคาแพง และขีดความสามารถในการซื้อหาอาหารของเกษตรกลดลง อีกทั้งยังขาดความมั่นใจในมิติของ

ความปลอดภัยจากสารพิษและด้านเสถียรภาพเช่นการเกิดอุทกภัยในปี2554 สินค้าเกษตรเสียหายอาหาร

นอกพื้นที่แม้ว่าจะยังมีอาหารเพียงพอต่อการบริโภค แต่เกษตรกรก็ไม่สามารถที่จะซื้อหาหรือผู้จะนำอาหาร

ไปบริจาคก็ไม่สามารถนำเข้าไปให้ในพื้นที่ได้

1.2.5 สขุภาวะดนินำ้อากาศและสิง่แวดลอ้มของแตล่ะครวัเรอืนเสือ่มโทรม เนือ่งจาก

เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ยังไม่ผ่านการทดสอบหรือพัฒนาให้สอดคล้องกับ

แต่ละภูมิสังคมและเกษตรกรส่วนใหญ่ขาดความรู้ ทำให้ใช้เทคโนโลยีผิดวิธี จึงส่งผลให้หน้าดินถูกชะล้าง

โครงสร้างทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีของดินเสีย น้ำและอากาศเป็นพิษ ชีวิตของพืชสัตว์และแม้

กระทั่งจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ก็เสียหาย และต้องใช้เครื่องจักรกลการเกษตรซึ่งอาศัยน้ำมันปิโตรเลียมเป็น

เชื้อเพลิง ทำให้เกิดมลภาวะและสูญเสียความสมดุลทางธรรมชาติ ดังตัวอย่างผลการศึกษาสารพิษในตัว

ประชาชนโดยการตรวจเลือด ในปี 2551 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งพบว่าร้อยละ 75 ของเกษตรกรที่

เป็นกลุ่มตัวอย่างมีสารพิษในขีดอันตรายแยกเป็นมีสารพิษที่อยู่ในระดับเสี่ยงร้อยละ 36 มีสารพิษที่อยู่ใน

ระดับไม่ปลอดภัยร้อยละ39และพบว่าร้อยละ89ของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีสารพิษในขีดอันตราย

แยกเป็นมีสารพิษที่อยู่ในระดับเสี่ยงร้อยละ28และมีสารพิษที่อยู่ในระดับไม่ปลอดภัยร้อยละ61

1.2.6 ต้นทุนและหนี้สินเพิ่มขึ้น เนื่องจากการทำการเกษตรแผนใหม่ ทำให้ต้องนำเข้า

เทคโนโลยีพนัธุ ์ปุย๋ยา อาหารสตัว์เครือ่งจกัรกลการเกษตรฯลฯซึง่มีราคาแพง มาเพิม่ผลผลติเพือ่จำหนา่ย

ให้แก่เจา้ของเทคโนโลยีในราคาที่ไม่แนน่อนโดยที่ภาครฐัควบคมุราคาได้นอ้ยไม่วา่จะเปน็ราคาปจัจยัการผลติ

หรือราคาผลผลิตของเกษตรกรประกอบกับการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรแทนการใช้แรงงานในครัวเรือน

และชุมชนโดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสมของฐานะและระดับธุรกิจของเกษตรกรทำให้เกษตรกรหันมาทำการ

เกษตรในลกัษณะ“การวา่จา้ง”หรอืทำหนา้ที่เปน็“ผู้จดัการ”ที่สงัคมได้เปรยีบเปรยวา่เปน็“เกษตรกรมอืถอื”

Page 17: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-17การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

คือ ว่าจ้างทำการเกษตรโดยขาดความรู้ในด้านการบริหารจัดการฟาร์มทำให้ขาดการดูแลเอาใจใส่ไร่นาและ

ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง

นอกจากนั้น การทำการเกษตรแผนใหม่ที่ขาดความเข้าใจ ยังทำให้อัตราการเพิ่มของ

ผลผลิตลดลงตามกฎแห่งการลดน้อยถอยลง(lawofdiminishingreturn)คือการใช้ปัจจัยการผลิตและ

เครื่องจักรกลการเกษตรโดยเฉพาะรถไถในระยะแรกผลผลิตจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแต่เมื่อใช้ผิดวิธีไประยะ

หนึง่อตัราการเพิม่ของผลผลติจะลดและตอ้งใช้ปจัจยัการผลติเพิม่เพือ่ให้ได้ปรมิาณผลผลติเทา่เดมิเนือ่งจาก

ดินและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมแมลงมีความต้านทานสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในขณะที่พืชอ่อนแอและ

คุณภาพของผลผลิตลดลงราคาและรายได้ตกต่ำแต่หนี้สินเพิ่มขึ้นดังตัวอย่างจากผลการศึกษาสภาวะหนี้สิน

ของเกษตรกรเมื่อปี2551ของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)ซึ่งพบว่าเกษตรกรมีหนี้สิน

รวม 4.5-7.5 แสนล้านบาท โดยเกษตรกรประมาณร้อยละ 80 ของเกษตรกรทั้งประเทศมีหนี้สินที่ไม่มี

หนทางชดใช้ แยกเป็น เกษตรกรที่มีที่ดินและเช่าที่ทำกินมีหนี้สินเฉลี่ย 107,230บาท/ครัวเรือน เกษตรกร

ที่รับจ้างมีหนี้สินเฉลี่ย 62,995บาท/ครัวเรือน และจากสถิติของการนำเข้าปุ๋ยเคมีและสารเคมีป้องกันและ

กำจัดศัตรูพืชพบว่าจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เป็นต้นมา อัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่าง

ต่อเนื่องทั้งด้านปริมาณและมูลค่าคือ ในปี 2514ประเทศไทยนำเข้า 128,129ตัน แต่ในปี 2525ปริมาณ

การนำเขา้เพิม่ขึน้เปน็1,763,028ตนั(+1,276%)และในปี2550ปรมิาณการนำเขา้3,415,025ตนั(+2,565%)

แยกเป็นนำเข้าปุ๋ยเคมี 3.4ล้านตันมูลค่า45,136ล้านบาทนำเข้าสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช116,322ตัน

มูลค่า15,025ล้านบาทรวมมูลค่าทั้งสิ้น60,161ล้านบาท

1.2.7 ครอบครัวขาดความอบอุ่น เนื่องจากการทำการเกษตรแผนใหม่ยึดเงินตราและ

วัตถุเป็นสรณะ และหันมาพึ่งพาภายนอกที่เกษตรกรควบคุมไม่ได้ทำให้รายได้ครัวเรือนไม่เพียงพอพ่อแม่

และลูกจึงต้องหาอาชีพเสริมนอกชุมชนจึงขาดการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

2. การ เปลี่ยนแปลง ของ เกษตรกร ไทย ใน ระดับ กลุ่ม การรวมกลุ่มของเกษตรกรไทยมีมาเป็นเวลา

ช้านานและมีการเปลี่ยนแปลงในหลายด้านเช่น

2.1 การเปลี่ยนแปลงเชิงบวก

2.1.1 จำนวนกลุ่มและสมาชิกกลุ่มเพิ่มขึ้นมากจากการรวมตัวกันของเกษตรกรและ

การส่งเสริมของภาครัฐ

2.1.2 คณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มมีความรู้และประสบการณ์ด้านต่าง ๆ และ

เข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรทั้งสื่อวิทยุโทรทัศน์หนังสือพิมพ์หอกระจายข่าวฯลฯเพิ่มขึ้น

2.1.3 สมาชิกกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่เป็นนิติบุคคลมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ

กลุ่มสูง

2.1.4 กิจกรรมกลุ่มมีความหลากหลายและตอบสนองความต้องการของสมาชิก เช่น

กิจกรรมด้านการบริหารจัดการกลุ่มและด้านการพัฒนาสังคมกิจกรรมด้านการพัฒนาความรู้ กิจกรรมด้าน

การพัฒนาบ้านเรือน กิจกรรมด้านการผลิตแปรรูปและธุรกิจเกษตรเป็นต้น

Page 18: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-18 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

2.1.5 การรวมกลุ่มมีความหลากหลายทั้งกลุ่มธรรมชาติหรือกลุ่มที่ไม่เป็นนิติบุคคล

เช่นกลุ่มสนใจกลุ่มเรียนรู้ กลุ่มกิจกรรมด้านเศรษฐกิจ และสังคม เช่นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรกลุ่มสตรี

กลุ่มยุวเกษตรกรชมรมเกษตรกรรุ่นใหม่ และกลุ่มที่เป็นนิติบุคคลเช่นกลุ่มเกษตรกรสหกรณ์การเกษตร

เป็นต้น

2.1.6กลุ่มต่างๆกระจายตัวครอบคลุมทุกหมู่บ้านทั่วประเทศ

2.1.7 กลุม่ตน้แบบสำหรบัเปน็แม่ขา่ยในการพฒันากลุม่ตา่งๆและกลุม่ที่มีความพรอ้ม

ที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจมีอยู่มากมายหลายสาขาและกระจายอยู่ทั่วประเทศ

2.2 การเปลี่ยนแปลงเชิงลบ

2.2.1 สมาชิกกลุ่มเข้าใจกระบวนการกลุ่มคลาดเคลื่อน เช่น เข้าใจว่ารวมกลุ่มเพื่อรับ

การชว่ยเหลอืมากกวา่รว่มกนัแกไ้ขปญัหาและพฒันาขดีความสามารถในการปรบัตวัให้ทนักบัการเปลีย่นแปลง

ส่วนการบริหารงานกลุ่ม มีความเข้าใจว่าเป็นหน้าที่ของผู้นำและคณะกรรมการกลุ่ม สมาชิกกลุ่มเป็นเพียง

ผู้รับผลประโยชน์เป็นต้น

2.2.2 ผู้นำและคณะกรรมการกลุ่มระดับมืออาชีพมีจำกัดเนื่องจากขาดระบบหรือกลไก

ในการพัฒนาผู้นำหรือคณะกรรมการกลุ่มที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

2.2.3 สมาชกิกลุม่นติบิคุคลมีสว่นรว่มในการบรหิารจดัการกลุม่นอ้ยแผนงานโครงการ

และกิจกรรมกลุ่มส่วนใหญ่เกิดจากผู้จัดการเสนอความเห็นให้คณะกรรมการบริหารกลุ่มอนุมัติให้สมาชิกถือ

ปฏิบัติ

2.2.4 กิจกรรมกลุ่มส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมเพิ่มรายได้ระยะสั้น ส่วนกิจกรรมที่ยัง

มีน้อย ได้แก่ กิจกรรมทางด้านสังคมและกิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อขยายธุรกิจเกษตร อันมีเป้าหมาย

ในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านรายได้ อาชีพ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมครอบครัว ชุมชนและ

ประเทศชาติอย่างยั่งยืน

2.2.5 ภาครัฐและกลุ่มขาดทิศทางและแผนการพัฒนาระยะยาว แผนการดำเนินงาน

ส่วนใหญ่เป็นแผนการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือแก้ปัญหาระยะสั้น รวมทั้งขาดกลไกในการส่งต่อหรือ

การพัฒนาต่อยอด เช่น การพัฒนากลุ่มอาชีพการเกษตร ไปสู่กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร และ

การเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจเกษตรเป็นต้น

3. การ เปลี่ยนแปลง ของ เกษตรกร ไทย ใน ระดับ ชุมชน ชุมชนซึ่งในหน่วยนี้หมายถึงชุมชนระดับ

ตำบลที่สมาชิกของชุมชนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร การเปลี่ยนแปลงภายในชุมชนไม่ว่าจะเกิดจากปัจจัย

ทั้งภายในและภายนอกชุมชนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเกษตรกรไทยทั้งในเชิงบวกและเชิงลบใน

ด้านต่างๆหลายด้านเช่น

3.1 การเปลี่ยนแปลงเชิงบวก

3.1.1 โครงสร้างพื้นฐานของชุมชนเช่นแหล่งน้ำไฟฟ้าประปาโรงเรียนโรงพยาบาล

ระบบสื่อสารถนนและสาธารณูปโภคอื่นๆมีความสมบูรณ์ทั่วประเทศ

3.1.2 สมาชิกชุมชนที่มีความรู้ มีประสบการณ์และมีเครือข่ายที่จำเป็นต่อการพัฒนา

แบบพึ่งพาภายในเป็นหลักเช่นคนเมืองเสมือนคนชนบทคือคนเมืองที่ประกอบอาชีพการเกษตรในชนบท

Page 19: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-19การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

ซึ่งเป็นผู้มีความรู้และเครือข่ายที่หลากหลายหันมาใช้ชีวิตในชนบทมากขึ้น และคนชนบทเสมือนคนเมือง

คือคนชนบทที่เคยอยู่ในเมืองที่กลับคืนสู่ชนบท มีความรู้ที่หลากหลายใกล้เคียงกับคนเมือง สนใจและเข้า

ร่วมเป็นสมาชิกและร่วมกิจกรรมกลุ่มของชุมชนสูงทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมการเมืองการปกครองมากขึ้น

3.1.3 ผู้สงูวยัซึง่เปน็ผู้ที่มีภมูิรู้หรอืภมูปิญัญาและประสบการณ์สงูรกัษาขนบธรรมเนยีม

ประเพณีอันดีงามของชุมชนอย่างเข้มแข็งสามารถทำหน้าที่เป็นกำลังหลักของชุมชนได้มาก

3.1.4 ชุมชนมีแหล่งเงินทุนมากมายหลายแหล่งเช่นกลุ่มออมทรัพย์ กองทุนหมู่บ้าน

เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นต้น

3.1.5 ชุมชนมีความเข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดี พึ่งพาตนเองได้ สมาชิกในชุมชนมี

ส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง และมีส่วนร่วมตามกระบวนการประชาธิปไตย รวมทั้งการดูแลรักษา

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนมากขึ้น

3.1.6 ชุมชนสนใจศึกษาและสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับองค์กรภายนอกชุมชน

เช่นสถาบันการศึกษาชมรมสมาคมและมูลนิธิต่างๆและรู้จักประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่ม

ขึ้นมาก

3.1.7 ชุมชนมีความตื่นตัวในการจัดทำแผนชุมชน เริ่มจากการสำรวจข้อมูลและนำ

ข้อมูลมาวิเคราะห์และตัดสินใจที่จะพัฒนาชุมชนของตัวเองร่วมกันรวมทั้งมีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ระหว่างชุมชนบางชุมชนมีแผนชุมชนที่มีคุณภาพมีภูมิคุ้มกันตนเองที่เข้มแข็งจนสามารถเป็นต้นแบบของ

ชุมชนอื่นๆได้เช่นชุมชนไม้เรียงชุมชนบ้านปากพูนเป็นต้น

3.1.8 องค์กรชุมชนได้รับการรับรองสถานะอย่างถูกต้องตามกฎหมายเช่นสภาองค์กร

ชุมชน และตัวแทนชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ทำให้มีพลังในการพึ่งพาภายในได้

มากขึ้น

3.1.9 กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวกับการกระจายอำนาจ เช่น พระราชบัญญัติ

สภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7)พ.ศ. 2550

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการพ.ศ. 2551 ส่งผลบวกต่อ

บทบาทการมีสว่นรว่มของประชาชนชมุชนและทอ้งถิน่ในการกำหนดทศิทางการพฒันาที่สะทอ้นความตอ้งการ

ของคนในพื้นที่ นำไปสู่การจัดตั้งกลไกและกำหนดแนวทางสร้างความเชื่อมโยงของแผน งบประมาณและ

กระบวนการดำเนินงานอย่างบูรณาการของหน่วยงานส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคท้องถิ่น และชุมชน รวมถึง

การกำหนดให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณนำไปสู่การจัด

ทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดพร้อมทั้งการจัดทำคำของบประมาณ

3.2 การเปลี่ยนแปลงในเชิงลบ

3.2.1 ความสะดวกสบายทำให้ค่าใช้จ่ายและต้นทุนของชุมชนสูง และชุมชนที่ไม่มี

การจัดทำกิจกรรมเพิ่มรายได้ไว้ทดแทนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และไม่มีการจัดทำกิจกรรมการฟื้นฟูอนุรักษ์

วัฒนธรรมประเพณี วิถีชุมชนและทรัพยากรในท้องถิ่น จะสูญเสียความสมดุลในหลายมิติ เช่น เศรษฐกิจ

สังคมและทรัพยากรเป็นต้น

Page 20: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-20 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

3.2.2 กระแสนิยมวัฒนธรรมต่างชาติ ทำให้วิถีชีวิตของคนในชุมชนเปลี่ยนแปลงไป

ในทางบริโภคนิยมแทนการเอื้อเฟื้อเกื้อกูลพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันรวมทั้งการพบปะพูดคุยการให้ความ

เคารพนับถือหรือการยึดหลักอาวุโส โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่เริ่มลอกเลียนแบบดารา/นักร้องจาก

ต่างประเทศและแข่งรถมอเตอร์ไซค์ในถนนสาธารณะเล่นไลน์(line)และใช้สังคมออนไลน์(socialmedia)

ในการสื่อสารแทนการพูดคุยและสบตาหรือปรึกษาหารือ ส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมและความปลอดภัยใน

ชีวิตและทรัพย์สิน

3.2.3 การย้ายถิ่นของแรงงานจากชนบทสู่เมืองที่ทิ้งภาระไว้ให้ผู้สูงอายุดูแลเด็กและ

เยาวชนครอบครัว อาชีพ รวมทั้งการฟื้นฟูและดูแลชุมชน ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อการสืบทอดอาชีพ

เกษตรกรรมและการสร้างชุมชนเข้มแข็ง

3.2.4 โครงสรา้งประชากรในระดบัชมุชนมีแนวโนม้เปลีย่นแปลงเขา้สู่สงัคมผู้สงูอายเุชน่

เดียวกับระดับประเทศเป็นผลให้ภาระพึ่งพิงของประชากรสูงอายุในชุมชนเพิ่มขึ้น

3.2.5 ชุมชนได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศภัยธรรมชาติที่รุนแรง

มากขึ้นทั้งภัยแล้งน้ำท่วมและการเกิดโรคระบาดหรือโรคอุบัติใหม่

3.2.6 การแบ่งและถ่ายโอนภารกิจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)มีความล่าช้า

โดยเฉพาะการถ่ายโอนภารกิจ

3.2.7 ความเป็นอิสระและความสามารถพึ่งตนเองด้านการคลังท้องถิ่นลดลงและ

พึ่งรายได้ที่รัฐบาลจัดสรรเพิ่มขึ้น เพราะสัดส่วนรายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บเองต่อรายได้ท้องถิ่นทั้งหมดลดลง

จากร้อยละ18ในปี2542 เหลือเพียงร้อยละ9.7ในปี2552

3.2.8 ส่วนกลางควบคุมดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นค่อนข้างเข้มงวดในขณะที่

คุณภาพของบุคลากรในท้องถิ่นขาดระบบการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใส

ประชาชนมีบทบาทการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นน้อย

3.2.9 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความสำคัญต่อการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนา

การเกษตรน้อย

สรุป การ เปลี่ยนแปลง คือ การที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งมีสภาพแตกต่างไป

จากเดิม และภาคเกษตรของไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคตซึ่ง

มีทั้งในเชิงบวกและเชิงลบแตกต่างกันไปในแต่ละระดับ (ครัวเรือน กลุ่มและชุมชน) และสภาพภูมิสังคม

(ภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคใต้และภาคกลาง)และการเปลี่ยนแปลงเกิดจากปัจจัยทั้งภายใน

และภายนอกประเทศ จงึขึน้อยู่กบัวา่จะควบคมุการเปลีย่นแปลงหรอืบรหิารงานสง่เสรมิและพฒันาการเกษตร

อย่างไรภาคเกษตรของไทยจึงจะได้รับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเชิงลบน้อยและได้รับผลกระทบของ

การเปลี่ยนแปลงเชิงบวกมากและยั่งยืนที่สุด

Page 21: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-21การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

เรื่อง ที่ 15.1.2 การ บริหาร งาน ส่ง เสริม และ พัฒนาการ เกษตร ภาย ใต้

การ เปลี่ยนแปลง ของ สังคม และ วัฒนธรรม

ดงัได้กลา่วไว้ในความนำแลว้วา่การเปลีย่นแปลงเกดิขึน้ได้ทัง้ในเชงิบวกและเชงิลบและสง่ผลกระทบ

ต่อเกษตรกรทุกระดับ และหนทางที่จะช่วยให้เกษตรกรสามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง หนทาง

หนึ่งคือ การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรแบบบูรณาการโดยการมีส่วนร่วมและยึดเกษตรกรเป็น

ศูนย์กลาง เพื่อที่จะช่วยให้เกษตรกรน้อมนำหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับ

แต่ละภูมิสังคมซึ่งการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรตามแนวทางดังกล่าวจะต้องดำเนินการทั้งใน

ระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน โดยนำรูปแบบการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่เกี่ยวข้องเช่น

PoCCModel,POSDCoRBModelและการบริหารจัดการสมัยใหม่ซึ่งประกอบด้วยการมุ่งประสิทธิผล

หรือผลสัมฤทธิ์(effectiveness)การมุ่งเน้นคุณภาพ(quality)ความพึงพอใจของผู้รับบริการ(customer

satisfaction)และการมุ่งหลักความรับผิดชอบ (accountability)มาปรับใช้ให้สอดคล้องกับปัจจัยในการ

บริหารปัญหาศักยภาพและความต้องการของเกษตรกรแต่ละครัวเรือน แต่ละกลุ่มและชุมชนหรือตาม

สภาพภูมิสังคม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่กระทบต่อเกษตรกรแนวคิดทฤษฎีและปัจจัยในการบริหารได้กล่าว

ไว้ในหน่วยต่างๆแล้ว เรื่องนี้จึงเน้นการนำเสนอหลัก การ สำคัญ ในการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการ

เกษตรในระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชนตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

การ บริหาร งาน ส่ง เสริม และ พัฒนาการ การเกษตร กับ การ เปลี่ยนแปลง ระดับ ครัว เรือนครัวเรือนเปรียบเสมือนฐานรากของสังคมเพราะเป็นหน่วยย่อยของสังคมความเข้มแข็งหรือความ

อ่อนแอของแต่ละครัวเรือนส่งผลต่อระดับความเข้มแข็งของชุมชนและประเทศชาติ และการเปลี่ยนแปลง

ของสังคมไทยทำให้ครัวเรือนเกษตรกรไทยอ่อนแอ ขาดความอบอุ่น ขาดความภูมิใจในตนเองและอาชีพ

การเกษตร ขาดองค์ความรู้และการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และพึ่งพาตนเองลดลง แต่พึ่งพิงภายนอก

เพิ่มขึ้นทั้งในแง่เศรษฐกิจและสังคม การแก้ไขปัญหาตามแนวทางข้างต้นสรุปได้ดังนี้

1. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรแต่ละครัวเรือนปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ระดับที่1ซึ่งเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐานที่เน้นความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัวคือสมาชิกใน

ครอบครัวมีความเป็นอยู่แบบพึ่งพาตนเองได้สามารถสนองความต้องการขั้นพื้นฐานมีการช่วยเหลือเกื้อกูล

กนัและกนัและมีความพอเพยีงในการดำเนนิชวีติอยา่งมีความสขุทัง้กายและใจโดยอาศยัการผลติเพือ่บรโิภค

ภายในครัวเรือนและแบ่งปันหรือจำหน่ายส่วนที่เหลือเพื่อให้มีอาชีพและรายได้ทางการเกษตรที่ยั่งยืนโดยใช้

ปัจจัยการบริหารภายในครัวเรือนเป็นหลักทั้งในมิติของคนหรือแรงงาน เงินทุน วัสดุอุปกรณ์ และเทคนิค

การทำงานแบบการมีส่วนร่วมของสมาชิกในครัวเรือนภายใต้ความรับผิดชอบต่อตนเองครอบครัว อาชีพ

Page 22: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-22 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

ชุมชนหรือสังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพคุณภาพและความรับผิดชอบต่อตนเอง

ครอบครัว สังคมหรือชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยพึ่งพาปัจจัยภายนอกเฉพาะที่จำเป็นและเกิน

ขีดความสามารถของครัวเรือน

2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรได้แก่พ่อแม่และลูกรวมทั้งผู้สูงวัยในแต่ละครัวเรือนมี

สว่นรว่มในการแกไ้ขปญัหาหรอืพฒันาความเปน็อยู่ของครอบครวัได้อยา่งประสทิธภิาพและประสทิธผิลสงูสดุ

3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกในครัวเรือนมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

3.1 มีทัศนคติที่ดีต่อตนเองต่อภาคเกษตรและต่อการรวมกลุ่มเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและ

พัฒนาอาชีพการเกษตรและความเป็นอยู่ของตนเองครอบครัวชุมชนและสังคมอันเป็นส่วนรวม

3.2มีความรู้และทักษะในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ การวิเคราะห์การจำแนก

แยกแยะและวางแผนรวมทั้งประเมินผลการดำเนินงานของตนเองได้

3.3มีความสามารถที่จะบริหารจัดการบ้านเรือน การผลิต การแปรรูปและการตลาด ให้

สอดคล้องกับปัญหาและศักยภาพหรือขีดความสามารถตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3.4 มีการพัฒนาความรู้และทักษะของสมาชิกในแต่ละครัวเรือนให้เกื้อกูลซึ่งกันและกัน

เช่น

(1)ส่งเสริมและสนับสนุนให้พ่อบ้านเกษตรกรมีความรู้และทักษะในด้านการผลิตสินค้า

เกษตร

(2)ส่งเสริมและสนับสนุนให้แม่บ้านเกษตรกรมีความรู้และทักษะในด้านการจัดการ

บ้านเรือนการแปรรูปหัตถกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตและของเหลือใช้ด้านการเกษตรรวมถึงการบริหาร

จัดการธุรกิจเกษตร

(3)ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุตรหลานหรือยุวเกษตรกรมีความพร้อมที่จะสืบสาน

ภาคเกษตร

การ บริหาร งาน ส่ง เสริม และ พัฒนาการ เกษตร กับ การ เปลี่ยนแปลง ของ สังคม ไทย ระดับ กลุ่ม กลุ่มหรือการรวมตัวของเกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องภายในหมู่บ้าน ตำบล ชุมชน หรือท้องถิ่น

เดียวกัน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาอาชีพการเกษตรที่เกษตรกรแต่ละคนหรือแต่ละครัวเรือน

ดำเนนิการเองโดยลำพงัไม่ได้กลุม่จงึเปน็กลไกสำคญัในการบรหิารงานสง่เสรมิและพฒันาการเกษตรที่จะชว่ย

เสรมิพลงัให้เกษตรกรมีความเขม้แขง็สามารถแกไ้ขปญัหาหรอืพฒันาขดีความสามารถในการปรบัตวัให้ทนักบั

การเปลีย่นแปลงซึง่ปจัจบุนัมีกลุม่อยู่มากมายและกระจายครอบคลมุทกุหมูบ่า้นโดยมีทัง้กลุม่ในระดบัดีเดน่

ดีมากปานกลางและกลุม่ที่อยู่ในระดบัที่ตอ้งปรบัปรงุหรอืกลุม่ที่ระบบการบรหิารจดัการยงัขาดประสทิธภิาพ

คุณภาพและความรับผิดชอบเช่นคณะกรรมการสมาชิกและเจ้าหน้าที่มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายต่างกัน

การบริหารงานกลุ่มดำเนินการโดยประธานและหรือคณะกรรมการเพียงบางคนบริหารจัดการในลักษณะ

พึ่งพาปัจจัยภายนอกมากกว่าเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่างสมาชิก ขาดเทคนิคการทำงาน และกิจกรรมที่

ดำเนินการไม่เชื่อมโยงกับปัญหาและศักยภาพของเกษตรกรและชุมชนทำให้กลุ่มขาดพลังที่จะแก้ไขปัญหา

หรือพัฒนาขีดความสามารถในการพึ่งพาภายในเพื่อให้สามารถปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน

Page 23: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-23การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

และการแก้ไขปัญหาข้างต้นจะแตกต่างไปตามสภาพปัญหาและศักยภาพของแต่ละกลุ่ม ซึ่งการแก้ไขปัญหา

ดังกล่าวสรุปได้ดังนี้

1. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครัวเรือนที่ประสบความสำเร็จในการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจ

พอเพียงขั้นที่1ปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระดับที่ 2 ซึ่งเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า

ที่เน้นความพอเพียงระดับกลุ่มหรือองค์กร คือ เมื่อบุคคล/ครอบครัว มีความพอเพียงในระดับหนึ่งแล้ว

ก็รวมพลงักนัในรปูกลุม่แลว้พฒันาไปเปน็สหกรณ์เพือ่รว่มกนัดำเนนิงานในดา้นตา่งๆ โดยได้รบัความรว่มมอื

จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ปัจจัยการบริหารภายในครัวเรือนเป็นหลัก ทั้งในมิติของคนหรือแรงงาน

เงนิทนุวสัดุอปุกรณ์และเทคนคิการทำงานแบบการมีสว่นรว่มของสมาชกิในครวัเรอืนภายใต้ความรบัผดิชอบ

ต่อตนเองครอบครัวอาชีพชุมชนหรือสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อที่จะก่อให้เกิดกิประสิทธิภาพคุณภาพและ

ความรับผิดชอบต่อตนเองครอบครัวสังคมหรือชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนโดยพึ่งพาปัจจัยภายนอก

เฉพาะที่จำเป็นและเกินขีดความสามารถของคณะกรรมการและสมาชิกกลุ่ม

2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกของครัวเรือนเกษตรกรได้แก่พ่อแม่และลูกรวมทั้งผู้สูงวัยใน

แต่ละครัวเรือนเป็นสมาชิกกลุ่มที่ตนเองสนใจและมีส่วนร่วมในการบริหารงานกลุ่มให้สามารถแก้ไขปัญหา

และพัฒนาความเป็นอยู่ของมวลหมู่สมาชิกชุมชนและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพคุณภาพและความ

รับผิดชอบ

3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกกลุ่มมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

3.1 มีทัศนคติที่ดีต่อการเชื่อมโยงกลุ่มเครือข่ายเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาอาชีพ

การเกษตรและความเป็นอยู่ของตนเองครอบครัวชุมชนและสังคมอันเป็นส่วนรวม

3.2 มีความรู้และทักษะในการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ รวมถึง

การมีส่วนร่วมในการบริหารงานกลุ่มแบบบูรณาการ เช่น การมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์และ

เป้าหมายกลุ่ม การวางแผนการดำเนินงาน การปฏิบัติงานและการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตาม

แผนการดำเนินงานของกลุ่ม

4. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาตามศักยภาพของแต่ละกลุ่มหรือตามขั้นตอนการพัฒนากลุ่ม

โดยเริ่มจากการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรที่มีปัญหาและมีความต้องการแก้ไขปัญหาที่คล้ายคลึงกัน

แต่ขาดองค์ความรู้ได้รวมตัวเป็นกลุ่มสนใจหรือกลุ่มเรียนรู้เพื่อศึกษาหาความรู้สำหรับใช้แก้ไขปัญหาหรือ

พัฒนาขีดความสามารถตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปถึงระดับก้าวหน้าคือมีความรู้และทักษะทั้งด้านการรวมกลุ่ม

และด้านการใช้เทคโนโลยีการเกษตรแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาอาชีพของสมาชิกกลุ่ม เพียงพอที่จะจัดทำ

กิจกรรมหรือพัฒนาอาชีพร่วมกัน แล้วค่อยส่งเสริมให้จัดทำกิจกรรมหรือพัฒนาอาชีพร่วมกัน ซึ่งอาจจะ

เรียกว่า“กลุม่ กจิกรรม หรอื กลุม่ อาชพี”ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนถึงขั้นก้าวหน้าคือมีผลผลิตและผลกำไรเพียงพอ

ที่จะขยายกำลังการผลิต ขยายสายการผลิต และขยายตลาด และมีความรู้ความสามารถในการเชื่อมโยง

เครือข่ายในทางธุรกิจ แล้วค่อยส่งเสริมและสนับสนุนให้กลุ่มดำเนินงานในลักษณะเครือข่ายหรือเรียกว่า

“กลุ่ม ธุรกิจหรือ กลุ่ม เครือ ข่าย ธุรกิจ”ตามภาพที่15.1

Page 24: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-24 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

ระดับการพัฒนากลุ่ม 1. ระดับพื้นฐาน 2. ระดับพัฒนา 3. ระดับก้าวหน้า

1. กลุ่มสนใจ

หรือกลุ่มเรียนรู้

2. กลุ่มกิจกรรม

หรือกลุ่มอาชีพ

3. กลุ่มธุรกิจ

หรือกลุ่มเครือข่ายธุรกิจ

ภาพ ที่ 15.1 ขั้น ตอน การ พัฒนา กลุ่ม

การ บริหาร งาน ส่ง เสริม และ พัฒนาการ เกษตร กับ การ เปลี่ยนแปลง ของ สังคม ไทย ระดับ ชุมชนชุมชนมีผู้ให้ความหมายที่หลากหลาย เช่น หมายถึง กลุ่มคนที่มาอยู่รวมกันในเขตหรือบริเวณ

เดียวกันที่แน่นอนมีวิถีการดำเนินชีวิตคล้ายกัน มีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน

และกัน อยู่ภายใต้กฎระเบียบกฎเกณฑ์เดียวกัน ความเป็นชุมชนอาจเกิดขึ้นในสถานที่และสถานการณ์

ต่างๆกัน เช่นชุมชนในครัวเรือนชุมชนในที่ทำงานชุมชนวิชาการชุมชนสงฆ์และชุมชนทางอินเทอร์เน็ต

เป็นต้นแต่ชุมชนในหน่วยนี้หมายถึงชุมชนระดับตำบลหรือกลุ่มคนหรือประชาชนโดยเฉพาะเกษตรกรที่อยู่

รวมกันในแต่ละตำบล เพราะชุมชนในความหมายนี้มีความสำคัญต่อการพัฒนาความเป็นอยู่ของเกษตรกร

ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมและประเทศชาติอันเป็นส่วนรวม เพราะชุมชนระดับตำบลเป็นส่วนย่อยของสังคม

และประเทศชาติที่มีศักยภาพในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรหลายประการ เช่น มีองค์การบริหาร

ส่วนตำบล(อบต.)ที่มีโครงสร้างทางการบริหารส่วนท้องถิ่นที่ชัดเจนมีขอบเขตที่เหมาะสมหรือไม่มากหรือ

น้อยทั้งในมิติของขนาดพื้นที่และมิติอื่นๆเป็นต้น

ชุมชนระดับตำบลที่เป็นชุมชนเกษตรในประเทศไทยมีจำนวนมากกว่า 7,000 ชุมชนหรือตำบล

และแต่ละชุมชนมีอัตลักษณ์และได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทั้งเชิงบวกและเชิงลบดังที่ได้กล่าว

มาในเรื่องที่15.1.1แต่ปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งคือชุมชนขาดการพึ่งพาปัจจัยภายในและสาเหตุสำคัญ

คือการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรในภาคปฏิบัติให้ความสำคัญกับการพึ่งพาภายในน้อยและ

พัฒนาในลักษณะแยกส่วนแม้ว่าจะพัฒนาในลักษณะกลุ่มแต่ก็ขาดเชื่อมโยงทั้งระหว่างสมาชิกในครัวเรือน

และชุมชนซึ่งในที่นี้มีความหมายรวมถึงทรัพยากรภายในชุมชนทุกมิติเช่นทรัพยากรมนุษย์ภูมิปัญญาและ

Page 25: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-25การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

ทรัพยากรธรรมชาติเป็นต้น การแก้ไขปัญหาข้างต้นจะแตกต่างไปตามสภาพปัญหาและศักยภาพของแต่ละ

ชุมชน และแนวทางการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรระดับชุมชนที่จะมีประสิทธิภาพคุณภาพ

และเกิดความรับผิดชอบทั้งต่อตัวเกษตรกรครอบครัวสังคมชุมชนและสิ่งแวดล้อมได้ในทุกสภาพปัญหา

และศักยภาพแนวทางหนึ่งคือการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้โดยอาศัยการบริหารงาน

แบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการที่มีเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. สง่เสรมิและสนบัสนนุให้เกษตรกรแตล่ะครวัเรอืนที่ประสบความสำเรจ็ในการปฏบิตัิตามปรชัญา

ของเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่2 ปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระดับที่ 3 ซึ่งเป็นเศรษฐกิจพอเพียง

แบบก้าวหน้าที่เน้นความพอเพียงระดับเครือข่าย คือ เมื่อกลุ่มหรือองค์กรมีความพอเพียงในขั้นที่ 2

แล้ว ก็จะต้องร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกสร้างเครือข่ายเพื่อขยายกิจกรรมอย่างหลากหลาย และพัฒนา

คุณภาพชีวิตให้สมประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่าย

2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนโดยเฉพาะเกษตรกรมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและพัฒนาการ

เกษตรในแต่ละชุมชนอย่างแท้จริง โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนวิเคราะห์ วางแผน ดำเนินการและ

ประเมินผลการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาความเป็นอยู่ของตนเองและชุมชนให้เข้มแข็ง สามารถปรับตัวได้ทัน

กับสถานการณ์อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการวิเคราะห์ศักยภาพหรือความพร้อมในการเชื่อมโยงเครือข่ายกลุ่ม

ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่3

3. ส่งเสริมและสนับสนุนแผนการแก้ไขปัญหาและ/หรือการพัฒนาการเกษตรในลักษณะ

การบูรณาการหรือเชื่อมโยงแผนและทรัพยากรทั้งภายในและภายนอกชุมชน โดยเฉพาะแผนการเชื่อมโยง

เครือข่ายกลุ่มตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่3

4. ถ่ายโอนงานด้านการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ชุมชนสามารถดำเนินการ

เองได้ให้แก่ชุมชน เช่นงานสำรวจรวบรวมข้อมูลและติดตามสถานการณ์ต่างๆโดยเฉพาะสถานการณ์ด้าน

การพัฒนาการเกษตรและด้านภัยพิบัติต่างๆ งานวางแผนดำเนินการและประเมินผลการพัฒนาการเกษตร

รวมทั้งงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล (ศบกต.) ให้แก่องค์การบริหาร

ส่วนตำบล(อบต.)

5. รัฐหรือหน่วยงานภายนอกทำหน้าที่เฉพาะการส่งเสริมและสนับสนุนในงานที่ชุมชนดำเนินการ

เองไม่ได้ในลักษณะการมีส่วนร่วมของชุมชน หรือทำหน้าที่เสริมหนุนหรือร่วมดำเนินการ (workwith) ใน

งานที่ชุมชนดำเนินการได้ หรือปรับบทบาทมาเป็นที่ปรึกษาแทนการดำเนินการหรือบริหารจัดการให้ (work

for) รวมทั้งทำหน้าที่เป็นผู้รักษากฎระเบียบของทางราชการที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบเพื่อสร้างความเป็น

ธรรมหรือลดการเอารัดเอาเปรียบของภาคส่วนอื่น

6. สนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติมีบทบาทในสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเกษตร

ของชุมชน โดยการสนับสนุนให้ผู้แทนเกษตรกรระดับหมู่บ้านที่ได้รับการคัดเลือกตามพระราชบัญญัติ

สภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553ปฏิบัติงานเชื่อมโยงกับอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) ศูนย์บริการ

และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล เพื่อสะท้อนปัญหาและความต้องการของชุมชนให้แก่

สภาเกษตรกรระดับจังหวัด เพื่อจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาการเกษตรของแต่ละจังหวัดให้สภาเกษตรกร

Page 26: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-26 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

แห่งชาติจัดทำแผนแม่บทพัฒนาการเกษตรระดับประเทศและนำแผนพัฒนาการเกษตรดังกล่าวมาขับเคลื่อน

รวมทั้งติดตามประเมินผลรายงานผลและประสานงานกับชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ

สรุป สังคมเกษตรของไทยในแต่ละระดับ มีความเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกัน แต่

เชือ่มโยงถงึกนัและการบรหิารงานสง่เสรมิและพฒันาการเกษตรที่สง่เสรมิและสนบัสนนุให้ครวัเรอืนเกษตรกร

น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่1มาปฏิบัติแล้วพัฒนาไปสู่ขั้นที่2คือการรวมกลุ่มและขั้นที่3

คือการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจทำให้เกษตรกรมีความเข้มแข็งและสามารถปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลง

ได้อย่างยั่งยืน

หลัง จาก ศึกษา เนื้อหา สาระ ตอน ที่ 15.1 แล้ว โปรด ปฏิบัติ ตาม กิจกรรม 15.1

ใน แนว การ ศึกษา หน่วย ที่ 15 ตอน ที่ 15.1

Page 27: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-27การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

ตอน ที่ 15.2

กรณี ตัวอย่าง การ บริหาร งาน ส่ง เสริม และ พัฒนาการ เกษตร

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่15.2แล้วจึงศึกษาเนื้อหาสาระพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละตอน

หัว เรื่องเรื่องที่15.2.1กรณีตัวอย่างการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรระดับครัวเรือน

เรื่องที่15.2.2กรณีตัวอย่างการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรระดับกลุ่ม

เรื่องที่15.2.3กรณีตัวอย่างการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรระดับชุมชน

แนวคิด1. การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ช่วยให้เกษตรกรน้อมนำปรัชญาของ

เศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ จะช่วยให้เกษตรกรมีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองหรือ

สามารถปรับได้ทันกับการเปลี่ยนแปลง

2. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมี3ระดับและแต่ละระดับจะต้องปรับใช้ให้สอดคล้องกับ

ปัญหาและศักยภาพของแต่ละบุคคลครัวเรือนกลุ่มและชุมชนหรือภูมิสังคม

3. กรณีตัวอย่างการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่นำเสนอในหน่วยนี้ เป็น

ตัวอย่างความสำเร็จในการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติตามปัญหา

ศักยภาพและความต้องการของแต่ละครัวเรือน กลุ่ม และชุมชนหรือภูมิสังคม จึงไม่

สามารถที่จะนำใช้ในพื้นที่อื่นๆ ได้โดยตรง แต่สามารถนำไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับแต่ละ

บุคคลครัวเรือนกลุ่มและชุมชนหรือภูมิสังคมได้

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาหน่วยที่15.2จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. วิเคราะห์กรณีตัวอย่างการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรระดับครัวเรือนได้

2. วิเคราะห์กรณีตัวอย่างการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรระดับกลุ่มได้

3. วิเคราะห์กรณีตัวอย่างการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรระดับชุมชนได้

Page 28: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-28 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

เรื่อง ที่ 15.2.1 กรณี ตัวอย่าง การ บริหาร งาน ส่ง เสริม และ

พัฒนาการ เกษตร ระดับ ครัว เรือน

ครัวเรือนเปรียบเสมือนฐานรากของสังคม และการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่

ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครัวเรือนเกษตรกรน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระดับที่1ซึ่งเป็นเศรษฐกิจ

พอเพียงแบบพื้นฐานที่เน้นความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัวคือสมาชิกในครอบครัวมีความเป็นอยู่

แบบพึง่ตนเองได้สามารถตอบสนองความตอ้งการขัน้พืน้ฐานมีการชว่ยเหลอืเกือ้กลูกนัและกนัมีความสามคัคี

และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขทั้งกายและใจมาปฏิบัติ จะทำให้ครัวเรือนเกษตรกรเข้ม

แข็ง และการวิเคราะห์กรณีตัวอย่างครัวเรือนเกษตรที่ประสบความสำเร็จในการน้อมนำหลักปรัชญาของ

เศรษฐกิจพอเพียงระดับที่1มาปฏิบัติ จะช่วยให้นักศึกษาเข้าใจและสามารถนำแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

ไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรื่องนี้จึงขอนำกรณีของนายสมพงษ์ จินาบุญมาให้นักศึกษาได้วิเคราะห์

เพราะนอกจากนายสมพงษ์ จินาบุญ จะประสบความสำเร็จในการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ขั้นที่ 1 มาปฏิบัติแล้ว ยังได้รับรางวัลจากทางราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เป็นเกษตรกรดีเด่น

ระดับจังหวัด ได้รับโล่พระราชทานเกษตรกรดีเด่นสาขาไม้ผล เป็นประธานกลุ่มปรับปรุงคุณภาพมังคุดที่

สามารถพัฒนาเป็นวิสาหกิจชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาราคามังคุดตกต่ำได้อย่างต่อเนื่อง เป็นอาสาสมัคร

เกษตร(อกษ.)อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน(อกม.)ผู้แทนเกษตรกรระดับหมู่บ้านตำบลอำเภอจังหวัดและ

รองประธานสภาเกษตรกรจังหวัดชุมพรตามพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติพ.ศ.2553เป็นต้นและ

สิง่ที่สำคญัอกีประการหนึง่คอืนายสมพงษ์จินาบญุมีครอบครวัที่อบอุน่มีความมัน่คงทางอาหารมีรายได้และ

เงินออมเพียงพอต่อการดำรงชีพและสามารถใช้ความรู้เทคโนโลยีการเกษตรแผนใหม่และภูมิปัญญาท้องถิ่น

ตลอดจนใช้พื้นที่และทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

ข้อมูล พื้น ฐาน และ การ ดำเนิน งาน ตาม ปรัชญา ของ เศรษฐกิจ พอ เพียง ขั้น ที่ 1 ของ นาย สม พงษ์

จิ นา บุญนายสมพงษ์จินาบุญบ้านเลขที่30หมู่ที่7ตำบลท่ามะพลาอำเภอหลังสวนจังหวัดชุมพรสำเร็จการ

ศึกษาระดับปริญญาตรีด้านวิศวกรรมโยธาและทำงานภาคเอกชนจนประสบความสำเร็จทั้งด้านตำแหน่งและ

รายได้แต่เมือ่ได้เรยีนรู้ปรชัญาของเศรษฐกจิพอเพยีงและวเิคราะห์สถานการณ์แลว้พบวา่งานที่ทำเปน็อาชพีที่

ต้องแข่งขันมีการแบ่งปันน้อยมีความเสี่ยงสูงและมีความมั่นคงต่ำทำให้พึ่งพาตนเองได้น้อยและสิ่งที่สำคัญ

คือ ทั้งชีวิตต้องผูกติดกับปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ แม้กระทั่งสุขภาพของตนเองที่ทรุดโทรมเนื่องจาก

การทำงานหนักมีเวลาพักผ่อนน้อยค่าใช้จ่ายที่เกิดจากแข่งขันสูงเงินออมน้อยดังนั้นเมื่อถึงวันที่อายุมาก

สุขภาพเสื่อมโทรมประสิทธิภาพการทำงานต่ำทำให้ต้องออกจากงานและต้องนำเงินออมมาเป็นค่าใช้จ่ายใน

Page 29: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-29การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

ครอบครัวและรักษาสุขภาพตนเอง และครอบครัวจะประสบปัญหานานัปการ ในขณะที่ตนเองมีทางเลือกที่

ดีีกวา่คอืมาจากครอบครวัทีท่ำการเกษตรแบบไร่นาสวนผสมคอืปลกูเงาะทเุรยีนมงัคดุกลว้ยเลบ็มอืนางฯลฯ

เพื่อการบริโภคแต่แบ่งปันและจำหน่ายส่วนที่เหลือเพื่อนำรายได้มาเป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัวและช่วยเหลือ

ชุมชน โดยอาศัยแรงงานในครัวเรือนและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ สารชีวภัณฑ์ภูมิปัญญา และทรัพยากรในท้องถิ่น

ที่ควบคุมได้เป็นหลัก จึงมีครอบครัวที่อบอุ่น มีความสุขและรายได้ที่มั่นคง แต่เมื่อโลกมีการเปลี่ยนแปลง

ครอบครัวของตนเองปรับเปลี่ยนวิธีคิดและรูปแบบการเกษตรจากไร่นาสวนผสมมาปลูกเงาะ ทุเรียนและ

มังคุดเชิงเดี่ยวเพื่อการค้าโดยเปลี่ยนพันธุ์และนำเทคโนโลยีการเกษตรแผนใหม่รวมถึงปัจจัยการผลิตเช่น

ปุ๋ยและสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชมาใช้ทำให้ประสบปัญหาหลายประการ

จากปัญหาและความต้องการข้างต้นประกอบกับความสนใจในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดย

เฉพาะปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นที่ 1 ซึ่งเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐานที่เน้นความพอเพียง

ระดับบุคคลและครอบครัว คือ สมาชิกในครอบครัวมีความเป็นอยู่แบบพึ่งตนเองได้ สามารถตอบสนอง

ความต้องการพื้นฐานมีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันมีความสามัคคีและมีความพอเพียงในการดำเนิน

ชีวิตอย่างมีความสุขกายสุขใจ จึงได้ปรึกษาหารือกับเพื่อนบ้านและร่วมวิเคราะห์ปัญหากับเจ้าหน้าที่ส่งเสริม

การเกษตรและเกษตรกรแล้วพบว่าการทำการเกษตรในลักษณะดังกล่าวทำให้ความมั่นคงทางอาหารลดลง

คือ ต้องซื้อหาอาหารเพื่อการบริโภค และเทคโนโลยีที่นำมาใช้ ไม่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เพราะแม้ว่าจะ

สามารถเพิม่ผลผลติได้แต่ตอ้งประสบปญัหาดา้นโรคและแมลงศตัรูพชืระบาดและขาดแหลง่นำ้ทำให้ผลผลติ

มีคุณภาพและราคาผลผลิตตกต่ำแต่ต้นทุนการผลิตและรายจ่ายในการครองชีพสูงความอุดมสมบูรณ์ของ

ทรัพยากรธรรมชาติสูญเสีย และเห็นว่าถ้ายังคงทำการเกษตรในลักษณะดังกล่าวปัญหาจะทวีความรุนแรง

และแก้ไขได้ยาก เพราะจะต้องพึ่งพาภายนอกซึ่งควบคุมไม่ได้ทำให้มีหนี้สินภูมิปัญญาท้องถิ่นสิ่งแวดล้อม

และสุขภาพของตนเองครอบครัวและผู้บริโภคก็จะเสื่อมโทรมเพิ่มขึ้นและการฟื้นฟูการทำเกษตรผสมผสาน

เพื่อการบริโภคและควบคู่กับการผลิตมังคุดคุณภาพเพื่อการค้าโดยผสมผสานภูมิปัญญากับวิทยาการสมัย

ใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ เศรษฐกิจและสังคมของตำบลท่ามะพลาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ

พอเพียงจะเป็นการแก้ไขปัญหาและพัฒนาอย่างยั่งยืนแต่เนื่องจากเกษตรกรยังขาดความรู้และความมั่นใจ

ในการฟื้นฟูการทำเกษตรผสมผสานนายสมพงษ์จินาบุญจึงอาสาที่จะจัดทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องดังนี้

1. จัดการศึกษาดูงานการปรับปรุงคุณภาพไม้ผลทั้งภายในจังหวัดชุมพรและจังหวัดอื่นๆ ร่วมกับ

เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลและเพื่อนบ้านที่ทำการเกษตรลักษณะเดียวกัน

2. จัดทำโครงการนำร่องการปรับปรุงคุณภาพมังคุดเพื่อการส่งออกร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอ

หลังสวนเพื่อวิจัยและพัฒนาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และสารชีวภัณฑ์ป้องกันเพลี้ยไฟ ควบคู่กับการใช้ปุ๋ยเคมีและ

สารเคมีและวิธีการเก็บเกี่ยวมังคุด โดยปลูกไผ่และระกำเป็นรั้วล้อมสวนปลูกมะพร้าวหมากทุเรียนเงาะ

ลางสาด มังคุดมะมุดมะไฟเหรียงเนียงและสะตอเป็นพืชประธาน ปลูกพริกไทยดีปลีกล้วยเล็บมือนาง

มะกรูดส้มจี๊ดกานพลูจันเทศและเหลียงเป็นพืชแซมปลูกผักหวานบ้านผักกูดขิงข่าตะไคร้พริกมะเขือ

กะเพราโหระพามะเขือพวง ถั่วพูถั่วฝักยาว โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำหมักชีวภาพและน้ำส้มควันไม้ผสมผสาน

กับการใช้ปุ๋ยเคมี วิจัยและพัฒนาระบบการสำรวจและวิเคราะห์หาระยะและปริมาณการระบาดของเพลี้ยไฟ

Page 30: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-30 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

ที่จำเป็นต้องใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศึกษาวิจัยเพื่อหาชนิดของสารเคมีระยะเวลาอัตราและวิธีการป้องกัน

และกำจัดที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยทั้งต่อตนเองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมรวมทั้งนำผลผลิตการเกษตร

ในครัวเรือนมาแปรรูปเช่นกล้วยเล็บมือนางอบน้ำผึ้งจันเทศแช่อิ่ม กวนเงาะทุเรียนและมังคุดโดยอาศัย

แรงงานเงินทุนและทรัพยากรในครัวเรือนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

ผล สำเร็จ ใน การ ดำเนิน งาน ตาม ปรัชญา เศรษฐกิจ พอ เพียง ของ นาย สม พงษ์ จิ นา บุญจากการจัดทำกิจกรรมข้างต้นนายสมพงษ์จินาบุญนำแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงคือการพัฒนา

ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาทโดยคำนึงถึงความพอประมาณความมีเหตุผลการ

สร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบและคุณธรรมประกอบการวางแผนการตัดสินใจ

และการกระทำมาประยุกต์เพื่อการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านทั้งด้าน

เศรษฐกิจสังคมสิ่งแวดล้อมความรู้และเทคโนโลยี(จากhttp://www.haii.or.th/wiki84/index.phpหลัก

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง-WIKI84ค้นคืนวันที่3กรกฎาคม2556)และประสบความสำเร็จดังนี้

1. มีความมั่นใจและได้รูปแบบวิธีการในการฟื้นฟูการทำเกษตรผสมผสานที่จะนำมาปรับใช้ ให้

สอดคล้องกับปัญหาและศักยภาพของตนเองและชุมชน

2. การจัดทำโครงการนำร่องการปรับปรุงคุณภาพมังคุดเพื่อการส่งออกทำให้สามารถพัฒนาการ

ผลิตโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์และสารชีวภัณฑ์ป้องกันเพลี้ยไฟ ควบคู่กับการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีและพัฒนาวิธี

การเก็บเกี่ยวมังคุดรวมทั้งวิธีการแปรรูปผลผลิตเกษตรโดยอาศัยแรงงานเงินทุนและทรัพยากรในครัวเรือน

ที่สอดคล้องกับปัญหาและศักยภาพของตนเองและชุมชน

3. ผลิตมังคุดปลอดภัยจากสารพิษโดยการใช้ทรัพยากรในชุมชนจนได้รับการรับรองมาตรฐาน

GAP(Good AgriculturalPractice)ที่ต้นทุนต่ำและจำหน่ายมังคุดได้สูงกว่าราคาตลาดประมาณร้อยละ

20-25ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี2553

4. มีความพอเพียงตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่1ในด้านต่างๆ

4.1 ความมั่นคงทางอาหารสูงทั้งด้านการมีอาหาร(foodavailability)การเข้าถึงอาหาร(food

accessibility)การใช้ประโยชน์(foodutilization)และการมีเสถียรภาพด้านอาหาร(foodstability)

4.2 รายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพเนื่องจากมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตการเกษตรและ

ผลิตภัณฑ์ที่เหลือจากการบริโภคในครัวเรือนอย่างต่อเนื่องทั้งรายวันรายสัปดาห์รายเดือนและรายปี

4.3 ค่าใช้จ่ายต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เนื่องจากพืชและสัตว์ที่หลากหลาย

จากการผลิตในลักษณะสวนสมรมหรือไร่นาสวนผสมช่วยให้ดินชุมชื้นและเกิดปุ๋ยอินทรีย์ในไร่นาเพียงพอ

ต่อความต้องการของพืช และร่มเงาของพืชประธานทำให้มีวัชพืชน้อย และไม่ต้องจ้างแรงงานเพราะ

แรงงานพ่อ แม่และลูก เพียงพอต่อการดูแลรักษาไร่นา และไม่ต้องขนย้ายสินค้าไปจำหน่ายนอกชุมชน/

ท้องถิ่น

Page 31: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-31การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

4.4 เงินออมสูงและมีความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับเงินออมเฉลี่ยของ

เกษตรกรทั่วไป เนื่องจากรายได้เสริมสูงแต่รายจ่ายต่ำ

4.5 ใช้พื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกพืชเชิงเดี่ยวคือภายในพื้นที่

1 ไร่ ปลูกพืชหลายชนิดโดยการปลูกชิด ปลูกแซม และปลูกได้หลายชั้น เพราะพืชแต่ละชนิดมีความสูง

ลำต้น ลักษณะพุ่มและระบบรากที่แตกต่างกัน เช่นหมากมะพร้าว สะตอ เนียง ฯลฯ เป็นพืชที่มีความสูง

มากที่สุดแต่มีลำต้นเล็กมีใบน้อยจึงเป็นพืชชั้นบนสุดส่วนพริกไทยดีปลีฯลฯไม่ต้องการพื้นที่แต่ต้องการ

ค้าง จึงสามารถใช้หมากและมะพร้าวเป็นค้างได้ ในขณะที่ เงาะ ทุเรียน เนียง ฯลฯ เป็นพืชที่กิ่งก้านสาขา

มีทรงพุ่มหนาและมีความสูงน้อยกว่าจึงสามารถปลูกเป็นพืชชั้นรองลงมาสำหรับมังคุดลองกองลางสาด

จันเทศกระวานกานพลูฯลฯมีต้นเตี้ยและต้องการร่มเงามากจึงปลูกเป็นพืชชั้นถัดลงมาได้และผักเหลียง

ผักหวานผักกูดฯลฯ เป็นพืชต้นเตี้ยที่ต้องการร่มเงาและความชื้นสูงจึงสามารถปลูกในระดับล่างสุดได้

4.6 ใช้ทรัพยากรอื่น ๆที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่าและรักษาสิ่งแวดล้อมได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับ

การปลูกพืชเชิงเดี่ยว เนื่องจากแต่ละกิจกรรมไม่ส่งผลกระทบในทางลบ แต่กระทบในทางบวกหรือเกื้อกูล

ซึ่งกันและกันในหลายมิติเช่น

4.6.1 ใช้แสงแดดและร่มเงาอย่างมีประสิทธิภาพ คือ หมาก มะพร้าว สะตอ เนียง

เป็นพืชที่ต้องการแสงแดดมากและมีลำต้นสูงจึงได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอและมีทรงพุ่มแคบมีใบน้อย

เงาะทุเรียน ฯลฯซึ่งปลูกร่วมกันจึงไม่มีปัญหาด้านแสงแดด ส่วนเงาะทุเรียนเนียงเป็นพืชที่มีทรงพุ่มหนา

มีใบและรม่เงามากก็จะให้รม่เงาแก่มงัคดุลองกองลางสาดจนัเทศกระวานกานพลูฯลฯและพชืเหลา่นี้ก็ให้

ร่มเงาแก่ผักเหลียงผักหวานผักกูดฯลฯ ซึ่งเป็นพืชที่ต้องการร่มเงา

4.6.2 ใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากพืชแต่ละชนิดมีระบบรากที่แตกต่างกันคือ

หมากมะพร้าว ระกำ ไผ่ผักกูดฯลฯมีระบบรากตื้นก็จะดูดน้ำไปใช้ได้ทันที ในขณะที่เนียง เงาะทุเรียน

มังคุดลองกองลางสาดจันเทศกระวานกานพลูผักหวานฯลฯมีระบบรากลึกจะดูดน้ำที่ซึมลงใต้ดินไป

ใช้โดยไม่ได้แย่งน้ำซึ่งกันและกันแต่การปลูกพืชในลักษณะนี้ยังช่วยลดการระเหยของน้ำทำให้ไม่ต้องให้น้ำ

แก่พืชที่ปลูก

4.6.3 ใช้ปุ๋ยอินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเมื่อใบไม้ร่วงหล่นและพื้นดินมี

ความชื้นมูลสัตว์ที่เลี้ยงแบบปล่อยทุ่งและจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในดินจะช่วยเร่งการย่อยสลายของใบไม้ให้กลาย

เป็นอินทรีย์วัตถุ (organicmatter)พืชนำไปใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้เกษตรกรนำมาใส่

4.6.4 ป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากแมลงแต่ละ

ชนิดจะกินอาหารแตกต่างกัน เช่น แมลงส่วนใหญ่ไม่ชอบกลิ่นมะมุดดังนั้น การปลูกเงาะ ทุเรียนมังคุด

ควบคู่กับมะมุดจึงมีแมลงศัตรูพืชรบกวนน้อย

4.6.5 ใช้ภูมิปัญญาและทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเปรียบเทียบกับ

การปลูกพืชเชิงเดี่ยวพืชการค้า เพราะมีการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและยั่งยืนนอกจากไม่ทำลาย

ความอุดมสมบูรณ์ทั้งดินน้ำอากาศและทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่แล้วยังทำให้ภูมิปัญญาได้รับการพัฒนา

ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และสิ่งแวดล้อมดีขึ้น

Page 32: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-32 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

4.6.6 ครอบครัวเกิดความอบอุ่น คือ ตนเอง ภรรยา ลูกและปู่ย่าตายาย อยู่และทำ

กิจกรรมการผลิต การแปรรูปและการจำหน่ายสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ร่วมกัน โดยไม่ต้องหารายได้

จากภายนอกชุมชน

5. ได้รับการคัดเลือกเป็นเกษตรกรดีเด่นสาขาไม้ผล เป็นประธานกลุ่มปรับปรุงคุณภาพมังคุด

เกษตรกรดีเดน่ระดบัจงัหวดัเปน็อาสาสมคัรเกษตร(อกษ.)อาสาสมคัรเกษตรหมูบ่า้น(อกม.)ผู้แทนเกษตรกร

ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และรองประธานสภาเกษตรกรจังหวัดชุมพรตามพระราชบัญญัติ

สภาเกษตรกรแห่งชาติพ.ศ.2553

6. ถ่ายทอดความรู้การปรับปรุงคุณภาพมังคุดแก่เกษตรกรทั้งภายในและภายนอกตำบล

7. จัดตั้งกลุ่มปรับปรุงคุณภาพมังคุดตำบลท่านมะพลาในปี2547และบริหารงานจนสมาชิกกลุ่ม

ปรับปรุงคุณภาพมังคุดตำบลท่ามะพลาทั้ง35คนได้รับการรับรองGAPและมีรายได้สูงจากการจำหน่าย

ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ รวมทั้งสามารถลดรายจ่าย เพิ่มรายได้และมีเงินออมเพิ่มขึ้น และกลุ่มจัดจำหน่าย

ผลผลติมงัคดุโดยการประมลูตามหลกัของปรชัญาเศรษฐกจิพอเพยีงขัน้ที่2พรอ้มทัง้มีการเชือ่มโยงเครอืขา่ย

ธรุกจิกบักลุม่อืน่ๆ เชน่กลุม่ปรบัปรงุคณุภาพมงัคดุกลุม่แม่บา้นเกษตรกรกลุม่การผลติปุย๋อนิทรยี์ทัง้ภายใน

และตำบลอื่นๆตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่3คือพัฒนากลุ่มปรับปรุงคุณภาพมังคุดเป็น

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มมังคุดศูนย์เรียนรู้การเกษตรท่ามะพลาในปี2553

การ บรหิาร งาน สง่ เสรมิ และ พฒันาการ เกษตร ระดบั ครวั เรอืน ของ สำนกังาน เกษตร อำเภอ หลงัสวนนางอุไรวรรณ รื่นฤทัยนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการสำนักงานเกษตรอำเภอหลังสวน

ผู้รับผิดชอบตำบลท่ามะพลา และผู้ที่เกี่ยวข้อง บริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรในกรณีข้างต้น

ดังนี้

1. สร้างความคุ้นเคยและการรวบรวมข้อมูลของชุมชนตำบลท่ามะพลา รวมถึงวิเคราะห์ปัญหา

ศักยภาพและความต้องการของเกษตรกรแบบมีส่วนร่วมตามหลักและวิธีการดำเนินงานโครงการปรับปรุง

ระบบแผนและพัฒนาเกษตรกร(คปพ.)ที่ได้กล่าวไว้ในหน่วยอื่นๆ แล้วพบว่าเกษตรกรยังขาดความรู้ความ

เข้าใจในการใช้เทคโนโลยีการเกษตรแผนใหม่ศักยภาพของพื้นที่และตนเองทำให้เกิดปัญหาเช่นขาดความ

มั่นคงทางอาหาร เกิดโรคแมลงระบาด การตลาดไม่แน่นอน ราคาไม้ผลตกต่ำ แต่ต้นทุนการผลิตสูง ทำให้

เกษตรกรมีหนี้สิน และเกษตรกรมีความต้องการที่จะแก้ไขปัญหา แต่ขาดเทคโนโลยีและระบบการบริหาร

จัดการที่เหมาะสม

2. สนับสนุนให้เกษตรกรได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาโดยจัดการประชุมสัมมนาศึกษาดูงานและจัดทำ

โครงการนำร่องการฟื้นฟูการทำการเกษตรแบบผสมผสาน และการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับ

ภูมิสังคมของตำบลท่ามะพลา

Page 33: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-33การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้นายสมพงษ์จินาบุญซึ่งเป็นเกษตรกรที่หัวไวใจสู้และมีจิตอาสาจัดทำ

โครงการนำร่องการปรับปรุงคุณภาพมังคุดเพื่อการส่งออก เพื่อวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมโดย

ให้การสนับสนุนทั้งด้านการวางแผนฟาร์มและการบริหารจัดการฟาร์ม รวมทั้งระเบียบและวิจัยในลักษณะ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ(actionresearch)

4. นำเทคโนโลยีที่ได้จากการวิจัยเชิงปฏิบัติการข้างต้น รวมทั้งกระบวนการบริหารจัดการฟาร์ม

และการบริหารจัดการกลุ่มถ่ายทอดให้เกษตรกรที่มีปัญหาศักยภาพและความต้องการที่จะแก้ไขปัญหาและ

รวมกลุ่มเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน

5. สนับสนุนงบประมาณ เครื่องมือและอุปกรณ์ รวมถึงเทคนิคการทำงานที่พึ่งพาทรัพยากร

ท้องถิ่นและแรงงานในครอบครัวอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

ปัจจัย ที่ ส่ง ผล ต่อ ความ สำเร็จจากการวิเคราะห์ความสำเร็จโดยพิจารณาปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกครัวเรือน สามารถ

สรุปปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของนายสมพงษ์ จินาบุญได้ดังนี้

1. ปัจจัย ภายใน ครัว เรือน เกษตรกร

1.1 ความเชือ่มัน่และศรทัธาตอ่ภาคเกษตรและหลกัของปรชัญาเศรษฐกจิพอเพยีงโดยเฉพาะ

หลักการพึ่งพาตนเองพึ่งพาซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นการพึ่งพาสมาชิกในครอบครัวและชุมชน รวมทั้ง

การพึ่งพาซึ่งกันและกันของสิ่งมีชีวิตอื่นๆเช่นพืชสัตว์และจุลินทรีย์

1.2 ความเข้าใจคำว่า “บูรณาการ” คือ ไม่ยึดเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นสรณะ แต่รู้จักเลือก

บางเรื่องบางสิ่งบางอย่างที่เหมาะสมมาใช้ และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ ซึ่งไม่มีสูตรสำเร็จ

แต่ยึดการบูรณาการทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อขับเคลื่อนสิ่งต่าง ๆ ให้สอดคล้องและรองรับกับสภาพแวดล้อมที่

เปลี่ยนแปลง

1.3 การเคารพภูมิปัญญาการค้นคว้าและศรัทธาผู้อื่นโดยถือว่าภูมิปัญญาเกิดจากการเรียนรู้

ร่วมกันอย่างต่อเนื่องไม่ใช่เชื่อมั่นตนเองจนไม่ยอมรับขีดความสามารถหรือศักยภาพของผู้อื่น

1.4 การเคารพต่อระบบนิเวศ รู้คุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และบริหาร

จัดการทรัพยากรบนพื้นฐานการใช้ที่ชาญฉลาดและสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืน

1.5 การเรียนรู้และพัฒนาภูมิปัญญาของตนเองและครอบครัวให้ทันต่อสถานการณ์ตลอด

เวลา

1.6 การใช้ภูมิปัญญาและทรัพยากรท้องถิ่นและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เหมาะสมสอดคล้องกับ

การเปลี่ยนแปลง

1.7 การขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทนและอดออม โดยยึดทำการเกษตรเพื่อความพออยู่

พอกินพอใช้ ลดสารพิษที่เป็นอันตราย และลดรายจ่ายภายในครัวเรือน แล้วค่อยขยายโอกาสโดยการ

รวมกลุ่มและเครือข่าย

1.8 การมีจิตใจที่เอื้ออาทรแบ่งปันสร้างสรรค์และคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก

Page 34: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-34 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

2. ปัจจัย ภายนอก ครัว เรือน

2.1 การบรหิารงานสง่เสรมิและพฒันาการเกษตรของนกัวชิาการสง่เสรมิการเกษตรผูร้บัผดิชอบ

ตำบลท่ามะพลา และบุคลากรสำนักงานเกษตรอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร และสำนักงานเกษตรจังหวัด

ชุมพรที่เข้าใจและปฏิบัติตามแนวคิดทิศทางนโยบายและระบบการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่มุ่งเน้น

การพัฒนาที่ยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2.2 องค์การบริหารส่วนตำบลและผู้นำชุมชนตำบลท่ามะพลา รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและ

เอกชนมีความเข้าใจ เชื่อมั่นและศรัทธาต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แนวคิด ทิศทางนโยบาย

และระบบการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่มุ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน

2.3 ขนบธรรมเนียมประเพณีและวิถีชุมชนที่ยังมีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

สรุป เกษตรกรและครัวเรือนเกษตรเป็นฐานรากของสังคมการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการ

เกษตรให้เกิดความยั่งยืน จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ครัวเรือนเกษตรกรน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจ

พอเพียงขั้นที่1มาปฏิบัติให้สอดคล้องกับปัญหาและศักยภาพของเกษตรกรแต่ละครัวเรือนเพื่อให้สมาชิก

ในครอบครัว มีความเป็นอยู่แบบพึ่งตนเองได้ สามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานมีการช่วยเหลือ

เกื้อกูลกันและกันมีความสามัคคีและมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขทั้งกายและใจ

เรื่อง ที่ 15.2.2 กรณี ตัวอย่าง การบริหารงาน ส่ง เสริม และ พัฒนา

การ เกษตร ระดับ กลุ่ม

กลุ่มหรือการรวมตัวของผู้ที่ต้องการแก้ไขปัญหาโดยการพึ่งพาซึ่งกันและกัน และการบริหารงาน

ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครัวเรือนเกษตรกรน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจ

พอเพียงขั้นที่2ซึ่งเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าที่เน้นความพอเพียงระดับกลุ่มหรือองค์กรคือเมื่อ

บุคคล/ครอบครัวมีความพอเพียงในขั้นที่1แล้วก็จะรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์เพื่อร่วมกันดำเนิน

งานในด้านต่าง ๆ โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาปฏิบัติ จะทำให้กลุ่มสามารถช่วยให้

สมาชิก ซึ่งได้แก่ ครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็ง และการวิเคราะห์กรณีตัวอย่างกลุ่มที่ประสบความสำเร็จ

ในการรวมกลุ่ม จะช่วยให้นักศึกษาเข้าใจและสามารถนำแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องไปปรับใช้อย่างมี

ประสิทธิภาพ เรื่องนี้ จึงขอนำเสนอกรณีของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดาหลา ตำบลท้ายหาด

อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งประสบความสำเร็จในการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นที่ 2

มาใช้ตามรายละเอียดต่อไปนี้

Page 35: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-35การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

ข้อมูล พื้น ฐาน และ การ ดำเนิน งาน ตาม ปรัชญา ของ เศรษฐกิจ พอ เพียง ขั้นที่ 2 ของ กลุ่ม วิสาหกิจ

ชุมชน กลุ่ม แม่ บ้าน เกษตรกร ดา หลา ตำบลท้ายหาด อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นตำบลที่มีสภาพทางด้านกายภาพ ชีวภาพ

เศรษฐกิจสังคมการเมืองการปกครองเช่นเดียวกับตำบลทั่วไปในภาคกลางของไทยคือสภาพพื้นที่ที่เป็น

ที่ลุ่ม ดินและน้ำมีความอุดมสมบูรณ์สูง เพราะมีแม่น้ำแม่กลอง ลำคลองและร่องน้ำในสวนเชื่อมต่อถึงกัน

สาธารณูปโภคเพียงพอต่อการพัฒนาสินค้าและอาชีพ รายได้หลักมาจากภาคเกษตรประชากรส่วนใหญ่ทำ

เกษตรผสมผสานคอืปลกูมะพรา้วเปน็พชืหลกัปลกูไม้ผลเชน่ลิน้จี่สม้โอกลว้ยนำ้วา้และพชืผกัเปน็พชืแซม

ผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์เช่นเป็ดไก่สุกรฯลฯเลี้ยงปลาในร่องสวนและจับสัตว์น้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติ

เพื่อการบริโภคแบ่งปันและจำหน่ายในส่วนที่เหลือส่วนรายได้รองมาจากอุตสาหกรรมในครัวเรือนเช่นทำ

น้ำตาลมะพร้าวและแปรรูปสินค้าเกษตรรวมทั้งการให้บริการด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและhomestay

ประชากรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรและมีแม่บ้านเกษตรกรที่เป็นผู้สูงอายุอยู่เป็นจำนวนมากสังคมส่วนใหญ่

ยังคงยึดถือระบบอาวุโสยังรักษาขนบธรรมเนียมท้องถิ่นมีการเอื้อเฟื้อเกื้อกูลช่วยเหลือซึ่งกันและกันและ

มีการรวมกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มสนใจกลุ่มเรียนรู้กลุ่มกิจกรรมหรือกลุ่มอาชีพที่หลากหลายเช่นกลุ่มแม่บ้าน

เกษตรกรแสงตะวัน ซึ่งมีกิจกรรมหลัก ได้แก่ การแปรรูปเห็ด การผลิตแชมพูและสบู่เหลวสมุนไพร และ

ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวการทำดอกไม้จันกลุ่มผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์กลุ่มผู้ปลูกไม้ดอกไม้ประดับกลุ่มผู้ผลิตน้ำตาล

มะพรา้วฯลฯครวัเรอืนเกษตรกรส่วนใหญ่พึ่งพาตนเองชว่ยเหลือเกือ้กลูกันและกันความสามัคคีและมีความ

พอเพียงในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขทั้งกายและใจตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่1

แม้ว่าเกษตรกรตำบลดาหลาสามารถที่จะพึ่งพาตนเองและตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานแต่

แม่บ้านเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ มีเวลาว่างมาก แต่บุตรหลานมีเวลาที่จะดูแลผู้สูงอายุน้อยทำให้

ผู้สูงอายุขาดความอบอุ่น นางมยุรีบุญประดิษฐ์และสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตำบลท้ายหาดจึงปรึกษา

หารือกับนางวรรณาศรีสารากรนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร

ประจำตำบลท้ายหาดและมีความเห็นร่วมกันว่า นอกจากแม่บ้านเกษตรกรจะมีเวลาว่างมากแล้ว ผลผลิต

กล้วยที่ผลิตได้ภายในตำบลล้นตลาดก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข แม้ว่าแม่บ้านเกษตรกร

ส่วนใหญ่จะมีความรู้และประสบการณ์ด้านการแปรรูปสินค้าเกษตรสูง แต่ยังไม่มีการนำศักยภาพที่มีมาใช้

แก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตและถ้าหากมีการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ขั้นที่ 2 โดยจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนก็จะสามารถแก้ไขปัญหาทั้งสองประการได้ จึงขอจดทะเบียน

จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดาหลาขึ้นเมื่อวันที่ 15 เมษายนพ.ศ. 2546 โดยนางมยุรี

บุญประดิษฐ์ เป็นประธานมีสมาชิก จำนวน18คนและมีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อให้แม่บ้านเกษตรกร

ในชุมชนจัดทำกิจกรรมเพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองครอบครัวและชุมชนและหลังการจัดตั้ง

วิสาหกิจชุมชนคณะกรรมการสมาชิกกลุ่มและผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดทำกิจกรรมต่างๆดังนี้

1. คณะกรรมการกลุ่ม ประชุมเพื่อพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น วางแผน รายงานผล

และประเมินผลการดำเนินงานของกลุ่มเป็นประจำทุกวันที่12ของเดือน

Page 36: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-36 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

2. สมาชิกกลุ่มพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดูงานและเข้ารับการฝึกอบรมในสาขาที่เกี่ยวข้อง

รวมทั้งร่วมกันแปรรูปกล้วยที่ผลิตได้ภายในตำบล เช่นกล้วยหอมทองกล้วยน้ำว้ากล้วยหักมุกเป็นต้น

3. พัฒนาสูตรการผลิตพัฒนาบรรจุภัณฑ์และสร้างตราสินค้าของตนเอง(branding)คือกล้วย

เบรกแตก ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสะอาดปลอดภัยรสชาติดีกรอบอร่อย

4. พฒันาระบบการจดัจำหนา่ยทัง้ขายปลกีและขายสง่รวมทัง้ออกรา้นจำหนา่ยในงานเทศกาลตา่งๆ

ทำให้ผลผลิตกล้วยไม่เพียงพอต่อการแปรรูป

5. เชื่อมโยงเครือข่ายในการจัดหาวัตถุดิบโดยเฉพาะกล้วยกับแหล่งวัตถุดิบหลักเช่นจังหวัดชุมพร

6. เข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณี และกิจกรรมการบำเพ็ญสาธารณกุศลต่าง ๆ เช่น ทำอาหารไป

ร่วมในงานอาทิงานสงกรานต์ที่วัดท้ายหาดงานบุญแห่เทียนพรรษาร่วมถวายปัจจัยในงานวันลอยกระทง

ร่วมทำกระทงขายเพื่อหาเงินเข้าวัดร่วมจัดงานประจำปีจัดงานวันที่5ธันวาคมของทุกปีเป็นต้น

7. ถ่ายทอดภูมิปัญญาและความรู้สู่เด็กเยาวชนนิสิตนักศึกษาข้าราชการและเกษตรกรทั่วไป

ผล สำเร็จ ใน การ ดำเนิน งาน ตาม ปรัชญา เศรษฐกิจ พอ เพียง ของ กลุ่ม วิสาหกิจชุมชน กลุ่ม แม่ บ้าน

เกษตรกร ดา หลากลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดาหลาประสบความสำเร็จในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ

ดังนี้

1. แม่บ้านเกษตรกรสนใจสมัครเข้าเป็นสมาชิกจนถึงปัจจุบัน(ปี2555)รวมทั้งสิ้น25คน

2. ลดปัญหาของผู้สูงอายุเช่นการถูกทอดทิ้งความเหงาความรู้สึกไร้ค่าเป็นต้น

3. ลดปัญหาของชุมชนเช่นลดภาระที่เกิดจากผู้สูงอายุเป็นต้น

4. เพิ่มมูลค่าและแก้ปัญหากล้วยล้นตลาด

5. เกิดมีต้นแบบและศูนย์เรียนรู้ด้านการบริหารจัดการกลุ่มและการแปรรูปกล้วยสำหรับนำไปปรับ

ใช้ในการขยายผล

6. สมาชิกแต่ละรายมีรายได้จากค่าแรงตามกิจกรรมที่ทำ เช่น รายได้จากการทอดกล้วย 300

บาท/วัน รายได้จากการปอกกล้วย 200 บาท/วัน ทำให้มีรายได้เพิ่มเฉลี่ย 3,500-4,500 บาท/คน/เดือน

ซึ่งเพียงพอต่อการดำรงชีพและเหลือเป็นเงินออม

การ บริหาร งาน ส่ง เสริม และ พัฒนาการ เกษตร ระดับ กลุ่ม ของ สำนักงาน เกษตร อำเภอ เมือง นางวรรณา ศรีสารากร นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอเมือง

ผู้รับผิดชอบตำบลท้ายหาดและผู้ที่เกี่ยวข้องบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรในกรณีข้างต้นดังนี้

1. สร้างความคุ้นเคยและรวบรวมข้อมูลของชุมชนตำบลท้ายหาดรวมถึงวิเคราะห์ปัญหาศักยภาพ

และความต้องการของเกษตรกรแบบมีส่วนร่วม ตามหลักและวิธีการดำเนินงานโครงการปรับปรุงระบบ

แผนและพัฒนาเกษตรกร (คปพ.) ที่ได้กล่าวไว้ในหน่วยอื่น ๆ แล้ว พบว่าตำบลท้ายหาด มีปัญหาและ

ศักยภาพในหลายด้าน เช่น ผลผลิตกล้วยล้นตลาด ของฝากจากภาคเกษตรที่นักท่องเที่ยวพึงพอใจ

Page 37: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-37การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

ขาดความหลากหลายและแม่บ้านเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่บุตรหลานมีเวลาดูแลน้อยแต่มีความรู้

และประสบการณ์ด้านการแปรรูปสินค้าเกษตรสูงและมีเวลาว่างมาก และเนื่องจากด้านกายภาพของตำบล

ท้ายหาดมีความอุดมสมบูรณ์ทั้งด้านดินและน้ำ รวมทั้งเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีการเกษตรแผนใหม่

ในการทำการเกษตร จึงมีผลิตผลทางการเกษตรสูง นอกจากนั้น ตำบลท้ายหาดยังเป็นชุมชนที่มีศักยภาพ

ด้านการท่องเที่ยวสูง เช่น มีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย อยู่ใกล้กรุงเทพมหานคร การคมนาคมสะดวก

มีการท่องเที่ยวตลอดปี และนักท่องเที่ยวต้องการของฝากเป็นจำนวนมากประกอบกับครัวเรือนเกษตรกร

ตำบลท้ายหาดส่วนใหญ่สามารถพึ่งพาตนเองตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่ 1 และมีการรวมกลุ่ม

อยู่บ้างแล้วอีกทั้งได้พบว่า นางมยุรีบุญประดิษฐ์เป็นแม่บ้านเกษตรกรที่มีความพร้อมที่จะเป็นผู้นำในการ

พัฒนาและองค์การบริหารส่วนตำบลท้ายหาดให้ความสนใจในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาภาคเกษตร

2. เสนอผลการวิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพให้ผู้เกี่ยวข้องได้ร่วมกันวิเคราะห์และวางแผนการ

แก้ไขปัญหาโดยพบปะปรึกษาหารือกับคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร

ประจำตำบลท้ายหาดและคณะกรรมการองค์การบริหารส่วนตำบลท้ายหาดนางมยุรีบุญประดิษฐ์ และผู้ที่มี

ความสนใจที่จะแก้ไขปัญหาของแม่บ้านเกษตรกรและปัญหาผลผลิตกล้วยล้นตลาดพร้อมทั้งจัดเวทีสนทนา

กลุ่มย่อย และเวทีประชาคมทำให้ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญของปัญหา และเชื่อมั่นว่าถ้าแม่บ้านเกษตรกร

รวมตัวกันเป็นวิสาหกิจชุมชนและน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่2มาปฏิบัติก็จะสามารถแก้ไข

ปัญหาทั้งสองประการได้

3. ร่วมกับคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล

ท้ายหาดคณะกรรมการองค์การบริหารส่วนตำบลท้ายหาดสนับสนุนให้แม่บ้านเกษตรกรจดทะเบียนจัดตั้ง

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดาหลาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวพร้อมทั้งร่วมกันสนับสนุนให้วิสาหกิจ

ชมุชนกลุม่แม่บา้นเกษตรกรดาหลาวางแผนการดำเนนิงานและดำเนนิการในดา้นตา่งๆ เชน่แลกเปลีย่นเรยีนรู้

ดูงานฝึกอบรมรวมถึงให้การสนับสนุนอุปกรณ์การแปรรูปการบรรจุหีบห่อการจัดจำหน่ายเป็นต้น

ปัจจัย ที่ ส่ง ผล ต่อ ความ สำเร็จ วิสาหกิจ ชุมชน กลุ่ม แม่ บ้าน เกษตรกร ดา หลา ความสำเร็จวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดาหลา มาจากทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก

ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดาหลาได้แก่

1. ปัจจัย ภายใน

1.1 ความเชื่อมั่นและศรัทธาต่อภาคเกษตรและหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความ

เขา้ใจคำวา่“บรูณาการ”การเคารพภมูปิญัญาการคน้ควา้และศรทัธาผู้อืน่การเคารพตอ่ระบบการเรยีนรู้และ

พัฒนาภูมิปัญญาของตนเองและครอบครัวการใช้ภูมิปัญญาและทรัพยากรท้องถิ่นและเทคโนโลยีสมัยใหม่

ความขยันประหยัดซื่อสัตย์อดทนและอดออมและการมีจิตใจที่เอื้ออาทรแบ่งปันสร้างสรรค์และคำนึงถึง

ประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก เช่นเดียวกับกรณีตัวอย่างการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรระดับ

ครัวเรือน

Page 38: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-38 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

1.2 การบริหารจัดการกลุ่มที่มีประสิทธิภาพเช่น

1) กำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อให้แม่บ้านเกษตรกรในชุมชนซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ

ได้พบปะ พูดคุย และจัดทำกิจกรรมเพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัวและชุมชน

สอดคลอ้งกบัปญัหาศกัยภาพและความตอ้งการของสมาชกิรวมทัง้สมาชกิมีสว่นรว่มและรบัรู้ถงึวตัถปุระสงค์

ร่วมกัน

2)สมาชิกอยู่ในชุมชนเดียวกัน จึงรู้จัก คุ้นเคย และมีปัญหา ศักยภาพและความ

ต้องการและมีพื้นฐานด้านต่างๆใกล้เคียงกันเช่นวัยวุฒิคุณวุฒิ ประสบการณ์อาชีพฯลฯ

3)จำนวนสมาชิก 18-25คนเหมาะสมกับวัตถุประสงค์และกิจกรรมของกลุ่ม

4)ผู้นำ คือ นางมยุรี บุญประดิษฐ์ ประธานกลุ่ม เป็นผู้มีความพร้อมในหลายด้าน

เช่นด้านความรู้และประสบการณ์ทั้งด้านการผลิตการตลาดและการบริหารจัดการ (สำเร็จการศึกษาระดับ

ปริญญาตรี) มีวิสัยทัศน์ มีฐานะทางเศรษฐกิจดี มีสถานที่และมีจิตใจโอบอ้อมอารี ซื่อสัตย์เสียสละทำให้

สามารถที่จะช่วยเหลือสมาชิกโดยไม่กระทบกับความเป็นอยู่ของครอบครัว และมีจิตอาสาที่จะทำงานเพื่อ

การพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอีกทั้งยังมีสถานะทางสังคมที่ดี เช่น เป็นสมาชิก

กลุ่มสตรีระดับอำเภอ เป็นเหรัญญิกกลุ่มเงินทุนหมู่บ้าน และเป็นคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอด

เทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลท้ายหาดทำให้ได้รับความเชื่อถือศรัทธาและสามารถเชื่อมโยงเครือข่าย

ได้ทั้งภายในและภายนอกชุมชน

5) คณะกรรมการและที่ปรกึษากลุม่มีความพรอ้มซือ่สตัย์เสยีสละมีสว่นรว่มมีความ

ยุติธรรมและปฏิบัติตามกฎกติการะเบียบข้อตกลงและแผนการดำเนินงานของกลุ่มอย่างเคร่งครัดและมี

โครงสร้างของกลุ่มที่สอดคล้องกับโครงสร้างทางสังคมและแผนธุรกิจของกลุ่ม และมีการแบ่งงานที่ชัดเจน

คือ แบ่งเป็น 4 ฝ่ายหลัก คือ ฝ่าย บริหาร โดยประธานกลุ่มเป็นผู้รับผิดชอบด้านการจัดการในภาพรวม

ของกลุ่มรวมถึงด้านการตลาดการส่งสินค้าการติดต่อประสานงานการจัดหาตลาดการรับคำสั่งซื้อสินค้า

ฝ่าย การ เงิน มีเหรัญญิกเป็นผู้รับผิดชอบด้านบัญชีรายรับ/รายจ่าย และด้านเงินออมของกลุ่มฝ่าย การ ผลิต

และ ฝ่าย บรรจุ ภัณฑ์ มีคณะกรรมการรับผิดชอบในการควบคุมการผลิตและบรรจุภัณฑ์โดยเฉพาะ

ฝ่าย ประชาสัมพันธ์ มีกรรมการรับผิดชอบในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกกลุ่ม โดย

มีฝ่ายเลขานุการรับผิดชอบด้านงานธุรการและการประสานงานภายในกลุ่ม และมีที่ปรึกษาด้านการผลิต

ด้านบรรจุภัณฑ์และด้านการตลาดเพิ่มเติมจากโครงสร้างมาตรฐาน ซึ่งประกอบด้วยประธาน รองประธาน

เลขานุการเหรัญญิกและประชาสัมพันธ์

6) กิจกรรมของกลุ่มสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การ

จัดกิจกรรมพูดคุย ปรึกษาหารือ พบปะระหว่างสมาชิก การร่วมงานประเพณี และบำเพ็ญสาธารณกุศล

เป็นประจำ ทำให้เกิดกิจกรรมการแปรรูปกล้วยโดยอาศัยการผสมผสานระหว่างภูมิปัญญาท้องถิ่นกับ

เทคโนโลยีสมยัใหม่ทัง้ดา้นการแปรรปูการบรรจุหบีหอ่การเผยแพร่ประชาสมัพนัธ์การสือ่สารและการบรหิาร

จัดการอื่นๆเป็นกิจกรรมที่มีเหตุผลสอดคล้องกับปัญหาศักยภาพและความต้องการของสมาชิกและชุมชน

เพราะใช้แรงงานผู้สูงอายุซึ่งมีเวลาว่างมากพึ่งพาทรัพยากรโดยเฉพาะกล้วยซึ่งล้นตลาด และอาศัยตลาด

Page 39: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-39การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

ภายในซึ่งมีปัญหาการขาดผลิตภัณฑ์ชุมชนที่จะจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว ทำหรือดำเนินการในปริมาณที่

เหมาะสมกับทรัพยากรภายในแม้ว่าลูกค้าจะสั่งซื้อเกินกำลังการผลิตก็ไม่ขยายปริมาณการผลิตโดยพึ่งพา

ภายนอกเชน่วตัถดุบิแรงงานหรอืเพิม่วตัถดุบิในทอ้งถิน่โดยใช้เทคโนโลยีที่ทำลายสิง่แวดลอ้มนอกจากนัน้

ยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และพัฒนาคนรุ่นใหม่ไว้ทดแทน ทำให้มีความเสี่ยงต่ำและมี

ภูมิต้านทานสูง จึงสามารถแก้ปัญหาและพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป

7) กฎกติกา เหมาะสมชัดเจนปฏิบัติได้ เพราะกฎกติกาและระเบียบกลุ่มมาจาก

ปัญหาการปรึกษาหารือและกำหนดแนวทางปฏิบัติร่วมกันระหว่างสมาชิกเช่นสมาชิกต้องปฏิบัติหน้าที่เวลา

9.00น.จนกว่างานจะเสร็จเรียบร้อย สมาชิกต้องช่วยกันทำความสะอาดหลังจากทำกิจกรรมเสร็จเรียบร้อย

แล้วสมาชิกต้องแบ่งปันและช่วยเหลือซึ่งกันและกันรวมทั้งทำงานทดแทนกันและสิ่งที่สำคัญคือสมาชิกใน

กลุ่มต้องรักษาความสะอาดและรักษาสุขภาพทั้งนี้จะต้องได้รับการตรวจร่างกายเป็นประจำ

8) การบริหารจดัการชดัเจนเปน็ระบบและได้รบัการปฏิบัติอย่างตอ่เนือ่งเชน่ ผลิตตาม

คำสั่งซื้อและปริมาณวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนในแต่ละช่วงสมาชิกทุกคนต้องมาร่วมปฏิบัติงานอย่างน้อย16

วัน/คน/เดือนโดยหมุนเวียนสมาชิกมาปฏิบัติงานแรงงานประมาณ15คน/วัน ไม่ใช้วิธีการตั้งราคาตามราคา

ตลาดแต่คำนวณจากต้นทุนทั้งหมดเช่นวัตถุดิบแรงงานบรรจุภัณฑ์เฉลี่ยตามน้ำหนักผลิตภัณฑ์มีการนำ

คนรุ่นใหม่มาร่วมปฏิบัติงานในกิจกรรมที่ผู้สูงอายุทำไม่ได้ เช่นการทำWebsiteการออกแบบบรรจุภัณฑ์

การรบัและจดัหาคำสัง่ซือ้การตลาดการประชาสมัพนัธ์ซึง่นอกจากจะทำให้เกดิงานแลว้ยงัเปน็การเตรยีมการ

ที่จะสานต่อกิจการในอนาคต มีการกำหนดตลาดและกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย การวางตำแหน่งสินค้า และ

จุดขายที่เหมาะสม เช่น ใช้คุณภาพทั้งด้านความปลอดภัย รสชาติกลิ่นสีบรรจุภัณฑ์ซึ่งได้รับการรับรอง

มาตรฐานสินค้า OTOP ห้าดาว 2 ปีซ้อน และได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) จาก

กรมการพัฒนาชุมชน ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานอาหารและยา (อย.) เป็นจุดขายและใช้

การสร้างความประทับใจให้ลูกค้าบอกต่อเป็นกลยุทธ์หลักมีการปรับปรุงความรู้ที่มีอยู่ประยุกต์กับความรู้

ที่ได้มาจากการเรียนรู้จากภายนอกนำสิ่งที่ทำมาปรับใช้ในการทำงานเพื่อทุ่นแรงและสร้างความปลอดภัยแก่

ผู้ผลิต เช่น การพัฒนาเครื่องมือปอกกล้วยจากไม้ไผ่ มีการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้จากการผลิต เช่น

ทำปุ๋ยจากเปลือกกล้วยใช้ปี๊บน้ำมันพืชที่เหลือใช้เป็นเครื่องมือตักขยะแทนที่จะซื้อหาจากภายนอกมีการวิจัย

และพัฒนาสูตรการผลิตและบรรจุภัณฑ์มีการจ่ายค่าแรงงานให้กับสมาชิกที่มาร่วมปฏิบัติงานฯลฯ

9) กองทนุหรอืเงนิทนุและทรพัยส์นิที่สอดคลอ้งกบักจิการของกลุม่เชน่มีการระดมหุน้

จำนวน 100 หุ้น หุ้นละ 100 บาท ซึ่งจะใช้ในการลงทุนครั้งแรก เมื่อมีกำไรจะเก็บเป็นกองกลางสำหรับ

ดำเนินกิจการและขยายกิจการ โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับเงินโบนัสของคณะกรรมการและการเพิ่มรายได้

ให้แก่กลุ่มแต่ให้ความสำคัญกับการให้ผลประโยชน์แก่สมาชิกทั้งในมิติของค่าแรงงานและการปันผลและ

การช่วยเหลือชุมชนซึ่งเมื่อนับถึงปี 2555มีเงินสดเพียง 20,000บาทมีเงินออมเพียง 80,000บาท และ

สินทรัพย์มูลค่าประมาณ500,000บาทแต่สมาชิกแต่ละคนได้รับเงินปันผลสูงถึงร้อยละ20ต่อปีและมีราย

ได้จากการปฏิบัติงานเฉลี่ยประมาณ3,500–4,500บาท/คน/เดือน

Page 40: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-40 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

2. ปัจจัย ภายนอก กลุ่ม

2.1 นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบตำบลท้ายหาดและบุคลากรสำนักงานเกษตร

อำเภอเมือง และสำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม หน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้งบุคลากรของ

องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น(อปท.)และผู้นำชุมชนเข้าใจและปฏิบัติตามแนวคิดทิศทางนโยบายและระบบ

การส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่มุ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่2

คือการรวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

2.2 หนว่ยงานภาครฐัและเอกชนรวมทัง้บคุลากรขององคก์ารบรหิารสว่นทอ้งถิน่(อปท.)และ

ผูน้ำชมุชนใหก้ารสนบัสนนุแผนธรุกจิกลุม่อยา่งเหมาะสมเชน่การศกึษานอกโรงเรยีน(กศน.)ถา่ยทอดความรู้

เรื่องการแปรรูปกล้วยเบื้องต้นองค์การบริหารส่วนตำบลท้ายหาดสนับสนุนอุปกรณ์การผลิต2ปีมูลค่าปีละ

25,000บาทจงัหวดัสมทุรสงครามสนบัสนนุคา่ใช้จา่ยในการสรา้งอาคารและหอ้งบรรจุภณัฑ์มลูคา่58,000บาท

และสนับสนุนงบประมาณค่าบรรจุภัณฑ์ตามโครงการ SML สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองและสำนักงาน

เกษตรจังหวัดสมุทรสงครามส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มและบริหารจัดการกลุ่มและกรมส่งเสริมการเกษตร

สนับสนุนเครื่องซีลแผ่นไวนิลสำหรับโฆษณาประชาสัมพันธ์สื่อการสอนเป็นต้น

2.3 มีการเชื่อมโยงเครือข่ายกับกลุ่มและชุมชน เช่น กลุ่มเครือข่ายผู้ปลูกกล้วยหอมทองใน

จังหวัดอื่นๆเช่นเพชรบุรีชุมพรสมุทรสาครเครือข่ายกลุ่มท่องเที่ยวเชิงเกษตรและhomestayภายใน

จังหวัดสมุทรสงครามรวมทั้งเชื่อมโยงธุรกิจกับห้างสรรพสินค้าฯลฯ

สรุปการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่1มาปฏิบัติช่วยให้เกษตรกรมีความเข้มแข็ง

ในระดับพื้นฐาน แต่หากการเปลี่ยนแปลงมีความรุนแรงและสลับซับซ้อน เกษตรกรแต่ละครัวเรือนจะไม่

สามารถปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงดังนั้น เกษตรกรหรือครัวเรือนที่มีความพอเพียงในขั้นที่ 1แล้ว

รวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์เพื่อร่วมกันดำเนินงานในด้านต่างๆ โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน

ที่เกี่ยวข้องตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นที่ 2และการส่งเสริมและสนับสนุนให้ครัวเรือนเกษตรกร

น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นที่2มาปฏิบัติซึ่งจะต้องสอดคล้องกับปัญหาศักยภาพของพื้นที่

และเกษตรกรนอกจากนั้นจะต้องบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรแบบบูรณาการโดยการมีส่วนร่วม

ที่ยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง

Page 41: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-41การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

เรื่อง ที่ 15.2.3 กรณี ตัวอย่าง การ บริหารงานส่ง เสริม และ

พัฒนาการ เกษตร ระดับ ชุมชน

การส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรระดับครัวเรือนและระดับกลุ่มไม่สามารถที่จะพึ่งพาตนเองหรือ

ปรับตัวได้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนแต่การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่3 ซึ่ง

เปน็เศรษฐกจิพอเพยีงแบบกา้วหนา้ที่เนน้ความพอเพยีงระดบัเครอืขา่ยคอืเมือ่กลุม่หรอืงค์กรมีความพอเพยีง

ในขั้นที่ 2 แล้ว ก็ร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกเพื่อสร้างเครือข่ายเพื่อขยายกิจกรรมอย่างหลากหลายและ

พัฒนาคุณภาพชีวิตให้สมประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่าย จะช่วยให้เกษตรกรสามารถแก้ไขปัญหาหรือปรับตัว

ได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างยั่งยืน และการวิเคราะห์กรณีตัวอย่างการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนา

การเกษตรระดับชุมชนหรือตำบลที่ประสบความสำเร็จ จะช่วยให้นักศึกษาเข้าใจและสามารถนำแนวคิดและ

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องไปปรับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เรื่องนี้จึงขอนำกรณีของตำบลกุดหมากไฟ อำเภอหนองวัวซอ

จังหวัดอุดรธานีที่นายสำเนียงกรมธรรมานักวิชาการส่งเสริมการเกษตร เป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร

ประจำตำบลกุดหมากไฟ ซึ่งได้รับรางวัลเกษตรตำบลดีเด่นระดับประเทศประจำปี 2555มาให้นักศึกษา

วิเคราะห์ ตามรายละเอียดต่อไปนี้

ข้อมูล พื้น ฐาน และ การ ดำเนิน งาน ตาม ปรัชญา เศรษฐกิจ พอ เพียง ขั้น ที่ 3 ของ ตำบล กุด หมาก ไฟตำบลกุดหมากไฟมีพื้นที่ทั้งหมด 68,108 ไร่ เป็นพื้นที่การเกษตร 23,939 ไร่ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่

อยู่นอกเขตชลประทาน มีครัวเรือนเกษตรกร 1,218 ครัวเรือน เกษตรกรส่วนใหญ่ทำการเกษตรโดยการ

ปลูกข้าวเป็นพืชหลักปลูกผักปลูกมะม่วงและเลี้ยงสัตว์ในลักษณะหัวไร่ปลายนาหรือสวนหลังบ้านเพื่อการ

บริโภคในครัวเรือนแลกเปลี่ยนแบ่งปันหรือซื้อขายภายในชุมชนเป็นหลักมาตั้งแต่สมัยโบราณแต่เมื่อระบบ

เศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปเกษตรกรก็หันมาทำการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีการเกษตรแผนใหม่โดยปลูกพืชไร ่

ได้แก่ มันสำปะหลัง และมะม่วงที่ตลาดต้องการ อาทิ มะม่วงเขียวเสวยน้ำดอกไม้และฟ้าลั่นเพื่อการค้า

แต่ประสบปัญหาราคาตกต่ำนายสำเนียงกรมธรรมาเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลจึงได้ร่วมกับ

คณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลกุดหมากไฟ อาสาสมัครเกษตร

หมู่บ้าน (อกม.) อาสาสมัครเกษตร (อกษ.) สาขาต่าง ๆ รวมทั้งผู้นำกลุ่มต่าง ๆ ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา

ศักยภาพและความต้องการของเกษตรกรและพบว่าการปลูกพืชเพื่อการค้าแทนการผลิตเพื่อบริโภคเป็นหลัก

นอกจากจะทำให้ผลิตอาหารเพื่อการบริโภคลดลงและต้องซื้อหาอาหารจากภายนอกชุมชนเพิ่มขึ้นแล้ว ยังต้อง

ซื้อหาเมล็ดพันธุ์ข้าวและท่อนพันธุ์มันสำปะหลังรวมทั้งปุ๋ยเคมีและสารเคมีราคาสูงจากภายนอกประกอบกับ

เกษตรกรยังขาดความรู้ในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและขาดศูนย์รวบรวมและคัดเกรดผลผลิตจึงจำหน่าย

ผลผลิตได้ในราคาต่ำ ทำให้มีหนี้สินสูง จึงต้องหารายได้ทดแทนจากนอกภาคเกษตรและนอกชุมชน เช่น

Page 42: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-42 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

การรับจ้างในเมืองทำให้ต้องทอดทิ้งให้เด็กและผู้สูงอายุอยู่ดูแลบ้านและกิจการของครอบครัวจึงไม่สามารถ

ที่จะมีส่วนร่วมหรือรวมกลุ่มเพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาความเป็นอยู่ร่วมกัน ส่งผลให้ครอบครัวขาดความ

อบอุ่นและชุมชนอ่อนแอแต่ตำบลกุดหมากไฟก็ยังมีศักยภาพหลายด้าน เช่นภูเขายังมีความอุดมสมบูรณ์

ห้วยหลวงน้ำตกหินเลื่อนและแหล่งน้ำธรรมชาติสามารถนำมาใช้ประโยชน์เช่นปลูกผักทำนาเลี้ยงปลาและ

เลี้ยงสัตว์ได้เพื่อการบริโภคในครัวเรือนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นที่ 1 ซึ่งเป็นเศรษฐกิจ

พอเพียงแบบพื้นฐานที่เน้นความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัวหรือครัวเรือน และมีปัจจัยการผลิต

แรงงาน ภูมิปัญญาท้องถิ่นและความสามัคคีคือมีการรวมกลุ่มเพื่อรวมพลังสร้างรายได้ตามหลักปรัชญา

ของเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่ 2 ซึ่งเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าที่เน้นความพอเพียงระดับกลุ่มหรือ

องค์กร และมีศักยภาพเพียงพอที่จะต่อยอดไปสู่การพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่ 3

ซึ่งเป็นเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นความพอเพียงระดับเครือข่ายในระดับธุรกิจประกอบกับตลาดในสาธารณรัฐ

ประชาธิปไตยประชาชนลาว ประเทศเวียดนาม และประเทศจีน อยู่ใกล้และขนส่งได้สะดวก และสินค้า

ดังกล่าวมีศักยภาพในด้านการผลิตเพื่อการค้าทั้งด้านปริมาณและคุณภาพเนื่องจากเกษตรกรมีความรู้และ

ประสบการณ์พื้นฐานเพียงพอต่อการพัฒนาการผลิตเชิงการค้าแต่เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีมีไม่เพียงพอต่อความ

ต้องการของเกษตรกร ปริมาณข้าวและมะม่วงที่มีความปลอดภัยและได้มาตรฐานสากล(GoodAgricultural

Practice: GAP)ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด มันสำปะหลังประสบปัญหาเพลี้ยแป้งระบาดแต่ก็มี

แรงงานเด็กและผู้สูงอายุเพียงพอต่อการผลิตอาหารเพื่อการบริโภคเช่นปลูกผักสวนครัวเลี้ยงไก่เลี้ยงปลา

แปรรปูถนอมอาหารรวมทัง้การผลติเครือ่งอปุโภคในครวัเรอืนเชน่นำ้ยาลา้งจานสบู่นำ้ยาสระผมเครือ่งจกัสาน

ฯลฯ นอกจากนั้น ผู้สูงอายุยังยึดมั่นกับขนบธรรมเนียมประเพณีที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วม และยังมีความ

เอื้อเฟื้อเกื้อกูลและแบ่งปันอันเป็นปัจจัยสำคัญในการฟื้นฟูความเข้มแข็งให้ชุมชนจึงได้ร่วมกันปรับปรุงแผน

พัฒนาการเกษตรประจำตำบลโดยมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรทุกครัวเรือนน้อมนำหลักปรัชญาของ

เศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่1-3มาแก้ไขปัญหาและพัฒนาตนเองครัวเรือนกลุ่มและชุมชนให้มีความเข้มแข็ง

อย่างยั่งยืนตามศักยภาพของแต่ละครัวเรือนโดยกำหนดแผนที่จะจัดทำกิจกรรมต่างๆดังนี้

1. พฒันาระบบถา่ยทอดความรู้ที่เกีย่วขอ้งกบัการนอ้มนำหลกัปรชัญาของเศรษฐกจิพอเพยีงขัน้ที่1

ไปปฏิบัติ เช่น จัดฝึกอบรม ศึกษาดูงานทั้งภายในและภายนอกศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงกับมูลนิธิ

ปิดทองหลังพระหน่วยงานภาครัฐและเอกชนรวมทั้งองค์กรการกุศลและสถาบันการศึกษา

2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกครัวเรือนปลูกข้าวปลูกผักสวนครัวเลี้ยงไก่เลี้ยงปลาแปรรูปถนอม

อาหารรวมทั้งการผลิตเครื่องอุปโภคในครัวเรือนเช่นน้ำยาล้างจานสบู่น้ำยาสระผมเครื่องจักสานฯลฯเพื่อ

การบริโภคภายในครัวเรือนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่1

3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครัวเรือนเกษตรกรที่มีความพอเพียงในขั้นที่ 1 จัดทำกิจกรรมเพิ่ม

รายได้ในลักษณะกลุ่ม

4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้กลุ่มที่มีความเข้มแข็ง ปรับปรุงคุณภาพผลผลิตและเชื่อมโยงธุรกิจ

ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่3

Page 43: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-43การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

5. ปรับปรุงระบบการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของศูนย์บริการและถ่ายทอด

เทคโนโลยีประจำตำบลกุดหมากไฟ ให้สามารถขับเคลื่อนแผนพัฒนาการเกษตรตำบลกุดหมากไฟให้เกิด

ประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

ผล การ ดำเนิน งาน ตาม ปรัชญา เศรษฐกิจ พอ เพียง ของ ตำบล กุด หมาก ไฟ การดำเนินงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของตำบลกุดหมากไฟ สรุปได้ดังนี้

1. จัดตั้งศูนย์เรียนรู้และหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงจุดสาธิตการผลิตมะม่วงคุณภาพศูนย์ส่งเสริม

และผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนฯลฯรวมทั้งเชื่อมโยงและบูรณาการงานถ่ายทอดความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการน้อมนำ

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติกับมูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสานงานพระราชดำริฟาร์มตัวอย่าง

หน่วยงานภาครัฐเอกชนองค์กรการกุศลและสถาบันการศึกษา

2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรที่มีความรู้และความชำนาญเฉพาะด้าน เพื่อทำหน้าที่เป็น

วิทยากรในการถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกร เช่น นายประดิษฐ์ ชินคาผู้ซึ่งได้รับรางวัลอันดับที่ 2 จากการ

ประกวดแปลงผลิตมะม่วงคุณภาพ(GAP)ระดับประเทศปี2553เป็นวิทยากรเกษตรกรที่มีความเชี่ยวชาญ

ด้านการผลิตมะม่วงแบบประณีตและได้มาตรฐานสากลนายทองดีวงค์อนุเป็นวิทยากรเกษตรกรที่มีความ

เชี่ยวชาญด้านการวางแผนผลิตมะม่วงนอกฤดูเพื่อให้ลูกดก และนายสุวิทย์ศรีด้วง เป็นวิทยากรเกษตรกร

ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการขยายพันธุ์มะม่วงการจัดทำบัญชีการจัดการศัตรูพืช

3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรแต่ละครัวเรือนผลิตอาหารเพื่อบริโภค เช่น ปลูกผัก เลี้ยง

สุกร เลี้ยงปลา และแปรรูปอาหาร ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งนอกจากจะมีความมั่นคงทาง

อาหารและลดการพึ่งพาภายนอกได้แล้วยังสามารถลดค่าใช้จ่ายเฉลี่ย200บาท/ครอบครัว/เดือน

4. เกิดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบ่งปันและกิจกรรมสาธารณะ

เช่น ร่วมกันปล่อยปลาในแหล่งน้ำสาธารณะเพื่อเป็นแหล่งอาหารชุมชน ร่วมกัน (ลงแขก)ดำนา เกี่ยวข้าว

ปลูกพืชฤดูแล้งรวมถึงร่วมดำเนินธุรกิจในลักษณะต่างๆระหว่างหมู่ที่3และ11ตำบลกุดหมากไฟทำให้

ชุมชนมีความเข้มแข็งขึ้น

5. แม่บ้านเกษตรกรและยุวเกษตรกร รวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมทั้งแปรรูปอาหารไว้

บริโภคในครัวเรือน แบ่งปันและจำหน่ายส่วนที่เหลือเพื่อจุนเจือครอบครัว ทำให้นอกจากจะสามารถเกิด

ความมั่นคงอาหารแล้วยังสามารถลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้และเป็นแกนนำในการขยายผลแล้วยังช่วยให้

ชุมชนมีความเข้มแข็งอีกมิติหนึ่ง

6. เกษตรกรจำนวน60รายเปลี่ยนยอดมะม่วง4,320ยอดทำให้สามารถลดรายจ่ายได้216,000

บาท

7. เกษตรกรรวมกลุม่ผลติปุย๋อนิทรยี์และปุย๋นำ้ใช้เองประมาณ50ตนั/ปีทำให้สามารถลดคา่ใช้จา่ย

เฉลี่ยร้อยละ40ของราคาปุ๋ยเคมีสูตร15-15-15

Page 44: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-44 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

8. ส่งเสริมการผลิตมะม่วงปลอดภัยตามมาตรฐานGAP จำนวน 135 ราย ได้รับเครื่องหมาย

Q (Qmark) เพื่อรับรองมาตรฐานGAPจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 115รายหรือร้อยละ85ของ

ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด

9. ส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว (seed)ปลอดภัยตามมาตรฐานGAP จำนวน20 ราย ได้รับ

เครื่องหมายQเพื่อรับรองมาตรฐานGAPจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำนวน20รายสามารถผลิต

เมล็ดพันธุ์ดีได้30ตัน/ปีซึ่งเพียงพอต่อการปลูกในพื้นที่5,000ไร่ทำให้ลดรายจ่ายหรือเพิ่มรายได้ประมาณ

50,000บาท/ปีและมีหมู่บ้านข้าวอินทรีย์คือหมู่บ้านข้าวอินทรีย์โคกล่าม-แสงอร่าม

10.ส่งเสริมการผลิตข้าว(grain)ปลอดภัยตามมาตรฐานGAPจำนวน35 รายได้รับเครื่องหมาย

Qเพื่อรับรองมาตรฐานGAP จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์29รายหรือร้อยละ83ของผู้เข้าร่วมโครงการ

ทั้งหมด

11. ป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังด้วยชีววิธีในพื้นที่ 1,746 ไร่ สามารถลดการระบาดของ

เพลี้ยแป้งได้1,692ไร่หรือร้อยละ97ของพื้นที่โครงการเพิ่มผลผลิตเฉลี่ยจาก4.5ตัน/ไร่เป็นเฉลี่ย6ตัน/ไร ่

เพิ่มรายได้เฉลี่ย3,000บาท/ไร่

12.ส่งเสริมกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนมะม่วงคุณภาพจำนวน1กลุ่มสมาชิก177รายพื้นที่ปลูก

2,400 ไร่ ทำให้สามารถจำหน่ายผลผลิตมะม่วงประมาณ 2,500 ตัน/ปี มูลค่าประมาณ 73 ล้านบาท/ปี

แยกเป็นส่งออกไปยังเวียดนาม จีน เกาหลี มาเลเซียญี่ปุ่น รัสเซีย และเยอรมนี ประมาณ 1,500ตัน/ปี

มูลค่าประมาณ53ล้านบาท/ปีและจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าภายในประเทศประมาณ1.000ตัน/ปีมูลค่า

ประมาณ20ล้านบาท/ปี

13. ส่งเสริมเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชน จำนวน 2 กลุ่ม สมาชิกจำนวน 40 ราย

พื้นที่ปลูก200ไร่ผลผลิตประมาณ90ตัน/ปีมูลค่าประมาณ1.44ล้านบาท/ปี

14. พัฒนาที่ทำการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลกุดหมากไฟให้เป็น

อาคารถาวรกว้างขวางสะดวกและปลอดภัยในการปฏิบัติงานรวมทั้งยังมีเครื่องอำนวยความสะดวกในการ

ปฏบิตัิงานที่ทนัสมยัและเพยีงพอตอ่การปฏบิตัิงานไม่วา่จะเปน็อาคารศนูย์รวบรวมผลผลติอปุกรณ์สำนกังาน

อุปกรณ์ในการสื่อสารห้องประชุมฝึกอบรมสัมมนาฯลฯที่จะให้บริการเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

อย่างพอเพียง

15. จดัการประชมุคณะกรรมการศนูย์บรกิารถา่ยทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลกดุหมากไฟ

อย่างมีประสิทธิภาพอย่างน้อยเดือนละ1ครั้ง

16.หน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรร่วมใช้บริการ

สถานที่ในการจัดประชุมอบรมสัมมนาประมาณ400คน/ปี

17.พัฒนาระบบฐานข้อมูล รวมถึงระบบการวิเคราะห์ข้อมูลแบบมีส่วนร่วม รวมถึงพัฒนาระบบ

การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และให้บริการข้อมูลแก่เกษตรกรได้อย่างถูกต้องรวดเร็วครอบคลุมเป็นปัจจุบัน

และทนัสมยัไม่วา่จะเปน็ระบบการรวบรวมและวเิคราะห์ขอ้มลูพืน้ฐานที่เปลีย่นแปลงชา้เชน่ขอ้มลูทางกายภาพ

เศรษฐกิจและสังคม และระบบการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วหรือสถานการณ์ใน

Page 45: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-45การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

แต่ละช่วงโดยเฉพาะข้อมูลทางชีวภาพ เช่น ข้อมูลด้านการผลิต และข้อมูลด้านเศรษฐกิจ เช่น การตลาด

ต้นทุนการผลิตรายได้และค่าใช้จ่ายและด้านภัยธรรมชาติ

18. บูรณาการแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบลกับแผนงานของหน่วยงานต่าง ๆ ทำให้ได้รับ

การสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบลกุดหมากไฟ ซึ่งให้

งบประมาณสนับสนุนงบประมาณตั้งแต่ปี2553-2555 กว่า2ล้านบาท

19. ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนและแปลงสำรวจพยากรณ์แมลงศัตรูพืชประจำหมู่บ้านภายใต้การ

ประสานงานของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านโดยมีอาสาสมัครเกษตรที่ผ่านการพัฒนาทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล

เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์และการระบาดของโรคแมลงและสัตว์ศัตรูพืชให้ผู้เกี่ยวข้องเช่นศบกต.อบต.

และสำนักงานเกษตรอำเภอ เพื่อวิเคราะห์และให้ความช่วยเหลือในกรณีท่ี่เกินกำลังของศูนย์จัดการศัตรูพืช

ชุมชน รวมทั้งผลิตสารชีวภัณฑ์ และช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านศัตรูพืช เป็นผู้ประสานงานเชื่อมโยง

กันอย่างเป็นเครือข่ายครบทั้ง21หมู่บ้าน

20. อาสาสมัครเกษตร(อกม.)สาขาต่างๆเช่นเกษตรหมู่บ้าน(กษม.)ครูบัญชีอาสาหมอดินอาสา

ปศุสัตว์อาสาฯลฯทำหน้าที่เป็นผู้ปฏิบัติงานแทนหน่วยงานต้นสังกัดได้ครบถ้วนและมีประสิทธิภาพสูง

21. ระบบการบรหิารจดัการครอบคลมุตามแผนพฒันาการเกษตรประจำตำบลและมีการเชือ่มโยงงาน

อย่างเป็นระบบ เช่น ระบบการจัดการประชุมคณะกรรมการบริหาร ศบกต.กุดหมากไฟเพื่อพิจารณา

กิจกรรม/โครงการ ระบบการวางแผนการติดตามผลการปฏิบัติงาน ระบบการกระตุ้นให้ผู้นำชุมชนและ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันวางแผนพัฒนาการเกษตร ระบบการวางแผนการปฏิบัติงานของศูนย์ร่วมกับ

บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ระบบการจัดหางบประมาณและบริหารจัดการเงินทุนของศบกต.

(ในกรณีที่มีเงินทุน) ระบบการสนับสนุนการให้บริการและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ระบบการจัด

กิจกรรมการถ่ายทอดความรู้ เช่น การหาความต้องการด้านฝึกอบรมการคัดเลือกและพัฒนาจุดสาธิตและ

วิทยากรเกษตรกรจัดกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้เช่นการฝึกอบรมดูงานแปลงสาธิตฯลฯการสนับสนุน

การบริหารงานวิสาหกิจชุมชน (ร่วมกันผลิต รวมกันจำหน่าย) การเตือนภัย ได้แก่ การแจ้งข่าวเตือนภัยให้

แก่ชุมชน ให้เฝ้าระวังและแจ้งข่าวให้สำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่ที่รับผิดชอบทราบเหตุผิดปกติหรือ

ภัยธรรมชาติภัยศัตรูพืชสัตว์ประมงและภัยเศรษฐกิจอื่นๆ การรับรองรายงานต่างๆ เช่นตรวจสอบความ

ถูกต้องของผู้ประสบภัยการสำรวจผลผลิตข้าวนาปีนาปรังและข้อมูลการเกษตรอื่นๆ การสนับสนุนการสร้าง

และพัฒนาเครือข่ายทั้งด้านกลุ่มผู้ผลิตกลุ่มแปรรูปเครือข่ายการตลาดหรือองค์กรในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง

การประชาสัมพันธ์ เช่นเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ทุกกิจกรรมของศูนย์ให้ประชาชนรับทราบผ่านสื่อต่างๆ เช่น

หอกระจายข่าวนิทรรศการจัดกิจกรรมต่างๆเป็นต้น

ผล สำเร็จ ใน การ ดำเนิน งาน ตาม ปรัชญาของ เศรษฐกิจ พอ เพียง ของ ตำบล กุด หมาก ไฟผลสำเร็จในการดำเนินงานตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของตำบลกุดหมากไฟสรุปได้ดังนี้

1. เกษตรกรส่วนใหญ่มีความเป็นอยู่แบบพึ่งตนเองได้สามารถตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน

มีการชว่ยเหลอืเกือ้กลูกนัและกนัมีความสามคัคีและมีความพอเพยีงในการดำเนนิชวีติอยา่งมีความสขุทัง้กาย

Page 46: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-46 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

และใจและมีการรวมพลงักนัในรปูกลุม่หรอืสหกรณ์เพือ่รว่มกนัดำเนนิงานในดา้นตา่งๆ โดยได้รบัความรว่มมอื

จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่2และร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกเพื่อ

สร้างเครือข่ายเพื่อขยายกิจกรรมอย่างหลากหลายและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สมประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่าย

ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่3

2. เครือข่ายธุรกิจเกษตรของตำบลกุดหมากไฟมีความเข้มแข็งและสามารถที่จะแก้ไขปัญหาและ

สามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งในมิติของการวางแผนการดำเนินงานและการประเมินผล

การดำเนินงาน เนื่องจากมีการเชื่อมโยงเครือข่ายทั้งแนวระนาบและแนวตั้ง มีโครงสร้างและคณะกรรมการ

ที่เหมาะสม ฯลฯ

3. ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลกุดหมากไฟมีความพร้อมทั้งด้านที่ตั้ง

อาคารสถานที่ และวัสดุอุปกรณ์ที่จะเป็นศูนย์ในการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของตำบล

และสามารถบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของตำบลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีระบบ

การวางแผน

4. คณะกรรมการบรหิารศนูย์บรกิารและถา่ยทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลกดุหมากไฟสามารถ

บริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของตำบลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีองค์ประกอบของ

คณะกรรมการที่เหมาะสมคอืมาจากผู้แทนเกษตรกรและหนว่ยงานที่เกีย่วขอ้งโดยเฉพาะตวัแทนขององคก์าร

บริหารส่วนตำบลกุดหมากไฟ อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านกลุ่มต่างๆ มีระบบการบริหารงานบูรณาการแบบ

การมีส่วนร่วมที่ยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง โดยการเชื่อมโยงกับอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน กลุ่ม ผู้แทน

เกษตรกรตามพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติพ.ศ.2553และหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก

ตำบลทั้งด้านการวางแผนการดำเนินงานการติดตามและการประเมินผลการดำเนินงาน

การ บริหาร งาน ส่ง เสริม และ พัฒนาการ เกษตร ของ ตำบล กุด หมาก ไฟ ของ สำนักงาน เกษตร อำเภอ

หนองวัวซอการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของตำบลกุดหมากไฟของสำนักงานเกษตรอำเภอ

หนองววัซอดำเนนิการโดยสง่เสรมิและสนบัสนนุให้คณะกรรมการบรหิารศนูย์บรกิารและถา่ยทอดเทคโนโลยี

การเกษตรตำบลกุดหมากไฟเป็นผู้ดำเนินการในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้าน การส่ง เสริม และ พัฒนา ระบบ ข้อมูล การเกษตร ประจำ ตำบล

1.1 การรวมรวมวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่เปลี่ยนแปลงช้า และจัดทำแผนพัฒนาการเกษตร

ประจำตำบล ดำเนินการโดยนำข้อมูลทุติยภูมิเช่นข้อมูลทบก.(ทะเบียนเกษตรกร)ข้อมูลทพศ.(ทะเบียน

การปลกูพชืเศรษฐกจิ)ขอ้มลูคชภ.(ความชว่ยเหลอืผู้ประสบภยัธรรมชาต)ิขอ้มลูจปฐ.(ความจำเปน็พืน้ฐาน)

ข้อมูลคปร. (โครงการปรับปรุงระบบแผนและพัฒนาเกษตรกร)มาวิเคราะห์แล้วนำเสนอให้เกษตรกรและ

ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ร่วมพิจารณาตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องของข้อมูล และร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา

ศักยภาพและจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรประจำหมู่บ้านในเวทีชุมชนโดยอกม.เป็นผู้รับผิดชอบ แล้วนำ

Page 47: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-47การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

ผลการจัดทำเวทีชุมชนเสนอให้คณะกรรมการ ศบกต.พิจารณา และนำเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลการเกษตร

ประจำตำบล

1.2 ระบบการรวมรวมวิเคราะห์และรายงานข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วหรือสถานการณ์ใน

แต่ละช่วงดำเนินการหลายวิธีขึ้นอยู่กับประเภทของข้อมูล เช่นศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนและแปลงสำรวจ

พยากรณ์แมลงศัตรูพืชประจำหมู่บ้านโดยอกม.เป็นผู้รับผิดชอบและอกษ.รวมทั้งเกษตรกรที่มีจิตอาสา

เป็นผู้รวบรวมข้อมูลด้านพืช และรายงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบและพิจารณา เช่น ศบกต. สำนักงานเกษตร

อำเภอ

2. ด้าน การ ส่ง เสริม และ พัฒนา ระบบ การ บริหาร จัดการ ศูนย์ บริการ และ ถ่ายทอดเทคโนโลยี

การเกษตร ประจำ ตำบล

2.1 คดัเลอืกคณะกรรมการบรหิารศนูย์บรกิารและถา่ยทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล

ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด

2.2 แบ่งระบบการบริหารงานศบกต.ออกเป็น2ระดับได้แก่

1)ระดับตำบลแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการใน

ภาพรวม เช่นการวิเคราะห์ข้อมูลการกำหนดแผนงาน/โครงการดำเนินการโดยการประชุมคณะกรรมการ

ศบกต.เปน็ประจำเดอืนและดา้นการปฏบิตัิงานตามแผนงาน/โครงการเชน่การบรหิารสำนกังานหรอืทีท่ำการ

การประสานงานด้านการจัดหางบประมาณการติดตามผลการดำเนินงานการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ

โดยคณะกรรมการแต่ละคนเป็นผู้ดำเนินการตามมติที่ประชุม

2)ระดับหมู่บ้าน ซึ่งประกอบด้วย การบริหารงานในภาพรวมตามแผนงานโครงการ

ของศบกต.ดำเนินการโดยอกม.และการปฏิบัติงานตามแผนการปฏิบัติงานระดับหมู่บ้านเช่นการติดตาม

สถานการณ์การรวบรวมข้อมูลการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการให้คำแนะนำรวมถึงการให้บริการด้านอื่นๆ

ดำเนินการโดยอกษ.ที่รับผิดชอบงานแต่ละสาขา

3. ด้าน การ ส่ง เสริม และ พัฒนา งาน เคห กิจ เกษตร

3.1จดัทำเวทีชมุชนเพือ่สรา้งการรบัรู้(awareness)และสรา้งความสนใจ(interest) โดยอกม.

เชญิเกษตรกรในหมูบ่า้นทกุครวัเรอืนมารว่มวเิคราะห์ขอ้มลูเพือ่ให้รบัรู้และตระหนกัถงึปญัหาตลอดจนเขา้ใจ

เลือ่มใสศรทัธาตอ่หลกัปรชัญาของเศรษฐกจิพอเพยีงและมัน่ใจในศกัยภาพของตนเองกระบวนการกลุม่และ

ภูมิปัญญาและทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น แล้วร่วมกันค้นหาแนวทางการแก้ไขหรือพัฒนาต่อยอด กำหนด

เป้าหมายและแผนการดำเนินงานโดยแบ่งกลุ่มของปัญหาและแนวทางการแก้ไขเพื่อให้เกษตรกรใช้ประกอบ

การตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาโดยการพึ่งพาปัจจัยภายในชุมชนเป็นหลักออกเป็น3ระดับได้แก่

1)ระดับครัวเรือน ได้แก่ การจัดบ้านเรือน สุขอนามัย การผลิตและแปรรูปอาหาร

เพื่อการบริโภค และเครื่องอุปโภคที่จำเป็นในครัวเรือน

2)ระดับกลุ่มได้แก่การรวมกลุ่มสนใจเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มกิจกรรมหรือกลุ่ม

อาชีพเพื่อหารายได้

Page 48: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-48 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

3) ระดับชุมชน ได้แก่ การเชื่อมโยงเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อประกอบธุรกิจ

เกษตร บนพื้นฐานของการพึ่งพาปัจจัยภายในที่สามารถช่วยให้เกษตรกรและชุมชนเข้มแข็งสามารถปรับตัว

ได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงเป็นหลัก

3.2 ประชุมเกษตรกรตามความสนใจ เช่น กลุ่มที่ต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการผลิต

อาหารเพื่อการบริโภคในครัวเรือนหรือกลุ่มเดิมเช่นกลุ่มยุวเกษตรกรกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร(แล้วแต่กรณี)

เพื่อให้ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาศักยภาพและความต้องการ และวางแผนการดำเนินงานหรือปรับปรุงแผน

การดำเนินงาน(แล้วแต่กรณี)โดยอกม.เป็นผู้รับผิดชอบและอกษ.เป็นผู้ช่วยเหลือ

3.3 กระตุ้นกลุ่มดำเนินงานตามแผน เช่น เสวนา ศึกษาดูงานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้

จัดทำแปลงทดสอบ/ทดลอง รวมถึงการติดตามประเมินผล โดย อกม. เป็นผู้รับผิดชอบและ อกษ. เป็น

ผู้ช่วยเหลือ

4. ด้าน การ ส่ง เสริม และ พัฒนาการ เกษตร แม้ว่าการเกษตรของตำบลกุดหมากไฟ จะมีความ

หลากหลายแต่ ศบกต. ของชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชนดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรหลัก

ได้แก่ ข้าว มะม่วง และมันสำปะหลัง รวมทั้งการแปรรูปสินค้าเกษตร และการผลิตสินค้าหัตถกรรมและ

ศิลปะประดิษฐ์เป็นหลักโดยอกม.เป็นผู้รับผิดชอบและอกษ.เป็นผู้ช่วยเหลือเช่นเดียวกับด้านการส่งเสริม

และพัฒนางานเคหกิจเกษตร

5. ด้าน การส่ง เสริม และ พัฒนา กลุ่ม เครือ ข่าย วิสาหกิจ ชุมชน การส่งเสริมและพัฒนางานในด้านนี้

ใช้หลักการ กระบวนการ และดำเนินการร่วมหรือดำเนินการเช่นเดียวกับด้านการส่งเสริมและพัฒนางาน

เคหกิจเกษตร แต่มีกิจกรรมและระดับการพัฒนาที่แตกต่างไป ซึ่งวิธีการส่งเสริมและพัฒนากลุ่มเครือข่าย

วิสาหกิจชุมชนกุดหมากไฟสรุปได้ดังนี้

5.1 การส่งเสริมกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนมะม่วงคุณภาพ จากการวิเคราะห์ปัญหา และ

ศักยภาพพบว่า เกษตรกรตำบลกุดหมากไฟปลูกมะม่วงพันธุ์พื้นเมืองแบบสวนหลังบ้านประมาณ100ไร่

จำหนา่ยได้ในราคาตำ่คอืประมาณ5-10บาท/กโิลกรมัสาเหตุสำคญัเกดิจากการปลกูพนัธุ์พืน้เมอืงแบบสวน

หลังบ้านโดยไม่มีองค์ความรู้และขาดการดูแลรักษาทำให้ผลผลิตและคุณภาพต่ำและผลผลิตออกสู่ตลาด

ในช่วงเดียวกับสินค้าทดแทนอื่นๆแต่มีเกษตรกรบางรายผลิตมะม่วงนอกฤดูที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย

GAPและมีรสชาติขนาดสีผิวและคุณภาพเนื้อดีมีเครือข่ายการตลาดและสามารถจำหน่ายได้ในราคาสูง

อีกทั้งตลาดต่างประเทศมีความต้องการมะม่วงคุณภาพและสามารถขนส่งไปยังตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะ

ตลาดเวียดนามและจีนได้สะดวก

คณะกรรมการศบกต.กุดหมากไฟสนับสนุนให้เกษตรกรที่ปลูกมะม่วงและผู้สนใจรวมกลุ่ม

เพื่อเชื่อมโยงกับกลุ่มที่เกี่ยวข้องเพื่อผลิตมะม่วงคุณภาพ โดยเปลี่ยนพันธุ์เดิมและเพิ่มพื้นที่การผลิต

มะม่วงพันธุ์ดีที่ตลาดต้องการ เช่น เขียวเสวยฟ้าลั่นและน้ำดอกไม้ โดยการเสวนาศึกษาดูงานฝึกอบรม

จัดทำแปลงทดสอบ/ทดลองวิจัยและพัฒนาเช่นพัฒนาวิธีการยืดอายุการเก็บรักษาและขนส่งผลผลิตโดย

การจุ่มน้ำอุ่นสลับน้ำเย็นพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ดำเนินการผลิตมะม่วงคุณภาพทั้งในและนอกฤดู และสร้าง

ศูนย์รวบรวมคัดแยกและบรรจุผลผลิต และด้านการตลาดเช่นสร้างbrand:UDGolf(ทองอุดร)จัดการ

Page 49: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-49การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

แสดงสินค้าและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆรวมทั้งการเจรจาธุรกิจและจัดจำหน่ายมะม่วงคุณภาพ

ให้แก่ห้างสรรพสินค้าภายในและผู้นำเข้าในต่างประเทศฯลฯ

5.2 การส่งเสริมกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชน จากการวิเคราะห์ปัญหาและ

ศักยภาพพบว่า ข้าวมีผลผลิตและคุณภาพต่ำ เนื่องจากขาดเมล็ดพันธุ์ดีและเทคโนโลยีที่เหมาะสม แต่มี

ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนที่ได้มาตรฐานGAPแต่พื้นที่ปลูกน้อยและผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ

ของชุมชนรวมทั้งขาดเครื่องมือในการตรวจสอบคุณภาพ

คณะกรรมการศบกต. กุดหมากไฟสนับสนุนให้เกษตรกรรวมกลุ่มและเชื่อมโยงเครือข่าย

กลุ่มวิสาหกิจศูนย์ข้าวชุมชนเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและผลิตข้าวปลอดภัยเช่นข้าวGAPและข้าวอินทรีย์

โดยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาดูงาน จัดทำแปลงสาธิตทดสอบ ส่งเสริมการผลิตและจำหน่าย

เมล็ดพันธุ์และข้าวคุณภาพทั้งภายในและภายนอกชุมชน

ปัจจัย ที่ ส่ง ผล ต่อ ความ สำเร็จ ความสำเร็จในการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของตำบลกุดหมากไฟเกิดจากทั้งปัจจัย

ภายในและปัจจัยภายนอกชุมชนหรือตำบลเช่นเดียวกับกรณีตัวอย่างการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการ

เกษตรระดับครัวเรือนและกรณีตัวอย่างการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรระดับกลุ่มจะแตกต่าง

เฉพาะรายละเอียดเช่น

1. ปัจจัย ภายใน

1.1 ปญัหาดา้นการเกษตรเชน่ความแหง้แลง้ดนิเสือ่มโทรมขา้วซึง่เปน็อาหารหลกัขาดเมลด็

พันธุ์ดีมีผลผลิตต่ำพืชผักปลาและปศุสัตว์ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนมีจำนวนน้อยมะม่วงและมันสำปะหลังซึ่ง

เป็นแหล่งรายได้ มีโรคแมลงระบาดทำลายทำให้ผลผลิตต่ำ ต้นทุนสูง ทำให้ขาดความมั่นคงทั้งด้านอาหาร

และรายได้เป็นปัญหาในเชิงความเดือดร้อนที่มีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อสมาชิกส่วนใหญ่ของชุมชน

ทำให้สร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาได้ง่าย

1.2 ชมุชนมีจดุแขง็ที่สามารถนำมาใช้ในการแกไ้ขปญัหาได้หลายประการเชน่ภเูขาปา่ไม้และ

แหล่งน้ำธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์ ชุมชนที่ยังคงพึ่งพาภาคเกษตรเป็นหลักมีเกษตรกรที่มีความรู้ ทักษะ

ภูมิปัญญาและประสบการณ์ในการผลิตและจำหน่ายมะม่วงGAPนอกฤดูให้แก่ห้างสรรพสินค้า ผลิตข้าว

และเมล็ดพันธุ์ข้าวGAP และผลิตแตนเบียนกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง มีศาสนา ขนบธรรมเนียมและ

ประเพณีที่ยังเอื้อเฟื้อเจือจุน มีผู้นำชุมชนโดยเฉพาะนายกและสมาชิก อบต. และคณะกรรมการ ศบกต.

ที่เข้าใจเข้าถึงและต้องการที่จะแก้ไขปัญหาและพัฒนาภาคเกษตร

2. ปัจจัย ภายนอก กลุ่ม

2.1 ระบบส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ (ตำบล) เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เนื่องจาก

เป็นระบบย่อยของระบบส่งเสริมการเกษตรที่มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถช่วยเหลือ

ตนเองได้และอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นกลไกหลัก โดยมีคณะกรรมการ

ศบกต. ทำหน้าที่บริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรในระดับตำบล และอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน

Page 50: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-50 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

ทำหน้าที่บริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรระดับหมู่บ้าน และอาสาสมัครเกษตรสาขาต่าง ๆ ใน

แต่ละหมู่บ้านทำหน้าที่เป็นผู้ปฏิบัติตามสาขาที่แต่ละคนรับผิดชอบ

2.2 เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบตำบลกุดหมากไฟ (นายสำเนียง กรมธรรมา)

ซึ่งเป็นเกษตรตำบลดีเด่นระดับประเทศปีงบประมาณ2555 เกษตรอำเภอและบุคคลากรสำนักงานเกษตร

อำเภอหนองวัวซอและสำนักงานเกษตรจังหวัดอุดรธานี เข้าใจเป้าหมายและระบบการปฏิบัติงานในพื้นที่และ

ให้การสนับสนุนแผนงาน/โครงการพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของ

ศบกต.กุดหมากไฟอย่างต่อเนื่อง

2.3 มีโครงการบรหิารจดัการนำ้อยา่งยัง่ยนื(โครงการปดิทองหลงัพระบา้นโคกลา่มแสงอรา่ม)

เป็นต้นแบบและศูนย์กลางการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2.4 หน่วยงานภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุนแผนงาน/โครงการของศบกต.กุดหมากไฟ

อย่างต่อเนื่อง เช่น อบต. กุดหมากไฟสนับสนุนงบประมาณในการประชุมประจำเดือนของคณะกรรมการ

สนับสนุนงบประมาณก่อสร้างศูนย์รวบรวมและคัดแยกผลผลิต และงบประมาณตามแผนงานโครงการ

ประจำปีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรใช้ศบกต.เป็นสถานที่ฝึกอบรมลูกค้าเป็นต้น

สรุป การส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรระดับครัวเรือนและระดับกลุ่มจะช่วยให้เกษตรกรแก้ไข

ปัญหาหรือการพัฒนาขั้นพื้นฐาน ซึ่งไม่สามารถที่จะพึ่งพาตนเองหรือปรับตัวได้ทันต่อความเปลี่ยนแปลง

อย่างยั่งยืนได้จึงจำเป็นที่จะต้องน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่3มาปฏิบัติให้สอดคล้อง

กับปัญหาศักยภาพของแต่ละกลุ่มที่จะเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายและจะต้องบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการ

เกษตรแบบบูรณาการโดยการมีส่วนร่วมที่ยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง

หลัง จาก ศึกษา เนื้อหา สาระ ตอน ที่ 15.2 แล้ว โปรด ปฏิบัติ ตาม กิจกรรม 15.2

ใน แนว การ ศึกษา หน่วย ที่ 15 ตอน ที่ 15.2

Page 51: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-51การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

ตอน ที่ 15.3

แนวทาง การ บริหาร งาน ส่ง เสริม และ พัฒนาการ เกษตร กับ

การ เปลี่ยนแปลง ของ สังคม ไทย

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่15.3แล้วจึงศึกษาเนื้อหาสาระพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละตอน

หัว เรื่องเรื่องที่15.3.1 แนวทางการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรด้านโครงสร้าง

เรื่องที่15.3.2 แนวทางการบรหิารงานสง่เสรมิและพฒันาการเกษตรดา้นกระบวนการสง่เสรมิ

และพัฒนาการเกษตร

แนวคิด1. โครงสร้างของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระบวนการส่งเสริมและพัฒนาการ

เกษตรที่เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรน้อมนำหลักปรัชญาของ

เศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติโดยการบูรณาการแบบการมีส่วนร่วมที่ยึดเกษตรกรเป็น

ศูนย์กลางจะช่วยให้ครัวเรือนเกษตรกรกลุ่มและชุมชนมีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองและ

ปรับตัวทันกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างยั่งยืน

2. การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรทั้งด้านโครงสร้างด้านกระบวนการส่งเสริม

และพัฒนาการเกษตรที่ดีจะต้องมีขอบเขตความรับผิดชอบการแบ่งหน้าที่งานขอบเขต

ของการควบคุมและระบบการสั่งการที่ชัดเจนและเหมาะสม

3. กลไกการบริหารงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล

(ศบกต.)ที่เอื้ออำนวยต่อการบูรณาการกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสภาเกษตรกร

จะช่วยให้เกษตรกรและชุมชนมีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองและปรับตัวได้ทันกับการ

เปลี่ยนแปลงได้อย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่15.3จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. วิเคราะห์แนวทางการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรด้านโครงสร้างได้

2. วิเคราะห์แนวทางการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรด้านกระบวนการส่งเสริม

และพัฒนาการเกษตรได้

Page 52: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-52 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

เรื่อง ที่ 15.3.1 แนวทาง การ บรหิาร งาน สง่ เสรมิ และ พฒันาการ เกษตร

ด้าน โครงสร้าง

สังคมโลกและสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบทั้งเชิงลบและเชิงบวกต่อสังคมเกษตร

ตลอดเวลา แต่ถ้าหากเกษตรกรน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 3 ขั้นไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับ

ปัญหาและศักยภาพของตนเองและภูมิสังคม เกษตรกรก็จะมีความเข้มแข็ง สามารถปรับตัวได้ทันกับการ

เปลี่ยนแปลงหรืออีกนัยหนึ่งก็คือเกษตรกรสามารถบริหารจัดการให้ผลกระทบเชิงลบกลายเป็นผลกระทบ

เชิงบวก ซึ่งขีดความสามารถดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้จะต้องอาศัยปัจจัยทั้งภายในและภายนอก และปัจจัย

ภายนอกที่สำคญัประการหนึง่คอืโครงสรา้งของหนว่ยงานในสงักดักระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เอือ้อำนวย

ต่อการบูรณาการการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรแบบมีส่วนร่วมที่ยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง

เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ และการดำเนิน

การตามแนวทางดังกล่าวก็ขึ้นอยู่กับหลายองค์ประกอบหรือหลายปัจจัย แต่เรื่องนี้จะนำเสนอเฉพาะปัจจัย

ด้านโครงสร้างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยแบ่งการเสนอออกเป็น2ส่วนได้แก่การวิเคราะห์โครงสร้าง

การบูรณาการงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และแนวทางการปรับ

โครงสร้างการบูรณาการการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรซึ่งสรุปได้ดังนี้

การ วิเคราะห์ โครงสร้าง กา รบู รณา การ งาน ส่ง เสริม และ พัฒนาการ เกษตร ของ กระทรวง เกษตร

และ สหกรณ์ โครงสร้าง(structure)มีหลายความหมายเช่นหมายถึงแผนผังแสดงตำแหน่งงานหน้าที่งานต่างๆ

และเสน้โยงความสมัพนัธ์ของงานตา่งๆ เหลา่นัน้โครงสรา้งจะครอบคลมุแนวทางและกลไกในการประสานงาน

และการติดต่อสื่อสารและระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง การจัดวางตำแหน่งงาน และกลุ่มของตำแหน่งงาน

ตา่งๆ ภายในองคก์ารซึง่โครงสรา้งจะแสดงให้เหน็ความสมัพนัธ์ของงานที่จะมีตอ่กนัรปูแบบปฏสิมัพนัธ์และ

การจัดสรรหน้าที่และความรับผิดชอบในองค์การนั้น และสิ่งที่สำคัญก็คือ โครงสร้างองค์กรหรือหน่วยงาน

ส่งผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจ การติดต่อสื่อสาร การประสานงาน ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพ

ประสิทธิผลคุณภาพของการปฏิบัติงานหรือผลการดำเนินงานความพึงพอใจของผู้รับบริการรวมไปถึงความ

รับผิดชอบ (จากgoogle.com:OrganizationalBehavior. ByMr.WarunyuPintusamit. 277312

ค้นคืนวันที่20มิถุนายน2556)

โครงสร้างองค์กรหรือหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญได้แก่ขอบเขต

ความรบัผดิชอบการแบง่หนา้ที่งานขอบเขตของการควบคมุและระบบการสัง่การที่ชดัเจนและเหมาะสม(จาก

www.olrepublic.com/careerlab/.../476-โครงสร้างองค์กรคืออะไร.htmlค้นคืนวันที่ 18มิถุนายน2556)

Page 53: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-53การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

การวเิคราะห์สถานการณ์ดา้นโครงสรา้งหนว่ยงานสงักดักระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีหลายแนวคดิ

แต่เรื่องนี้นำแนวคิดของเทคนิคการประเมินสถานการณ์ (SWOTAnalysis) มาใช้ในการวิเคราะห์จุดแข็ง

(strengths)จุดอ่อน(weaknesses)โอกาส(opportunities)และอุปสรรค(threats)ด้านขอบเขตความ

รับผิดชอบที่ชัดเจนและเหมาะสมการแบ่งหน้าที่งานชัดเจนขอบเขตของการควบคุม และระบบการสั่งการที่

มีผลต่อขวัญและกำลังใจการติดต่อสื่อสารการประสานงานทั้งภายในและภายนอกเพื่อบูรณาการการบริหาร

งานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่จะช่วยให้เกษตรกรน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้โดย

ส่งเสริมและสนับสนุนโดยการบูรณาการแบบการมีส่วนร่วมที่ยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลางซึ่งสรุปได้ดังนี้

1. จุด แข็ง (strengths)

1.1 รับผิดชอบงานด้านการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรทุกสาขา ไม่ว่าจะเป็นด้านพืช

ปศุสัตว์และสัตว์น้ำด้านบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการผลิตเช่นดินและน้ำด้านการพัฒนาเกษตรกรและ

ระบบสหกรณ์และการอำนวยการเช่นการพัฒนาบุคลากรมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารและกฎหมาย

ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร ทำให้สามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่าง

ครบวงจร

1.2 ดำเนินงานทั้งด้านงานวิจัยและพัฒนางานถ่ายทอดเทคโนโลยีงานส่งเสริมการผลิตและ

จัดการผลผลิต งานบริการ และงานด้านต่าง ๆครอบคลุมทั้งด้านการผลิตด้านทรัพยากรธรรมชาติ ด้าน

ทรัพยากรมนุษย์ และด้านสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรทำให้สามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่าง

ครบวงจร

1.3 หน่วยงานและบุคลากรในสังกัดครอบคลุมทั้งส่วนภูมิภาคส่วนกลาง และต่างประเทศ

ทำให้สามารถที่จะรวบรวมข้อมูลวางแผนและดำเนินงานให้สอดประสานกันอย่างเป็นระบบได้ง่าย

1.4 นโยบาย เป้าหมายและภารกิจของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มุ่งเน้นที่จะส่งเสริมและ

สนับสนุนให้เกษตรกรน้อมนำเอาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 3 ขั้นไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับปัญหา

และศักยภาพของตนเองครอบครัว กลุ่มและชุมชน เพื่อให้มีความเข้มแข็ง แข่งขันได้และสามารถปรับตัว

ได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนโดยทำงานแบบบูรณาการที่ยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลางซึ่งสอดคล้อง

กับปรัชญาของงานส่งเสริมการเกษตร

1.5 ระบบการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร ซึ่งประกอบด้วย 2 ระบบย่อย

ได้แก่ ระบบการปฏิบัติงานในพื้นที่และระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานพื้นที่ เชื่อมโยงระหว่างส่วนกลาง

จังหวัด อำเภอตำบลหมู่บ้าน และครัวเรือนเกษตรกร โดยมีสำนัก กอง ในส่วนกลาง สำนักงานส่งเสริม

และพัฒนาการเกษตรเขต และศูนย์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นหน่วยงานส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคสำนักงานเกษตร

จังหวัด และสำนักงานเกษตรอำเภอ เป็นหน่วยงานในพื้นที่ โดยคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอด

เทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลทำหน้าที่บูรณาการการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรระดับ

ตำบลอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านทำหน้าที่เป็นผู้บูรณาการงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรระดับหมู่บ้าน

เกษตรกรปราดเปรื่อง (smart farmer) และอาสาสมัครเกษตรแต่ละสาขาทำหน้าที่เป็นวิทยากรเกษตรกร

โดยมีศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) ศูนย์เรียนรู้ กลุ่มและเครือข่ายเป็นกลไกหลักของศูนย์บริการและ

ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล

Page 54: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-54 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

1.6 ผลงานด้านการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งผลงานด้านมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารได้

มาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับในเวทีโลกหลายผลงาน

1.7 เครื่องมืออุปกรณ์ ครบถ้วนเพียงพอต่อการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรทั้งด้านสื่อ

การสอน สื่อการสื่อสาร เช่น สถานีโทรทัศน์MOACทีวีเกษตร และเครื่องมืออุปกรณ์ด้านอื่น ๆ เช่น

ห้องปฏิบัติการด้านต่าง ๆ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานและยานพาหนะ เช่น อาคารสถานที่ เครื่องบิน

ฝนหลวงเป็นต้น

1.8 คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร ซึ่งทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย

และแผนงานโครงการรวมทั้งควบคุม สั่งการประสานงานและบูรณาการการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนา

การเกษตร มีคณะกรรมการที่เป็นผู้บริหารของหน่วยงานที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกกระทรวง

มีนโยบายและแผนงานโครงการและสำนักงานเลขาธิการที่ชัดเจน

2. จุด อ่อน (weaknesses)

2.1 โครงสรา้งของหนว่ยงานสว่นกลางคอ่นขา้งหลากหลายสายบงัคบับญัชาซำ้ซอ้นขอบเขต

ความรับผิดชอบไม่ชัดเจน

2.2 นโยบายแผนงานโครงการสว่นใหญ่เกดิจากความตอ้งการของผู้บรหิารและนกัการเมอืง

หรือเกิดจากเจ้าหน้าที่ระดับผู้ปฏิบัติเป็นหลัก เกษตรกรและบุคลากรตลอดจนผู้มีส่วนได้-เสีย โดยเฉพาะ

สภาเกษตรกรแห่งชาติ รวมถึงบุคลากรและองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์

ปัญหาศักยภาพและความต้องการของเกษตรกรค่อนข้างน้อย งานส่วนใหญ่จึงเป็นงานเร่งด่วน ขาดความ

ชัดเจน ซ้ำซ้อน สับสน ใช้เวลาและทรัพยากรมาก ทำให้เวลาและทรัพยากรที่จะใช้ในการปฏิบัติงานตาม

ภารกิจหลักมีน้อย

2.3 ระบบการประสานงานติดตามนิเทศควบคุมกำกับการดำเนินงาน ขาดประสิทธิภาพ

ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับการบูรณาการหรือปฏิบัติตามนโยบายแผนงานและโครงการที่

คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรกำหนดน้อยยกเว้นการนำไปใช้ในการบรรยายหรืออ้างอิง

ในการจัดทำคำของบประมาณจึงทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่ำ และหาผู้รับผิดชอบอย่างแท้จริงยาก

2.4 การแบ่งหน่วยงานภายในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แตกต่างหลากหลาย เช่น

มีทั้งหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชนและมีการแบ่งหน่วยงานภายในที่แตกต่างกัน เช่น

กองสำนัก ส่วนกลุ่มงานฝ่ายเขตภาคใช้หลักเกณฑ์ในการแบ่งหน่วยงานหลากหลายทำให้บูรณาการยาก

เช่น แบ่งตามภารกิจหรือความรับผิดชอบหลัก แบ่งตามประเภทสินค้า แบ่งตามพื้นที่และใช้วิธีผสมผสาน

เช่น สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบงานอำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

รับผิดชอบงานสถิติข้อมูลสารสนเทศ งานนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร ในฐานะที่เป็นสำนักงาน

เลขาธิการของคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร กรมชลประทานและกรมพัฒนาที่ดิน

รับผิดชอบงานด้านทรัพยากรน้ำ ดินและปุ๋ย กรมวิชาการเกษตรกรมการข้าว กรมหม่อนไหมกรมประมง

กรมปศุสัตว์ รับผิดชอบงานด้านการวิจัย พัฒนาและส่งเสริมการผลิตและงานด้านกฎหมายในสาขาที่

รับผิดชอบ กรมส่งเสริมการเกษตรรับผิดชอบงานด้านการส่งเสริมการผลิตพืชและงานพัฒนาสถาบัน

เกษตรกรที่ไม่เป็นนิติบุคคล เช่น กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มยุวเกษตรกร

Page 55: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-55การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

กรมส่งเสริมสหกรณ์รับผิดชอบงานด้านการพัฒนาสถาบันเกษตรกรที่เป็นนิติบุคคล เช่น กลุ่มเกษตรกร

สหกรณ์การเกษตร และสหกรณ์อื่น ๆ สำนักงานพัฒนางานวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) รับผิดชอบ

ด้านการวิจัยการเกษตรทุกสาขาทั้งเชิงพาณิชย์และเชิงนโยบายสาธารณะองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร(อตก.)

รับผิดชอบด้านการตลาด สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) รับผิดชอบงานด้านการจัดหา

ที่ดินเพื่อการเกษตรและการส่งเสริมการผลิตในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนอกจากนี้ยังมีงานประเภท

เดียวกัน กระจัดกระจายอยู่ในหลายหน่วยงาน เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานกระจายอยู่ในสำนักงาน

การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกรมชลประทานและกรมพัฒนาที่ดิน ส่วนงานวิจัยและพัฒนางานส่งเสริม

อาชีพ และการพัฒนาสถาบันเกษตรกรที่ไม่เป็นนิติบุคคลกระจายอยู่เกือบทุกหน่วยงานและกรมส่งเสริม

การเกษตรเปน็หนว่ยงานหลกัในดา้นการสง่เสรมิการผลติพชืและงานพฒันาสถาบนัเกษตรกรแต่ในทางปฏบิตัิ

แต่ละหน่วยงานจะดำเนินการในเรื่องเดียวกันอย่างเป็นเอกเทศแบบครบวงจรภายใต้แผนงานโครงการและ

ระเบยีบหลกัเกณฑ์ของแตล่ะหนว่ยงานโดยไมม่ีการบูรณาการเชน่งานจดัตัง้กลุม่ยวุเกษตรกรงานอาสาสมคัร

เกษตร(อกษ.)แม้ว่าจะมีระเบียบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นเครื่องมือในการบูรณาการและมีการ

จดัตัง้กลุม่ภารกจิเพือ่บรูณาการงานดา้นพฒันาการผลติดา้นบรหิารจดัการทรพัยากรเพือ่การผลติดา้นสง่เสรมิ

และพัฒนาเกษตรกรและระบบสหกรณ์ มีผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์ทำหน้าที่ติดตาม

นิเทศกำกับ

2.5 บุคลากรที่รับผิดชอบงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจะ

ต้องปฏิบัติงานนโยบายเร่งด่วนที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่นเช่นงานการรับจำนำสินค้าเกษตร

และการประกันรายได้เกษตรกร งานส่งเสริมการขายและการตลาดสินค้าการเกษตร งานกระจายสินค้า

เพื่อแก้ไขราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ งานช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติจึงมีเวลาและทรัพยากรที่จะใช้ในการ

ดำเนินงานตามภารกิจหลักน้อยทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่ำบุคลากรส่วนใหญ่จึงขาดขวัญกำลังใจ

2.6 โครงสรา้งของหนว่ยงานสว่นภมูภิาคหลากหลายและอยู่ใต้การบงัคบับญัชาของหนว่ยงาน

ส่วนกลางและฝ่ายปกครองมีการสั่งการจากหลายทางจึงสร้างความขัดแย้งและสับสน

2.7 ระบบบูรณาการการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรโดยกระบวนการมีส่วนร่วม

ที่ยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริงมีน้อย แม้ว่าจะใช้แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และแผน

พัฒนาอื่นๆเป็นเครื่องมือ

2.8 คณะกรรมการที่รับผิดชอบการบูรณาการงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร มีหลาย

ระดับและหลายคณะ เช่น คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร ทำหน้าที่บูรณาการงาน

ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรในภาพรวมของประเทศและคณะกรรมการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการ

เกษตรอื่น ๆ เช่น คณะกรรมนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือ

เกษตรกร(คชก.) คณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน(กชก.)ทำหน้าที่บูรณาการงานส่งเสริมและ

พัฒนาการการเกษตรเฉพาะด้านส่วนการบริงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรระดับภูมิภาค ระดับท้องถิ่น

และระดับพื้นที่ มีคณะกรรมการรับผิดชอบหลายระดับและหลายคณะเช่นเดียวกับคณะกรรมการระดับ

ประเทศและแต่ละคณะกรรมการส่วนใหญ่มีจุดอ่อนด้านโครงสร้างระบบการสรรหาความชัดเจนของงาน

Page 56: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-56 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบระบบการบริหารงานและการยอมรับของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคล้ายคลึงกัน

ดังเช่น

2.8.1 โครงสร้างและระบบการบริหารงานของคณะกรรมการแต่ละคณะมีความเป็น

อิสระและเชื่อมโยงซึ่งกันและกันน้อย

2.8.2 องค์ประกอบของคณะกรรมการแต่ละคณะ ไม่เอื้ออำนวยต่อการบูรณาการ

การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร เพราะส่วนใหญ่ประกอบด้วยผู้บริหารของหน่วยงานที่ต้องทำ

หน้าที่แปลงนโยบายไปสู่ปฏิบัติจึงมีงานมากแต่มีเวลาปฏิบัติหน้าที่ในด้านนี้น้อยส่วนผู้ทรงคุณวุฒิวุฒิอาสา

ธนาคารคลังสมอง รวมถึงข้าราชการบำนาญและบุคคลที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนน้อย ผู้แทนเกษตรกรตาม

พระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติพ.ศ.2553และองค์กรต่างๆซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเกษตรกร

ที่มีเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ในด้านนี้มีประสบการณ์และมีฐานมวลชนรองรับกลับมีโควตาน้อย

2.8.3 วิธีการสรรหาคณะกรรมการส่วนใหญ่ อาศัยธรรมเนียมปฏิบัติที่แต่งตั้งโดย

ตำแหน่ง การสั่งการของผู้มีอำนาจ หรือมาจากเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติที่ยังขาดประสบการณ์และไม่มีฐาน

มวลชนรองรับเท่ากับวิธีการสรรหาโดยอาศัยผลการศึกษาวิจัยหรืออาศัยระบบการสรรหาตัวแทนองค์กรที่

เหมาะสม

2.8.4 นโยบาย แผนงาน โครงการ ส่วนใหญ่เป็นการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาสินค้า

(commodity based) ระยะสั้นที่ทำง่าย ได้ผลเร็ว แต่ส่งผลกระทบในทางลบต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสูง

เพราะมีผู้ได้รับประโยชน์กระจุก ไม่เป็นธรรมและไม่สอดคล้องกับธรรมชาติที่ทุกสรรพสิ่งในโลกนี้ย่อมมี

ปฏสิมัพนัธ์ถงึกนัตลอดเวลาสว่นแผนการแกไ้ขปญัหาหรอืพฒันาเปน็รายพืน้ที่(areabased)หรอืใช้ประเดน็

การพัฒนา (agenda based) ซึ่งเป็นการพัฒนาแบบองค์รวมที่ควรจะเป็นแผนหลักมีน้อย เพราะแผน

การแกไ้ขปญัหาหรอืพฒันาในลกัษณะนี้มีความยุง่ยากซบัซอ้นแต่เปน็การแกไ้ขปญัหาและพฒันาที่ยัง่ยนืและ

เป็นธรรมเพราะต้องผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมที่มีผู้มีส่วนได้-เสียหลายฝ่ายทำให้ต้องแบ่งปันและจัดสรร

ผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม สาเหตุหลักเนื่องจากนโยบายแผนงานโครงการส่วนใหญ่เกิดจากการตัดสินใจ

ของนักการเมืองและผู้บริหารหน่วยงานตามความเห็นของที่ปรึกษาหรือความเห็นของหน่วยงานที่ทำหน้าที่

เป็นฝ่ายเลขานุการมากกว่าการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ความเหมาะสม

2.8.5 แนวทางการพัฒนาการเกษตรในทุกระดับจึงมีจำกัดไม่สอดคล้องหรือเชื่อมโยง

กับปัญหาและศักยภาพในการพัฒนาโดยเฉพาะการเชื่อมโยงกับแผนแม่บทการพัฒนาการเกษตรของ

สภาเกษตรกรแห่งชาติจึงทำให้แผนดังกล่าวขาดจุดร่วม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่จึงยังคงดำเนินการ

โดยอาศัยแผนงานโครงการงบประมาณบุคลากรเทคนิคการทำงานและวัฒนธรรมของหน่วยงานที่สังกัด

อย่างเป็นอิสระ จึงเกิดความซ้ำซ้อนสูญเสียและสับสนเกินกว่าที่ควรจะเป็นการดำเนินงานจึงเป็นการแก้ไข

ปญัหาเฉพาะหนา้ ผลการพฒันาสว่นใหญ่จงึกระจกุไม่กระจายบางฝา่ยได้รบัประโยชน์หรอืผลกระทบซำ้ซาก

ปัญหาจึงเวียนมาให้แก้ไขแบบเดิมอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นปัญหาถาวร

Page 57: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-57การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

3. โอกาส (opportunities)

3.1 เกษตรกรรายบุคคลมีความรู้และความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลความรู้และการสื่อสาร

รวมทัง้ทกัษะดา้นการผลติการแปรรปูการดแูลบา้นเรอืนพรอ้มหรอืมีความเขม้แขง็ตามปรชัญาของเศรษฐกจิ

พอเพียงขั้นที่1รวมทั้งกลุ่มและเครือข่ายที่มีความเข้มแข็งตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่2และ3

และพร้อมที่จะเป็นต้นแบบและวิทยากรมากมายและกระจายอยู่ทั่วประเทศ

3.2 กลุม่และเครอืขา่ยกลุม่ของเกษตรกรที่เขม้แขง็สามารถเปน็แม่ขา่ยในการพฒันาศกัยภาพ

ของเกษตรกรตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง3ขั้นเช่นกลุ่มอาชีพการเกษตรกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร

กลุ่มยุวเกษตรกรวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรสหกรณ์การเกษตรและสหกรณ์ประเภทต่างๆกระจายอยู่

ทั่วประเทศ

3.3 คนชนบทเสมือนคนเมืองหรือเกษตรกรที่มีประสบการณ์ด้านการดำรงชีวิตในเมืองไม่ว่า

จะเปน็บตุรหลานเกษตรกรหรอืตวัเกษตรกรที่เคยใช้ชวีติในเมอืงเชน่ศกึษาตอ่รบัจา้งทัว่ไป ขบัแทก็ซี่ทำงาน

ในโรงงาน รวมทั้งคนในเมืองหลากหลายสาขาอาชีพที่เข้าไปอยู่ในชนบท ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เข้าไปอาศัยเพื่อใช้

ชีวิตที่เรียบง่ายและอยู่ใกล้ชิดธรรมชาติในบั้นปลายชีวิต ลงทุนหรือประกอบอาชีพการเกษตรเต็มเวลาหรือ

บางเวลา เป็นกลุ่มคนที่มีประสบการณ์หลากหลาย และสามารถนำประสบการณ์และเครือข่ายมาใช้ในการ

ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรได้เป็นอย่างดีและมีอยู่ทั่วประเทศ

3.4 โครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสารสมัยใหม่ในชนบทมีมากและใช้สะดวกเช่น

เครือ่งคอมพวิเตอร์แทบ็เลต็และโทรศพัท์มอืถอืที่สามารถสือ่สารผา่นwebsite,line,Twitter,Facebook,

Tumblr, Foursquare และ instagramซึ่งเยาวชนในชนบทสนใจและมีใช้โดยทั่วไป สามารถนำมาใช้ใน

การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรได้เป็นอย่างดี

3.5 ความตืน่ตวัที่จะเขา้เปน็ประชาคมอาเซยีน(ASEANCommunity)ทำให้ประเทศสมาชกิ

ประชาคมอาเซียนเตรียมความพร้อมที่เพิ่มขึ้นในทุกด้าน

3.6 การเคลือ่นยา้ยเงนิทนุเทคโนโลย ีแรงงานรวมทัง้บรกิารและดา้นอืน่ๆ ที่มีความคลอ่งตวัสงู

3.7 ระดับวิกฤติการณ์โลกเป็นโชคของประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นวิกฤติการณ์ด้านเศรษฐกิจ

วิกฤติการณ์อาหาร วิกฤติพลังงานและวิกฤติการณ์ด้านอื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ส่งผลกระทบ

ต่อประเทศไทยน้อยกว่าประเทศส่วนใหญ่ในโลก

3.8 แนวโน้มด้านประชากรโลก และการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยที่มีอัตราการเพิ่มสูงขึ้นอย่าง

ต่อเนื่อง

3.9 แนวโน้มของสังคมที่หวนคืนสู่ธรรมชาติหันมาอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมถึง

ความห่วงใยต่อสุขภาพและความต้องการอาหารปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น

3.10กระแสบูรพาภิวัตน์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการพัฒนาการเจริญเติบโตและ

วัฒนธรรมของประเทศภูมิภาคตะวันออกที่เป็นที่สนใจของประเทศต่างๆทั่วโลก

Page 58: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-58 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

4. อุปสรรค (threats)

4.1 เกษตรกรเป้าหมายหลากหลาย และส่วนใหญ่เป็นผู้ด้อยโอกาสขาดอำนาจต่อรองแทบ

ทุกมิติ เช่น ไม่มียศฐาบรรดาศักดิ์ ตำแหน่ง หรือฐานะทางสังคม ขาดโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร

การศึกษา การแสวงหาองค์ความรู้ ความรู้ เงินทุน อีกทั้งยังขาดการรวมตัวเป็นกลุ่มและเชื่อมโยงเป็น

เครือข่ายที่จะพึ่งพาอาศัยหรือรวมพลังเพื่อสร้างอำนาจต่อรอง

4.2 การเมืองภายในประเทศขาดความมั่นคง ส่งผลต่อความต่อเนื่องในเชิงนโยบายและ

การแปลงนโยบายด้านการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรไปสู่การปฏิบัติ

4.3 แนวโน้มการล่มสลายของระบบเศรษฐกิจกระแสหลักหรือเศรษฐกิจทุนนิยมที่รุนแรงและ

มีความชัดเจนเพิ่มขึ้นส่งผลให้กำลังซื้อสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ลดลง

4.4 สภาเกษตรกรซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแทนเกษตรกรในระดับต่างๆยังอยู่ในระยะการพัฒนา

ขั้นพื้นฐาน จึงยังไม่สามารถที่จะดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้านการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนา

การเกษตร ตามพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ทำให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ยังต้องทำหน้าที่ในการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรแทน

4.5 ภารกิจ โครงสร้าง เป้าหมาย นโยบาย แผนงาน โครงการ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์

งบประมาณ เทคนิคการทำงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีความแตกต่างกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง

โดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะต้องบูรณาการอย่างใกล้ชิด

ดังคำกล่าวที่ว่า “กระทรวงเกษตรผลิตกระทรวงพาณิชย์ขาย” ซึ่งมีความหมายในเชิงความสัมพันธ์ แต่ใน

ทางปฏิบัติค่อนข้างมีปัญหาในการบูรณาการการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรหลายด้าน เช่น

ด้านภารกิจหลัก ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ต้องรับผิดชอบงานการค้าทุกสาขา ด้านกลุ่มเป้าหมายหลัก ซึ่งได้แก่

ผู้ค้า นักธุรกิจและผู้ประกอบการที่มีอำนาจต่อรองและมีความพร้อมที่จะปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง

จึงสามารถพึ่งพาภายนอกเป็นหลักได้และด้านโครงสร้างซึ่งมีหน่วยงานส่วนกลางและต่างประเทศใกล้เคียง

กับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการต่างประเทศแต่มีหน่วยงานในพื้นที่น้อยเป็นต้น

แนวทาง การ ปรับ โครงสร้าง กา รบู รณา การ การ บริหาร งาน ส่ง เสริม และ พัฒนาการ เกษตร ของ

กระทรวง เกษตร และ สหกรณ์โครงสร้างองค์กรหรือหน่วยงานที่จะช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ มีองค์ประกอบที่

สำคัญ ได้แก่ มีขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจนและเหมาะสมมีการแบ่งหน้าที่งานชัดเจนมีขอบเขตของ

การควบคุมที่เหมาะสม และมีระบบการสั่งการที่ชัดเจนและเหมาะสม (ค้นจากwww.olrepublic.com/

careerlab/.../476-โครงสร้างองค์กรคืออะไร.htmlค้นคืนวันที่ 18มิถุนายน2556) และหน่วยงานที่ประสบ

ความสำเร็จในปัจจุบันโดยเฉพาะหน่วยงานที่ไม่เน้นผลกำไรที่เป็นตัวเงิน ส่วนใหญ่จัดโครงสร้างหน่วยงาน

แบบเน้นหน้าที่ และมีการเชื่อมโยงในแนวนอน โดยใช้ระบบสารสนเทศ และมีการติดต่อโดยตรงระหว่าง

แผนกงานต่างๆมีผู้ประสานงานเต็มเวลามีผู้จัดการและคณะทำงานหรือทีม(ค้นจาก:www.cdd.go.th/

samutsongkhram/cd_plan/540404_03plan.pdf รูปแบบการทำงานของพัฒนากรในอนาคตกองวิชาการ

และแผนงานกรมการพัฒนาชุมชนค้นคืนวันที่18มิถุนายน2556)

Page 59: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-59การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

จากผลการวิเคราะห์โครงสร้างการบูรณาการการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของ

หน่วยงานสงักดักระทรวงเกษตรและสหกรณ์พบวา่โครงสร้างของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มจีุดออ่นและ

อุปสรรค จุดแข็งและโอกาสที่จะนำมาปรับปรุงโครงสร้างให้สอดคล้องกับแนวคิดข้างต้นจึงขอเสนอแนะแนว

ทางการปรับปรุงโครงสร้างการบูรณาการการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของกระทรวงเกษตร

และสหกรณ์โดยแบ่งการนำเสนอออกเป็น2ส่วนได้แก่ข้อเสนอแนะการปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการ

อนุกรรมการ และคณะทำงานที่รับผิดชอบการบูรณาการการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรและ

ข้อเสนอแนะในการปรับโครงสร้างหน่วยงานที่รับผิดชอบการบูรณาการการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการ

เกษตรซึ่งสรุปได้ดังนี้

1. ข้อ เสนอ แนะ ใน การ ปรับ โครงสร้าง คณะ กรรมการ อนุกรรมการ และ คณะ ทำงาน ที่ รับ ผิด ชอบ

การบรูณ า การ การ บรหิาร งาน สง่ เสรมิ และ พฒันาการ เกษตรการบูรณาการการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนา

การเกษตรโดยคณะกรรมการเป็นรูปแบบที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีปัจจัยที่เกื้อหนุนหลาย

ประการ เช่น จัดตั้ง บริหารงาน และยุบเลิกง่าย มีค่าใช้จ่ายต่ำ แต่มีความยืดหยุ่น มีประสิทธิภาพและ

ประสิทธิผลสูง คือ สามารถจัดตั้งได้หลายคณะและแต่ละคณะสามารถจัดตั้งคณะอนุกรรมการ และ

คณะทำงานเฉพาะด้านได้หลายระดับ เช่นระดับประเทศระดับกระทรวงระดับกรมระดับภาคหรือเขตระดับ

จังหวัดระดับอำเภอและระดับตำบลผู้เกี่ยวข้องมีความคุ้นเคยทำความเข้าใจและบริหารง่ายแต่ขอบเขต

หน้าที่ความรับผิดชอบระบบการบูรณาการ ระบบการสั่งการและติดตามประเมินผลที่ชัดเจนและเหมาะสม

ของคณะกรรมการและหน่วยงานที่รับผิดชอบการบูรณาการการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรให้

มีขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ ระบบการบูรณาการ ระบบการสั่งการ และติดตามประเมินผลขาดความ

ชัดเจนและไม่เอื้ออำนวยต่อการบูรณาการการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรแบบมีการมีส่วนร่วม

ที่ยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง จึงขอเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง

เพื่อเป็นทางเลือกดังนี้

1.1 ปรับปรุงขอบเขตความรับผิดชอบการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาเกษตรของคณะ

กรรมการ อนุกรรมการและคณะทำงานทุกคณะและทุกระดับ ให้ทำหน้าที่บูรณาการการบริหารงานส่งเสริม

และพัฒนาการเกษตรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำและแปลงแผนแม่บทของ

สภาเกษตรกรแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติและขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด

1.2 ปรับปรุงคณะกรรมการบูรณาการการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรระดับ

ประเทศในภาพรวมให้เหลือเพียงคณะเดียว แต่มีคณะอนุกรรมการและคณะทำงานเฉพาะด้านหลายคณะ

ภายใต้คณะกรรมการดังกล่าว

1.3ปรบัปรงุองค์ประกอบและวธิีการสรรหาคณะกรรมการคณะอนกุรรมการและคณะทำงาน

ที่เกี่ยวข้องกับการบูรณาการการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรทุกคณะและทุกระดับ โดยเพิ่ม

ผูท้รงคณุวฒุิผู้เชีย่วชาญนกัวชิาการทัง้ที่เปน็ขา้ราชการประจำและขา้ราชการบำนาญผู้แทนองคก์รเกษตรกร

และผู้แทนสภาเกษตรกรแห่งชาติโดยให้แต่ละหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องเป็นผู้สรรหา

Page 60: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-60 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

1.4 ปรับปรุงขอบเขตสั่งการและการควบคุมงานของคณะกรรมการและอนุกรรมการ ให้

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุ่มเทองค์ความรู้ สรรพกำลังและทรัพยากรเพื่อสร้างจิตสำนึกร่วมในเป้าหมายและ

กระบวนการการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง โดยดำเนินงานใน

ลักษณะบูรณาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรครัวเรือน และชุมชนน้อมนำปรัชญา

ของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

2. ข้อ เสนอ แนะ ใน การ ปรับปรุง โครงสร้าง หน่วย งาน ที่ รับ ผิด ชอบ กา รบู รณา การ การ บริหาร งาน

สง่ เสรมิ และ พฒันาการ เกษตรดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าโครงสร้างหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ไม่เอื้ออำนวยต่อการบูรณาการการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการ

เกษตรให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ การเพิ่มผลสัมฤทธิ์ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรน้อมนำ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติเพื่อช่วยให้เกษตรกรมีความเข้มแข็ง สามารถปรับตัวได้ทันกับการ

เปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนโดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมที่เกษตรกรเป็นศูนย์กลางหลายประการ เช่น

ความซ้ำซ้อนของขอบเขตความรับผิดชอบและบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานระบบการบูรณาการประสาน

เชื่อมโยง ระบบการสั่งการ ระบบการควบคุมกำกับ จึงขอเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงโครงสร้าง

หน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อเป็นทางเลือกดังนี้

2.1 ปรับปรุงขอบเขตความรับผิดชอบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ครอบคลุมทั้งด้าน

การผลิตการแปรรูปและการตลาดสินค้าเกษตร

2.2 ปรับปรุงหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานที่รับผิดชอบการบริหารการส่งเสริม

การเกษตรและสหกรณ์ให้ทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนจัดทำและแปลงแผนแม่บทพัฒนาการเกษตรของ

สภาเกษตรกรแห่งชาติและขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ

2.3 ปรับปรุงหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานส่วนกลางที่มีความซ้ำซ้อนให้ชัดเจนแบบ

เน้นหน้าที่ เช่น กรมส่งเสริมการเกษตรรับผิดชอบการบูรณาการการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการ

เกษตรทุกสาขาเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่ 1 และ 2

ไปปฏิบัติ และกรมส่งเสริมสหกรณ์รับผิดชอบการบูรณาการการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่ 3 ไปปฏิบัติ เป็นต้น

โดยหน่วยงานอื่น ๆ ทำหน้าที่เป็นหน่วยสนับสนุนทั้งด้านวิชาการและการปฏิบัติ เช่น กรมชลประทาน

กรมพัฒนาที่ดิน และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นหน่วยสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน

และปัจจัยการผลิตกรมวิชาการเกษตรกรมการข้าวกรมหม่อนไหมกรมปศุสัตว์และกรมประมงเป็นหน่วย

สนับสนุนด้านวิชาการด้านสินค้าเกษตรที่เกี่ยวข้องเป็นต้น

2.4 ปรับปรุงหน่วยงานในภูมิภาคแบบเน้นหน้าที่โดยจัดให้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่บูรณาการ

การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรโดยแบ่งหน่วยงานระดับจังหวัดออกเป็น3กลุ่มได้แก่

2.4.1 หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านแผนการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำและแปลง

แผนแม่บทพัฒนาการเกษตรของสภาเกษตรกรแห่งชาติ และการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพเช่นสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด

Page 61: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-61การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

2.4.2 หน่วยงานด้านการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่ 3 เช่นสำนักงาน

สหกรณ์จังหวัด

2.4.3 หน่วยงานด้านการสนับสนุนด้านวิชาการและการปฏิบัติงานในแต่ละด้าน เช่น

สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสำนักงานประมงจังหวัด

2.5 ปรับปรุงหน่วยงานส่วนกลางที่อยู่ในภูมิภาคให้ทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการ

ปฏิบัติงานของหน่วยงานระดับจังหวัด พร้อมทั้งปรับจำนวนเขตและพื้นที่รับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน

ให้เหมือนกัน

2.6 ปรับปรุงหน้าที่ของสำนักงานเกษตรอำเภอให้เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ส่งเสริมและ

สนับสนุนให้เกษตรกรน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่1และ2ไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ

2.7 ปรับปรุงระบบการบูรณาการประสานเชื่อมโยงในส่วนที่ขาดประสิทธิภาพ เช่น การ

บูรณาการเพื่อสนับสนุนการจัดทำและขับเคลื่อนแผนแม่บทสภาเกษตรกรแห่งชาติรับผิดชอบการบูรณาการ

ระดับพื้นที่เช่นบูรณาการปฏิบัติงานของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอด

เทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลหรือคณะอนุกรรมการบูรณาการการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการ

เกษตรแต่ละระดับกับผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนเกษตรกรระดับหมู่บ้านตำบลอำเภอสภาเกษตรกร

จังหวัดและสภาเกษตรกรแห่งชาติตามพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติพ.ศ.2553

สรุป การปรับปรุงโครงสร้างของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมและ

สนับสนุนการจัดทำและแปลงแผนพัฒนาการเกษตรของสภาเกษตรกรแห่งชาติและขับเคลื่อนปรัชญาของ

เศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติ จะต้องปรับปรุงโครงสร้างของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และ

คณะทำงานบูรณาการงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรและโครงสร้างหน่วยงานที่รับผิดชอบการบูรณาการ

งานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ระดับต่างๆ ให้มีขอบเขตหน้าที่ความ

รับผิดชอบ ระบบการบูรณาการ ระบบการสั่งการ และติดตามประเมินผลที่ชัดเจน โดยปรับปรุงโครงสร้าง

หน่วยงานแบบเน้นหน้าที่และมีการเชื่อมโยงในแนวนอนโดยใช้ระบบสารสนเทศและมีการติดต่อโดยตรง

ระหว่างแผนกงานต่างๆ

Page 62: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-62 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

เรื่อง ที่ 15.3.2 แนวทาง การ บรหิาร งาน สง่ เสรมิ และ พฒันาการ เกษตร

ด้าน กระบวนการ ส่ง เสริม และ พัฒนาการ เกษตร

การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรด้านกระบวนการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร เป็น

อีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้การบูรณาการการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรด้านกระบวนการส่งเสริม

และพัฒนาการเกษตรให้บรรลุเป้าหมายที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจ

พอเพียงไปปรับใช้ เพื่อให้สามารถปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงแต่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของ

การบรหิารงานสง่เสรมิและพฒันาการเกษตรขึน้อยู่กบัความสอดคลอ้งของกระบวนการสง่เสรมิและพฒันาการ

เกษตรกับสถานการณ์ด้านต่างๆ เรื่องนี้จึงเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงกระบวนการส่งเสริมและพัฒนาการ

เกษตรเพื่อเป็นทางเลือก โดยแบ่งการนำเสนอออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การวิเคราะห์กระบวนการส่งเสริม

และพัฒนาการเกษตร และข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกระบวนการบูรณาการการบริหารงานส่งเสริมและ

พัฒนาการเกษตรโดยสรุปดังนี้

1. การ วิเคราะห์ กระบวนการ ส่ง เสริม และ พัฒนาการ เกษตรการพัฒนา(development)มีผู้ให้ความหมายที่หลากหลาย แต่สามารถสรุปได้ว่าคือกระบวนการ

ของการกำหนดภาพรวมอนาคต(scenario)ของกลุ่มเป้าหมาย(targetgroup)เอาไว้เพื่อให้มีการควบคุม

จัดการ (manipulate) ทิศทางและแนวโน้ม (ด้วยยุทธศาสตร์/กลยุทธ์ที่เหมาะสม) ให้บรรลุเป้าหมายด้วย

การส่งผลให้เกิดการกระจายความเสมอภาค (equity in distribution) ในเรื่องของรายได้ (income)

คุณภาพชีวิต(qualityoflife)การสร้างโอกาสของอิสรภาพ(opportunityforfreedom)ด้านการมีการเป็น

การอยู่ การทำตามกรอบของสังคมโลกของความเป็นมนุษย์และการรักษาความสมดุลของสิ่งแวดล้อมและ

ทรัพยากรธรรมชาติ (ดิเรก ฤกษ์หร่าย 2555: 5) และทฤษฎีที่ใช้ในการพัฒนาประเทศที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมี

หลายทฤษฎีเช่น ทฤษฎีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตามลำดับทฤษฎีฝนหล่นจากฟ้าทฤษฎีการกระจาย

รายได้และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจทฤษฎีความทันสมัยทฤษฎีการด้อยพัฒนาและการพึ่งพาทฤษฎี

ความจำเปน็พืน้ฐานและทฤษฎีความสมดลุและนเิวศวทิยา(http://web.agri.cmu.ac.th/extens/Course_

all/Course/352721/352721_update/9กระบวนวิชา352721การส่งเสริมการเกษตรกับการพัฒนาชนบท

ค้นคืนวันที่18มิถุนายน2556)

การส่งเสริมการเกษตร(agriculturalextension)ก็มีผู้ให้ความหมายที่หลากหลายเช่นองค์การ

อาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ(Bradfield,1977)ArthurT.Mosher(1976)A.V.Allo(1982)Russel

(1981) Savile (1965) ดิเรก ฤกษ์หร่าย (2524) แต่ไม่ว่าจะให้ความหมายอย่างไร หรือใช้คำใด ล้วนมี

ความหมายเดียวกันคือการให้การศึกษาเพื่อการดำรงชีพและการให้บริการแก่ประชาชนชาวชนบทเพื่อให้มี

Page 63: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-63การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นหรือสามารถสรุปได้ว่าการส่งเสริมการเกษตรคือกระบวนการให้การศึกษานอกโรงเรียน

และการบริการแก่บุคคลเป้าหมาย ซึ่งหมายถึง เกษตรกรและครอบครัวเกษตรกร โดยวิธีการปฏิบัติจริง

(learningbydoing) และเนน้ให้เกษตรกรชว่ยเหลอืตนเอง(teachthemtohelpthemselves)เพือ่ปรบัปรงุ

ความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นทั้งด้านเกษตรเศรษฐกิจและสังคม ส่วนกระบวนการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการ

การเกษตรสามารถสรุปได้ว่าคือกระบวนการในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกรในชนบท

รวมทั้งวิถีชีวิตให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอีกทั้งเป็นการให้บริการแก่ประชาชนด้านการเกษตรโดยให้คำปรึกษา

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นตลอดจนแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้เขาได้รับความรู้นำไปปฏิบัติด้วยตัวของเขาเอง

จนสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ซึ่งความหมายดังกล่าวเป็นความหมายภายใต้หลักปรัชญาของการส่งเสริม

การเกษตร(philosophyofagriculturalextension)Flores(1983)ซึ่งสามารถแยกเป็นข้อได้ดังนี้

1)การส่งเสริมการเกษตรยึดหลักที่ว่าชาวชนบทมีเชาวน์ไหวพริบความสามารถและประสงค์ที่จะ

รับข่าวสารและใช้ประโยชน์เพื่อความผาสุกของงานและชุมชนจึงสมมติ(assume)ได้ว่าการส่งเสริมจึงต้อง

ยึดหลักการเข้าหาโดยตรง(directapproach)

2)การส่งเสริมเริ่มต้นจากสิ่งที่ประชาชนมีอยู่และที่เขาอยู่

3)ห้องเรียนทางการส่งเสริมคือสถานที่ที่ประชาชนอยู่ไม่ว่าจะเป็นไร่นาบ้านหรือในหมู่บ้าน

4) โครงการส่งเสริมยึดความต้องการของประชาชนเป็นเกณฑ์ และโครงการนั้นได้มาจากการ

ตัดสินใจของประชาชนและประชาชนเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง

5)การส่งเสริมเป็นการทำงานกับประชาชนโดยประชาชน ผู้นำท้องถิ่นที่ได้การฝึกอบรมจาก

เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรแล้วนำไปเผยแพร่กระจายข่าวไปยังบุคคลอื่น

6) การให้การศึกษาแก่ประชาชนกระทำได้ทั้งในรูปของกลุ่มและรายบุคคล

7) วิญญาณในการช่วยเหลือตนเอง (the spirit of self-help) เป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต

แบบประชาธิปไตย

8) การส่งเสริมประกอบด้วยการทำงานกับประชาชนในที่ที่เขาอยู่ (where theyhave) และสิ่งที่

เขามีอยู่(whattheyhave)

สำหรับกรอบที่ใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรตามหลักปรัชญาข้างต้น สรุปได้

ดังนี้(วัลลภพรหมทอง.2541)

1)การทำงานร่วมกับบุคคลเป้าหมายไม่ใช่ทำงานให้บุคคลเป้าหมาย เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร

ควรชี้นำให้บุคคลเป้าหมายพยายามช่วยตัวเองไม่ควรทำอะไรให้ทั้งหมดแต่ร่วมแก้ไขปัญหา

2)การเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสมัครใจ จะทำให้มีความรู้สึกเป็นเจ้าของและทำให้ผลงานมี

ประสิทธิภาพสูง

3)การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง ทำให้บุคคลเป้าหมายเกิดความชำนาญและเกิดความมั่นใจ

เมื่อนำไปปฏิบัติจริง

4)ส่งเสริมบนพื้นฐานของความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นจะทำให้บรรลุตามเป้าหมายเร็ว

เพราะตรงกับความต้องการและเกิดประโยชน์กับส่วนรวม

Page 64: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-64 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

5)ส่งเสริมบนพื้นฐานของสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายรู้และมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรู้ความสามารถ

รวมทั้งปัจจัยต่างๆที่มีอยู่ในท้องถิ่นของบุคคลเป้าหมายนั้นๆ

6) การส่งเสริมควรเป็นแบบสหสาขาวิชา เพื่อให้พัฒนาบุคคลเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7) ส่งเสริมให้บุคคลเป้าหมายทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเพื่อเพิ่มพลังต่อรองทางเศรษฐกิจและสังคม

และเป็นช่องทางในการรับบริการส่งเสริมได้ดียิ่งขึ้น

8) ส่งเสริมให้สอดคล้องกับสังคม วัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น เพื่อให้สามารถดำเนินการได้

สะดวกและประสบความสำเร็จ

9) การส่งเสริมควรให้ความสำคัญกับกลุ่มเป้าหมายเท่าเทียมกันทุกๆกลุ่ม

10) การส่งเสริมควรยึดหลักให้บุคคลเป้าหมายมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมทุกขั้นตอน ตั้งแต่

การวางแผนการปฏิบัติตามแผน และการประเมินผล เพราะจะทำให้งานประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น บุคคล

เป้าหมายมีความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการงานหรือกิจกรรม

11) การส่งเสริมควรยึดหลักการสื่อสารแบบยุคลวิถีหรือการสื่อสาร2ทางเพราะเจ้าหน้าที่ส่งเสริม

จะได้ทราบปฏิกิริยาของบุคคลเป้าหมาย

สำหรับหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบการบูรณาการการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของ

ประเทศไทยในหลักการคือกรมส่งเสริมการเกษตร และกระบวนการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ใช้อยู่

ในปัจจุบันประกอบด้วยระบบย่อย2ระบบดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในหน่วยที่14ได้แก่

1) ระบบการปฏิบัติงานในพื้นที่ ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร

ประจำตำบล เป็นกลไกในการเชื่อมโยงหรือบูรณาการงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรระดับตำบลของ

หน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับท้องถิ่น โดยอาสาสมัครเกษตร เกษตรหมู่บ้าน และอาสา

สมัครเกษตรหมู่บ้านทำหน้าที่เป็นผู้ขับเคลื่อนงานในระดับหมู่บ้านตามระบบส่งเสริมการเกษตร4ด้านหลัก

(วิทยาอธิปอนันต์2555:2-5) ได้แก่

(1) ด้านการจัดทำข้อมูลการเกษตรโดยศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำ

ตำบลมีส่วนร่วมในการรวบรวมจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับเวทีเครือข่าย

(2) ด้านการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบล โดยการประชุมคณะกรรมการบริหาร

ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลร่วมกับท้องถิ่นและหน่วยงานภาคีในการวางแผน

จัดทำแผนพัฒนาระดับหมู่บ้าน วิเคราะห์และจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบลเพื่อบูรณาการกับ

แผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

(3) ด้านการจัดการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยกำหนดหลักสูตรให้ตรงกับประเด็น

ปัญหา จัดกลุ่มเกษตรกรตามปัญหาความต้องการของเกษตรกร และสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อต่อยอด

การผลิตของเกษตรกร

(4) ด้านการให้บริการด้านการเกษตร ได้แก่ ด้านข้อมูลการเกษตร เครื่องมืออุปกรณ์

การเกษตรเอกสารคำแนะนำโดยให้บริการผ่านช่องทางต่างๆซึ่งเข้าถึงเกษตรกรได้อย่างรวดเร็ว

Page 65: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-65การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

การปฏิบัติงานดังกล่าว เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจะทำหน้าที่ประสานและอำนวยความสะดวก

และ“นำพา”ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลและเครือข่ายการทำงานในพื้นที่ให้

ดำเนนิการไปในทศิทางที่เหมาะสมและเปน็ประโยชน์ตอ่การพฒันาการเกษตรในภาพรวมโดยมีความยดืหยุน่

และอิสระ สำหรับเจ้าหน้าที่สามารถประยุกต์และปรับใช้ในการปฏิบัติงานภายใต้สภาพแวดล้อมแต่ละพื้นที่

และมุ่งเน้นผลสำเร็จของงานตามหลักการของการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์เป็นสำคัญ (สุรพลจารุพงศ์. 2555)

2) ระบบสนบัสนนุการปฏบิตัิงานเปน็การสนบัสนนุการทำงานของสำนกังานเกษตรอำเภอให้สามารถ

ดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรให้บรรลุเป้าหมายตามพันธกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

เชน่การเสรมิสรา้งขดีความสามารถของบคุลากรการสนบัสนนุดา้นวชิาการตา่งๆ และการจดัการกระบวนการ

เรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดทำฐานข้อมูลกลาง การประชาสัมพันธ์และ

เผยแพร่งานส่งเสริมการเกษตรผ่านสื่อต่าง ๆ การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายและ

ตัวชี้วัดโดยการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการเกษตรระดับจังหวัด(ProvincialWorkshop: PW)การ

จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ(DistrictWorkshop:DW)การจัดประชุมเกษตร

จงัหวดัและหวัหนา้สว่นราชการระดบัเขตการจดัประชมุเกษตรอำเภอประจำเดอืนการประชมุสำนกังานเกษตร

อำเภอประจำเดือน การนิเทศงาน การติดตามประเมินผล และการวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร

เป็นต้น

ระบบการปฏิบัติงานในพื้นที่ และระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานในพื้นที่ มีจุดแข็งและโอกาส

จุดอ่อนและปัญหาหลักสรุปได้ดังนี้

1. จุด แข็ง และ โอกาส ของ ระบบ ส่ง เสริม การเกษตร ใน ปัจจุบัน ระบบส่งเสริมการเกษตรในปัจจุบัน

มีจุดแข็งและโอกาสที่สำคัญหลายประการเช่น

1) สอดคล้องกับหลักและแนวทางการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรตามหลักปรัชญาของ

การส่งเสริมการเกษตร ทฤษฎีการพัฒนาประเทศหลักการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรโดยยึด

เกษตรกรเป็นศูนย์กลางการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรแบบให้ประชาชนมีส่วนร่วมการบริหาร

งานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรแบบบูรณาการเศรษฐกิจและการจัดการภาครัฐแนวใหม่

2) มีความชัดเจนเนื่องจากผ่านการทดสอบดำเนินการและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง

3) เชื่อมโยงทั้งการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของหน่วยงานส่วนกลาง ส่วน

ภูมิภาคระดับท้องถิ่นและระดับชุมชน

4) ยืดหยุ่นคล่องตัวสามารถปรับแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับปัญหาศักยภาพ

ของพื้นที่และความต้องการของเกษตรกรตลอดจนสถานการณ์ภายนอกชุมชน

5) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรอาวุโสที่ผ่านการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรตามระบบ

ฝึกอบรมและเยี่ยมเยียน (T&V System) จำนวนมาก มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานตามระบบ

ส่งเสริมการเกษตรในปัจจุบันสามารถเป็นพี่เลี้ยงเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดี

Page 66: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-66 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

6) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริม

การเกษตรสูงขึ้น เนื่องจากการเพิ่มสัดส่วนของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่มีผลงานดีเด่นและได้รับการ

ยกย่องเชิดชู และได้รับการส่งเสริมให้เข้ารับการฝึกอบรมนักบริหาร การศึกษาดูงานและการบรรจุแต่งตั้ง

ในตำแหน่งที่สูง

7) มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2555 รับทราบความเห็นและข้อเสนอแนะ

ของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่องศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำ

ตำบลและรับทราบความเห็นผลการพิจารณาและผลการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับ

กระทรวงวทิยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงศกึษาธกิารสำนกังานคณะกรรมการพฒันาการเศรษฐกจิและ

สังคมแห่งชาติสำนักงบประมาณและสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่ให้หน่วยงานต่างๆบูรณาการ

การส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรผ่านศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล(สำนักงาน

เลขาธิการคณะรัฐมนตรี2555)ซึ่งมีประเด็นหลักดังนี้

(1)การบูรณาการงานถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีให้กับชุมชน

ก. มอบให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ประสานความร่วมมือไปยังองค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่น ในลักษณะของหนังสือให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำภารกิจด้านศูนย์บริการและ

ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลบรรจุไว้ในแผนยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใน

ลักษณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องทำและดำเนินการร่วมกับภาครัฐ

ข.ให้ทุกส่วนงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนการดำเนินงาน

ของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลตามแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบล

ค. ให้ทุกส่วนราชการประสานการดำเนินงานในพื้นที่โดยผ่านศูนย์บริการและ

ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และดำเนินการร่วมกัน

ง. ให้สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน

ประกาศให้ภารกิจถ่ายโอนศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเป็นภารกิจที่องค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่นต้องทำและดำเนินการร่วมกับภาครัฐ

จ.ปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยี

การเกษตรประจำตำบลให้ชัดเจนในการขับเคลื่อนงานโดยให้มีผู้แทนสภาเกษตรกรร่วมเป็นกรรมการด้วย

ฉ.ให้ทุกส่วนราชการบูรณาการแผนการถ่ายทอดความรู้โดยมีศูนย์บริการและ

ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเป็นกลไกในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาการเกษตรและดำเนินการ

ถ่ายทอดความรู้ภายใต้การบริหารจัดการของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลใน

ลักษณะเป็นการบริการเพียงจุดเดียว (one stop service) โดยมีศูนย์การเรียนรู้ของหน่วยงานต่างๆ เป็น

เครือข่ายในการถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน

ช. ให้สำนักนวัตกรรมแห่งชาติ สนับสนุนข้อมูลหรือองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์

ต่อชุมชนและให้ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลนำไปเผยแพร่หรือจัดให้มีการ

ถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน

Page 67: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-67การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

(2) การทำหน้าที่บริการและถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีชุมชน

ก. มอบกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานประสาน

ข้อมูลองค์ความรู้เอกสารนิทรรศการจากภาครัฐเอกชนและประชาชนสนับสนุนให้ศูนย์บริการและถ่ายทอด

เทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเป็นศูนย์กลางข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรในพื้นที่

ข. ให้ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลมีบทบาทด้าน

การอนุรักษ์ เป็นศูนย์กลางการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรระดับตำบลโดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

สนับสนุนการดำเนินงานและงบประมาณให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนสนับสนุนวิชาการและให้คำปรึกษา

แนะนำวิชาการแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานด้านการเกษตร

ค. ให้ทุกหน่วยงานที่มีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้ความสำคัญจะต้องสนับสนุน

ข้อมูลและงบประมาณให้ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเพื่อดำเนินการถ่ายทอด

ความรู้ตามความต้องการของเกษตรกรตามความเหมาะสม

ง. ให้กรมส่งเสริมการเกษตรเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับองค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่น และสภาเกษตรกรแห่งชาติ จัดประชุมสัมมนาเพื่อถ่ายทอดผลงานและประสบการณ์การ

บริหารระหว่างศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลทุกระดับ

(3) ด้านงบประมาณ หากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นให้องค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่นนำภารกิจด้านศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลบรรจุไว้ในแผน

ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในลักษณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องดำเนินการ

ตามภารกิจถ่ายโอนทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการจัดสรรงบประมาณเห็นควรให้ขอจัดสรรงบประมาณ

รายจ่ายประจำปีผ่านกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะกำกับดูแลต่อไป

8) การจัดทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริมและ

พัฒนาการเกษตรของท้องถิ่นระหว่างกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและกรมส่งเสริมการเกษตร (MOU)

เมื่อวันที่17เมษายน2551ซึ่งมีประเด็นความร่วมมือในด้านต่างๆ(วิทยาอธิปอนันต์.2555:2-5)ได้แก่

(1) การพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครอง

ท้องถิ่นและกรมส่งเสริมการเกษตร

(2) การจัดทำฐานข้อมูลการเกษตร

(3) การพัฒนาและการให้บริการด้านการเกษตร

(4) การบูรณาการแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบลกับแผนพัฒนาท้องถิ่นเพื่อพัฒนา

องค์ความรู้

(5) การศึกษาวิจัยและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน

9) พระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติพ.ศ. 2553 เกื้อกูลและเสริมหนุนการบริหารงาน

ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่เน้นการบูรณาการแบบการมีส่วนร่วมที่ยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลางเพื่อ

ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติ (กระทรวงเกษตร

และสหกรณ์2554:1-20)

Page 68: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-68 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

10) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีความพร้อมในการสนับสนุนการ

ถ่ายทอดเทคโนโลยีและการสื่อสารระหว่างศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลกับ

เกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น

(1)ศูนย์เรียนรู้ ICT ชุมชนที่กระจายอยู่ทั่วประเทศพร้อมที่จะให้ความรู้ด้าน ICT

แก่เกษตรกร ซึ่งสามารถบูรณาการการใช้ประโยชน์ร่วมกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร

ประจำตำบลในพื้นที่ โดยศูนย์เรียนรู้ ICT ชุมชนทุกศูนย์สามารถจัดอบรมให้ความรู้ด้าน ICTพื้นฐานให้

แก่เกษตรกรได้ณศูนย์เรียนรู้ICTชุมชนที่มีอยู่ทั่วประเทศ

(2) ระบบสารสนเทศชุมชนที่เป็นพอร์ทข้อมูลที่จำเป็นสำหรับเกษตรกร สามารถ

รองรับการแลกเปลี่ยนข้องมูลของหน่วยงานเจ้าของข้อมูลต่างๆได้ซึ่งศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยี

การเกษตรประจำตำบลสามารถใช้ระบบนี้ สร้างเว็บไซต์ของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร

ประจำตำบลทุกแห่งแบบเฉพาะ เพื่อให้ข้อมูล/ความรู้แก่เกษตรกรเป้าหมายได้ โดยกระทรวงเทคโนโลยี

สารสนเทศและการสื่อสารมีระบบสารสนเทศที่พร้อมจะร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดฝึกอบรม

เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในการพัฒนาเว็บไซต์ของตนเองจาก

ระบบสารสนเทศชุมชนของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

11) การเป็นประชาคมอาเซียนและการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก โดยเฉพาะการล่มสลาย

ของเศรษฐกิจกระแสหลัก และการเพิ่มของประชากร รวมทั้งแนวโน้มการเพิ่มสังคมผู้สูงอายุ ความห่วงใย

สขุภาพและสิง่แวดลอ้มและวกิฤตกิารณ์โลกในหลายๆดา้นไม่วา่จะเปน็วกิฤติเศรษฐกจิวกิฤตกิารณ์อาหาร

วกิฤติพลงังานและวกิฤตกิารณ์โลกรอ้นที่ทำให้ภาคเกษตรและระบบสง่เสรมิการเกษตรมีความสำคญัเพิม่ขึน้

2. จดุ ออ่น และ อปุสรรค ของ ระบบ สง่ เสรมิ การเกษตร ใน ปจัจบุนั จากประสบการณ์การสงัเกตการณ์

และการรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพทำให้สรุปปัญหาและอุปสรรคของระบบส่งเสริมการเกษตรใน

ปัจจุบันได้ดังนี้

1) รัฐบาลและผู้บริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรให้ความสำคัญค่อนข้างน้อยใน

ภาคปฏิบัติกับหลักและแนวทางการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรตามหลักปรัชญาของการส่งเสริมการเกษตร

ทฤษฎีการพัฒนาประเทศด้านการเกษตรหลักการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรโดยยึดเกษตรกร

เป็นศูนย์กลาง การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรแบบให้ประชาชนมีส่วนร่วม การบริหารงาน

สง่เสรมิและพฒันาการเกษตรแบบบรูณาการเศรษฐกจิและการบรหิารแนวใหม่ สว่นใหญ่จะให้ความสำคญักบั

การกำหนดนโยบายแผนงานโครงการและการพัฒนาประเทศและภาคเกษตรตามทฤษฎีความเจริญเติบโต

ทางเศรษฐกิจมากกว่าการยึดระบบการมีส่วนร่วมและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลัก

2) นโยบายรฐัสว่นใหญ่ขดัแยง้กบัหลกัการขา้งตน้โดยเฉพาะนโยบายการพฒันาประเทศตาม

ทฤษฎีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เน้นการพึ่งพาปัจจัยภายนอกนโยบายประชานิยมนโยบายเร่งด่วน

และนโยบายการลงทุนภาคอื่นๆที่เสริมหนุนภาคเกษตรน้อย

3) ระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานในพื้นที่มีประสิทธิภาพต่ำ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเสริมสร้าง

ขีดความสามารถของบุคลากรการสนับสนุนด้านวิชาการต่าง ๆ และการจัดการกระบวนการเรียนรู้ การใช้

Page 69: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-69การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่สารในการจดัทำฐานขอ้มลูกลางการประชาสมัพนัธ์และเผยแพร่งานสง่เสรมิ

การเกษตรผ่านสื่อต่างๆ การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานรวมทั้งด้านการสนับสนุนงบประมาณใน

การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

4) เจา้หนา้ที่สง่เสรมิการเกษตรมีโอกาสปฏบิตัิงานตามระบบสง่เสรมิการเกษตรนอ้ยเนือ่งจาก

ผู้บริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรให้ความสำคัญกับงานด้านนี้น้อยเพราะเป็นงานพื้นฐานของการ

พฒันาอยา่งยัง่ยนืที่เหน็ผลชา้แต่หนัมาให้ความสำคญักบังานที่ได้รบัผลตอบแทนเรว็เชน่การจดังานเทศกาล

การจัดงานแสดงสินค้า งานขึ้นทะเบียนเกษตรกร (ทบก.) และงานขึ้นทะเบียนผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจ (ทพศ.)

เพื่อการประกันราคาสินค้าเกษตร แทนการนำมาใช้ในการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรระดับ

ครัวเรือนระดับกลุ่มระดับชุมชนและระดับประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

5) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีช่องว่างระหว่างวัยสูง เนื่องจากเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มี

อายุมากกว่า 50 ปี มีความรู้และประสบการณ์ด้านการเกษตรและการปฏิบัติงานแบบการมีส่วนร่วมและ

การบูรณาการสูงโดยเฉพาะเทคนิคการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรเทคนิคการทำงานกับเกษตรกรผู้นำ

เกษตรกรกลุม่และมวลชนมีปฏสิมัพนัธ์กบัหนว่ยงานตา่งๆและมีความรกัใคร่ชว่ยเหลอืเกือ้กลูมีความเปน็

พี่เป็นน้องยกย่องซึ่งกันและกัน รังเกียจการดูถูกเหยียดหยามจนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรแต่มีความรู้

ความชำนาญด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศน้อยส่วนเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรรุ่นใหม่ส่วนใหญ่มีอายุ

ต่ำกว่า 30 ปี มีความรู้ความชำนาญด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสูง แต่มีประสบการณ์ในการทำงาน

น้อยมากประกอบกับขาดความรู้ความเข้าใจด้านการเกษตรและระบบส่งเสริมการเกษตร โดยเฉพาะระบบ

การปฏิบัติงานในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรกลุ่มนี้ใช้วิธีปฏิสัมพันธ์กับผู้ที่เกี่ยวข้องผ่านสื่อทาง

ไกล ให้ความสนใจการปฏิสัมพันธ์ฉันพี่น้องน้อย ไม่เชื่อมั่นเชื่อมือ ไม่นับถือผู้อาวุโส ทำให้ไม่สามารถที่

จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ขาดพี่เลี้ยงที่จะสอนงานและขาดตัวอย่างเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร

รุ่นพี่ที่ทำงานดีมีความก้าวหน้าพอที่จะใช้เป็นต้นแบบ แม้ว่าส่วนใหญ่จะมีผลงานดีแต่ไม่มีความก้าวหน้าใน

อาชีพรับราชการ

6) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรปรับตัวช้ากว่าเกษตรกรและได้รับความเชื่อถือจากเกษตรกร

ลดลงเนื่องจากได้รับข่าวสารและให้ความสนใจกับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆน้อยในขณะที่เกษตรกร

โดยเฉพาะเกษตรกรที่เป็นคนชนบทเสมือนคนเมืองและคนเมืองเสมือนคนชนบทที่สนใจการทำการเกษตร

ในเชิงธุรกิจมีความรู้มีเครือข่ายและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและฐานทรัพยากรสูง

7) การขาดแคลนอัตรากำลังของเจ้าหน้าที่มีสูงมากเนื่องจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร

ส่วนใหญ่มีอายุเกิน 50 ปี และเป็นกลุ่มที่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรรุ่นใหม่ให้ความสำคัญ

กับคนกลุ่มนี้น้อยมากทำให้คนกลุ่มนี้ไม่มีกำลังใจที่จะปฏิบัติหน้าที่และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่อายุ

น้อยกว่าไม่สามารถที่จะทดแทนคนกลุ่มนี้ได้เนื่องจากสอนงานให้กันไม่ได้และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร

รุ่นกลางที่มีอายุระหว่าง30-50ปีมีน้อยมากเนื่องจากนโยบายการลดขนาดภาคราชการและการเกษียณอายุ

ราชการก่อนกำหนดอย่างต่อเนื่องยาวนาน

Page 70: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-70 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

8) ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล(ศบกต.)มีความหลากหลาย

ไม่มีเอกภาพพอที่จะทำหน้าที่บริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรระดับตำบลตามระบบการปฏิบัติงาน

ในพื้นที่ แม้ว่าบางศูนย์จะประสบความสำเร็จในการบริหารงานดังตัวอย่างในตอนที่15.2และกรมส่งเสริม

การเกษตรจัดทำโครงการสัมมนาเพื่อถ่ายทอดผลงานและประสบการณ์การบริหารระหว่างศูนย์บริการและ

ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลทุกระดับ (นำร่อง) ร่วมกับภาคีเครือข่ายแล้ว แต่องค์ความรู้

ที่มีอยู่และถ่ายทอดสู่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรรุ่นใหม่ยังไม่ทั่วถึง

และเพียงพอ

9) องค์การบริหารส่วนตำบล ส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญกับการบริหารงานส่งเสริมและ

พัฒนาการเกษตรน้อย และยังไม่สามารถที่จะดำเนินงานที่ได้รับการถ่ายโอนภารกิจจากกรมส่งเสริม

การเกษตร หรือดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริมและ

พฒันาการเกษตรของทอ้งถิน่ระหวา่งกรมสง่เสรมิการปกครองทอ้งถิน่และกรมสง่เสรมิการเกษตร(MOU)ได้

อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากปัญหาหลายประการเช่นกรมส่งเสริมการเกษตรและสำนักงานคณะกรรมการ

การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่มีงบประมาณในการสร้างความเข้าใจขั้นตอน

และวิธีปฏิบัติงานในการขับเคลื่อนศบกต. อปท.มีงบประมาณจำกัด ไม่เพียงพอในการสนับสนุนงานของ

ศบกต. และกฎ ระเบียบ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานในพื้นที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขให้สอดคล้อง

และสนับสนุนการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกษตรกรไม่ได้รับประโยชน์เต็มที่ (วิทยา

อธิปอนันต์.2555:3)

10)ระบบงานของสภาเกษตรกรแห่งชาติ สภาเกษตรกรจังหวัด รวมถึงการปฏิบัติงานของ

ผู้แทนเกษตรกรระดับหมู่บ้านและตำบลที่ได้รับการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ

พ.ศ.2553ไม่เอื้ออำนวยต่อการบูรณาการงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร เช่นบทบาทหน้าที่ของผู้แทน

เกษตรกรระดบัหมูบ่า้นและตำบลการบูรณาการการปฏบิตัิงานระหวา่งสภาเกษตรกรจงัหวดัและสภาเกษตรกร

แห่งชาติ กับอาสาสมัครเกษตร อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร

ประจำตำบลและหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทุกระดับยังขาดความชัดเจน

2. ข้อ เสนอ แนะ ใน การ ปรับปรุง กระบวน กา รบู รณา การ การบริหาร งาน ส่ง เสริม และ พัฒนาการ

เกษตรการปรบัปรงุโครงสรา้งการบรหิารงานสง่เสรมิและพฒันาการเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ให้เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำและแปลงแผนพัฒนาการเกษตรของสภาเกษตรกร

แห่งชาติและขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องดำเนินการ

ควบคู่กับ การปรับปรุงกระบวนการบูรณาการการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรหรือระบบ

ส่งเสริมการเกษตร ให้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล

สามารถบูรณาการกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้แทนเกษตรกรตามพระราชบัญญัติสภาเกษตรกร

แห่งชาติพ.ศ.2553ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Page 71: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-71การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

ผลการวเิคราะห์จดุแขง็และโอกาสจดุออ่นและอปุสรรคชี้ให้เหน็วา่แมว้า่ในทางปฏบิตัิระบบสง่เสรมิ

การเกษตรในปัจจุบันจะมีจุดอ่อนและอุปสรรคหลายประการ แต่ก็มีจุดแข็งและโอกาสที่จะนำมาใช้ในการ

ปรับปรุงกระบวนการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรให้เอื้ออำนวยต่อการบูรณาการงานส่งเสริมและ

พัฒนาการเกษตรแบบมีส่วนร่วมที่ยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลางเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรน้อมนำ

ปรชัญาของเศรษฐกจิพอเพยีงไปปรบัใช้โดยเฉพาะมตคิณะรฐัมนตรเีรือ่งศนูย์บรกิารและถา่ยทอดเทคโนโลยี

การเกษตรประจำตำบลเมือ่วนัที่24กรกฎาคม2555และการจดัทำบนัทกึความรว่มมอืสนบัสนนุการดำเนนิงาน

ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของท้องถิ่น ระหว่างกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและกรมส่งเสริม

การเกษตร เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2551 ที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยี

การเกษตรประจำตำบลเป็นกลไกหลักในการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรระดับพื้นที่หรือตำบล

โดยบูรณาการกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสภาเกษตรกร รวมทั้งการถ่ายโอนงานศูนย์บริการและ

ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นการบริหารงานส่งเสริมและ

พัฒนาการเกษตรที่สอดคล้องกับหลักและแนวทางการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรตามหลักปรัชญาของการ

ส่งเสริมการเกษตร ทฤษฎีการพัฒนาประเทศหลักการการบูรณาการและการมีส่วนร่วมที่ยึดเกษตรกรเป็น

ศูนย์กลาง และหลักการจัดการภาครัฐแนวใหม่ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เรื่องนี้จึงได้เสนอแนะให้มีการปรับปรุง

ระบบการปฏิบัติงานในพื้นที่โดยการถ่ายโอนภารกิจการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรให้องค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่นและปรับปรุงระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ของ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

2.1 การ ถ่าย โอน ภารกิจ การ บริหาร งาน ส่ง เสริม และ พัฒนาการ เกษตร ใน พื้นที่ ให้ องค์กร ปกครอง

ส่วน ท้อง ถิ่น ภารกิจดังกล่าวเป็นภารกิจที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน เกี่ยวข้องกับวิชาการหลายสาขา บุคลากร

และผู้เกี่ยวข้องจำนวนมากความพร้อมของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลและ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแตกต่างกันมากยากที่จะถ่ายโอนให้เกิดประสิทธิภาพได้แต่หากมีการดำเนินการ

ถ่ายโอนภารกิจบนพื้นฐานของความพร้อมขององค์กรที่เกี่ยวข้องก็จะก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน จึง

เสนอแนะให้แบ่งการถ่ายโอนภารกิจออกเป็น3ระยะดังต่อไปนี้

1) ระยะเตรียมการ เป็นการเตรียมความพร้อมของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยี

การเกษตรประจำตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมการเกษตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ในด้านต่าง ๆ เช่นด้านข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับระดับความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการกำหนด

แนวทางการสร้างความรู้ความเข้าใจและทัศนคติ ด้านการพัฒนาระบบงาน ด้านการเตรียมวัสดุอุปกรณ์

และเครื่องมือในการสื่อสาร รวมทั้งการผลิตสื่อและวิทยากรที่จะสอนงานและให้คำปรึกษาในระยะที่ 2

และ 3 ซึ่งระยะนี้การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ยังอยู่ในความรับผิดชอบของ

กรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งการเตรียมการดังกล่าวสามารถดำเนินการตามแนวทางต่อไปนี้

(1)เร่งรัดการดำเนินงานตามมติ ครม. เรื่องศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยี

การเกษตรประจำตำบล เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2555 และการจัดทำบันทึกความร่วมมือสนับสนุน

การดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของท้องถิ่นระหว่างกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและ

กรมส่งเสริมการเกษตรเมื่อวันที่17เมษายน2551

Page 72: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-72 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

(2)ประเมินความพร้อมของแต่ละองค์กรที่เกี่ยวข้องและจัดชั้นของศูนย์บริการและ

ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประกอบการเตรียมการถ่ายโอน

ภารกิจตามระดับความพร้อมของแต่ละหน่วยงาน

(3)วิจัยและพัฒนาต้นแบบกระบวนการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรใน

พื้นที่โดยศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลรวมทั้งโครงสร้างองค์กรที่เหมาะสม

(4)ผลิตสื่อและทีมวิทยากรสำหรับสร้างความรู้และทัศนคติที่ดีต่อการถ่ายโอนภารกิจ

ข้างต้น

(5)รณรงค์เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีและถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการถ่ายโอนภารกิจ

ดังกล่าวแก่บุคลากรของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล องค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่นกรมส่งเสริมการเกษตรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

(6) ประเมินผลหลังการเตรียมความพร้อมของแต่ละองค์กรที่เกี่ยวข้องและจัดชั้น

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ประกอบการวางแผนการถ่ายโอนภารกิจตามระดับความพร้อมของแต่ละ

หน่วยงาน

2) ระยะสอนงาน เป็นระยะเปลี่ยนผ่านการบริหารจากการส่งเสริมการเกษตรไปสู่องค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะเน้นการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร กับศูนย์

บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่

เกี่ยวข้อง โดยศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ

การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกรมส่งเสริม

การเกษตรเป็นผู้สนับสนุน

3) ระยะให้คำปรึกษา เป็นระยะการถ่ายโอนภารกิจการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการ

เกษตรในพื้นที่และโอนศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ให้องค์กรปกครองส่วน

ท้องถิ่นรับผิดชอบเต็มรูปแบบส่วนกรมส่งเสริมการเกษตรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ให้คำปรึกษา

และสนับสนุนการปฏิบัติงานในพื้นที่

การถ่ายโอนภารกิจแต่ละระยะควรใช้ความพร้อมและระดับความพร้อมของแต่ละศูนย์

และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบแต่ละศูนย์เป็นเกณฑ์ในการเปลี่ยนผ่านจากระยะหนึ่งไปยังอีก

ระยะหนึ่งโดยไม่ใช้กรอบเวลาเป็นเกณฑ์

2.2 การ ปรับปรุง ระบบ สนับสนุน การ ปฏิบัติ งาน ส่ง เสริม และ พัฒนาการ เกษตร ใน พื้นที่ ของ องค์กร

ปกครอง ส่วน ท้อง ถิ่น การถ่ายโอนภารกิจการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ให้องค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเกษตรกรโดยตรงมีบทบาทในการส่งเสริมและ

พัฒนาการเกษตรในพื้นที่รับผิดชอบ ซึ่งนอกจากจะเป็นการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่

ยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลางและเกษตรกรมีส่วนร่วมมากขึ้นแล้ว ยังลดความซ้ำซ้อนและทำให้เจ้าหน้าที่

ส่งเสริมการเกษตรมีโอกาสพัฒนาความรู้ในสาขาที่รับผิดชอบเพื่อใช้ในการให้คำปรึกษาและสนับสนุนองค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่นและสภาเกษตรกรได้มากขึ้น ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจะต้องสอดคล้องกับแนวทาง

Page 73: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-73การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

การถ่ายโอนภารกิจการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดย

แบ่งออกเป็น3ระยะดังนี้

1) ระยะเตรียมการ เป็นระยะที่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจะต้องรับผิดชอบและปฏิบัติ

งานใน3มิติคือปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรเดิมเตรียมการถ่ายโอนภารกิจให้ศูนย์บริการและ

ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลและเตรียมการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำและแปลงแผน

แม่บทพัฒนาการเกษตรของสภาเกษตรกร เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจึงดำเนินการด้านการเตรียมการ

ร่วมกับหน่วยงานภายนอก เช่น สถาบันการศึกษา องค์กรการกุศล เช่น สมาคม มูลนิธิต่าง ๆ และ

จะต้องปรับปรุงสำนักงานเกษตรอำเภอและอุปกรณ์สำนักงานให้สามารถทำหน้าที่เป็นศูนย์บริการทาง

วิชาการเกษตรร่วมระหว่างหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และผู้แทนเกษตรกรระดับอำเภอ

ตามพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติพ.ศ.2553ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2) ระยะสอนงาน เป็นระยะที่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรลดบทบาทและความรับผิดชอบ

การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ มาทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้บุคลากรของศูนย์บริการ

และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลและทำหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติของสภาเกษตรกรซึ่งเป็น

ศูนย์กลางในการกำหนดนโยบายและแผนแม่บทพัฒนาการเกษตรให้รัฐบาลและส่วนที่เกี่ยวข้องนำไปแปลง

แผนสู่การปฏิบัติ

3) ระยะให้คำปรึกษา เป็นระยะที่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอและจังหวัด ไม่

ต้องรับผิดชอบการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ แต่รับผิดชอบในการให้คำปรึกษาทาง

วิชาการในการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรในพื้นที่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและทำหน้าที่

สนับสนุนการปฏิบัติงานของสภาเกษตรกร โดยเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับจังหวัดและระดับอำเภอ

รวมถึงเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลทำหน้าที่เสริมหนุนการปฏิบัติงานของสภาเกษตรกรแห่งชาต ิ

และสภาเกษตรกรจังหวัด ตามมาตรา 11 และมาตรา 33 แห่ง พระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ

พ.ศ. 2553ตามลำดับ และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในส่วนกลางทำหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติงานของ

เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับจังหวัดและระดับอำเภอ

สรุปการปรบัปรงุกระบวนการบรหิารงานสง่เสรมิและพฒันาการเกษตรให้เอือ้อำนวยตอ่การสง่เสรมิ

และสนับสนุนการจัดทำและแปลงแผนพัฒนาการเกษตรของสภาเกษตรกรแห่งชาติและขับเคลื่อนปรัชญา

ของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติประกอบด้วยการถ่ายโอนภารกิจการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการ

เกษตรในพื้นที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการปรับปรุงระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานส่งเสริมและ

พัฒนาการเกษตรในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนภารกิจของกรมส่งเสริม

การเกษตรจากการรับผิดชอบการบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร ไปเป็นการสนับสนุนวิชาการ

แก่องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นและสภาเกษตรกร โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะ

เตรียมการระยะสอนงานและระยะให้คำปรึกษา

หลัง จาก ศึกษา เนื้อหา สาระ ตอน ที่ 15.3 แล้ว โปรด ปฏิบัติ ตาม กิจกรรม 15.3

ใน แนว การ ศึกษา หน่วย ที่ 15 ตอน ที่ 15.3

Page 74: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-74 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร

บรรณานุกรม

กรมการพัฒนาชุมชน.รูปแบบการทำงานของพัฒนากรในอนาคต. ค้นคืนวันที่18มิถุนายน2556จากwww.3.cdd.

go.th/samutsongkhram/cd_plan/540404_03plan.pdf

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.(2554).พระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติพ.ศ.2553. พิมพ์ครั้งที่2

คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.กระบวนวิชา 352721 การส่งเสริมการเกษตรกับการพัฒนาชนบท.

ค้นคืนวันที่18มิถุนายน2556 จากhttp://web.agri.cmu.ac.th/extens/Course_all/Course/352721/

352721_update/9

ดิเรก ฤกษ์หร่าย. (2524).หลักการส่งเสริมการเกษตร.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อ้างถึงใน

บุญสมวราเอกศิริ.(2539).ส่งเสริมการเกษตร:หลักและวิธีการ.เชียงใหม่.ภาควิชาส่งเสริมการเกษตร.

คณะบริหารธุรกิจการเกษตร.มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

.(2555).การส่งเสริมการเกษตรยุคไร้พรมแดน. เอกสารอัดสำเนาในการอบรมเข้มเสริมประสบการณ์

มหาบัณฑิต วิชาเอกส่งเสริมการเกษตรสาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัย-

ธรรมธิราช4กรกฎาคม2555.

ดุษฎีคงสุวรรณ์. พัฒนาการสังคมไทย.ค้นคืนวันที่24พฤษภาคม2556จากhttp://www.baanjomyut.com/

library_2/development_of_society/11.html

บุญสม วราเอกศิริ. (2539).ส่งเสริมการเกษตร: หลักและวิธีการ. เชียงใหม่. ภาควิชาส่งเสริมการเกษตร. คณะ

บริหารธุรกิจการเกษตร.มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ยอดชายทองไทยนันท์.(2546).การบริหารงานการเกษตรและพัฒนาชนบท.ตาก:ประสิทธิดีไซน์.

วัลลภพรหมทอง. (2541).หลักและวิธีการส่งเสริมการเกษตร. กรุงเทพมหานคร: ฟิสิกส์เซนเตอร์, อ้างถึงใน

บุญสม วราเอกศิริ. (2539).ส่งเสริมการเกษตร: หลักและวิธีการ. พิมพ์ครั้งที่ 4. เชียงใหม่. ภาควิชา

ส่งเสริมการเกษตร.คณะบริหารธุรกิจการเกษตร.มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

วิทยา อธิปอนันต์. (2555).แนวทางการปฏิบัติงานในพื้นที่ ตามระบบส่งเสริมการเกษตรโดยใช้ศูนย์บริการและ

ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล (ศบกต.) เป็นกลไกดำเนินการตามนโยบายกรมส่งเสริม

การเกษตรปี2555. เอกสารอัดสำเนาจำนวน6หน้า.

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน).หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง-WIKI84

ค้นคืนวันที่3กรกฎาคม2556จากhttp://www.haii.or.th/wiki84/index.php

สุรพลจารุพงศ์.(2555). การบริหารงานส่งเสริมการเกษตร.ในเอกสารการสอนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพส่งเสริม

การเกษตร.นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.(2555).ความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

เรื่องศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล.หนังสือด่วนที่สุดที่ นร 0506/19983

ลงวันที่26กรกฎาคม2555.

Page 75: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

15-75การบริหารงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับครัวเรือนกลุ่มและชุมชน

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี.สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนา

เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ดพ.ศ. 2555-2559. ค้นคืนวันที่ 24พฤษภาคมจากwww.

nesdb.go.th/Portals/0/news/plan/p11/SummaryPlan11_thai.pdf

Allo,A.V.(1982).TheFarmAdvisor:ADiscussionforAgriculturalExtensionofDevelopingCoun-

tries. Taiwan: FoodAnd Fertilizer TechnologyCenter. อ้างถึงใน วัลลภพรหมทอง. (2541)

หลักและวิธีการส่งเสริมการเกษตร.กรุงเทพมหานคร:ฟิสิกส์เซนเตอร์.

Bradfield,D.J.(1977).GuidetoExtensionTraining.(5th).Italy:Rome. อ้างถึงในยอดชายทองไทยนันท์.

(2546).การบริหารงานการเกษตรและพัฒนาชนบท.ตาก:ประสิทธิดีไซน์.

Flores,ThomasG., Breono,PredoB.&Lopatora,RafaelD.(1983).HandbookforExtensionWork.

Philippines: SEARCA. อ้างถึงในบุญสม วราเอกศิริ. (2539).ส่งเสริมการเกษตร: หลักและวิธีการ.

เชียงใหม่.ภาควิชาส่งเสริมการเกษตร.คณะบริหารธุรกิจการเกษตร.มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

Mosher,A.T.(1976).ThinkingAboutRuralDevelopment.NewYork:TheAgriculturalDevelopment

Council. อ้างถึงใน วัลลภพรหมทอง. (2541) หลักและวิธีการส่งเสริมการเกษตร. กรุงเทพมหานคร:

ฟิสิกส์เซนเตอร์.

OLRepublic .com โครงสร้างองค์กรคืออะไร. ค้นคืนวันที่ 18มิถุนายน 2556 จากwww.olrepublic.com/

careerlab/.../476-html

Russel,J.(1981).FinanceandDevelopment.AgriculturalInformationBulletin.อา้งถงึในบญุสมวราเอกศริ.ิ

(2539).ส่งเสริมการเกษตร:หลักและวิธีการ.พิมพ์ครั้งที่4.เชียงใหม่.ภาควิชาส่งเสริมการเกษตร.คณะ

บริหารธุรกิจการเกษตร.มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

Savile,A.H.(1965).ExtensioninRuralCommunity.London:OxfordUniversity.อา้งถงึในบญุสมวราเอกศริ.ิ

(2539).ส่งเสริมการเกษตร: หลักและวิธีการ. เชียงใหม่. ภาควิชาส่งเสริมการเกษตร. คณะบริหารธุรกิจ

การเกษตร.มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

WarunyuPintusamit.OrganizationalBehavior.คน้คนืวนัที่20มถินุายน2556จากhttps://www.google.co.th

Page 76: 15 - Sukhothai Thammathirat Open Universityagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-15.pdf · โปรดอ่านแผนการ สอนประจำตอนที่ 15.1จึงศึกษา