lean six sigma pocket tool book thai version - 7

2
สถิติเชิงพรรณนาและการแสดงผลข้อมูล 161 บทที่6 สถิติเชิงพรรณนาและการแสดงผลข้อมูล ภาพรวม วัตถุประสงค์ของเครื่องมือเหล่านีเพื่อให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการกระจายตัวและคุณสมบัติของข้อมูลกลุ่มหนึ่ง ตัดสินใจว่าจะใช้เครื่องมือใด ข้อตกลงเกี่ยวกับศัพท์ทางสถิติ (Statistical Term Convention) (หน้า 163) กล่าวถึงมาตรฐานที่ใช้สำหรับสัญลักษณ์และศัพท์ที่ใช้ในสมการ ทางสถิติ ขอให้คุณทบทวนตามที่จำเป็น การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง (Measures of Central Tendency) (หน้า 164) กล่าวถึงวิธีคำนวณค่าเฉลี่ย (Mean) มัธยฐาน (Median) ฐานนิยม (Mode) คำนวณค่าเหล่านี้ด้วยตัวเองสำหรับชุดข้อมูลต่อเนื่อง ใดก็ตามที่ซอฟต์แวร์ไม่ได้คำนวณให้ Copyrighted Material of E.I.SQUARE PUBLISHING

Upload: eisquare-publishing

Post on 23-Feb-2015

79 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: Lean Six Sigma Pocket Tool Book Thai Version - 7

สถิติเชิงพรรณนาและการแสดงผลข้อมูล  161

บทที่ 6 

สถิติเชิงพรรณนาและการแสดงผลข้อมูล 

ภาพรวม 

วัตถุประสงค์ของเครื่องมือเหล่านี้ 

เพื่อให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการกระจายตัวและคุณสมบัติของข้อมูลกลุ่มหนึ่ง

ตัดสินใจว่าจะใช้เครื่องมือใด 

• ข้อตกลงเกี่ยวกับศัพท์ทางสถิติ (Statistical Term Convention) (หน้า

163) กล่าวถึงมาตรฐานที่ใช้สำหรับสัญลักษณ์และศัพท์ที่ใช้ในสมการ

ทางสถิติ ขอให้คุณทบทวนตามที่จำเป็น

• การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง (Measures of Central Tendency)

(หน้า 164) กล่าวถึงวิธีคำนวณค่าเฉลี่ย (Mean) มัธยฐาน (Median)

ฐานนิยม (Mode) คำนวณค่าเหล่านี้ด้วยตัวเองสำหรับชุดข้อมูลต่อเนื่อง

ใดก็ตามที่ซอฟต์แวร์ไม่ได้คำนวณให้

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 2: Lean Six Sigma Pocket Tool Book Thai Version - 7

162  เครื่องมือ Lean  Six Sigma

• มาตรวัดของการกระจายตัว (Measures of Spread) (หน้า 167)

แสดงวิธีคำนวณพิสัย (Range) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard

Deviation) และความแปรปรวน (Variance) คุณต้องใช้การคำนวณเหล่านี้

กับเครื่องมือสถิติหลายประเภท (แผนภูมิควบคุม การทดสอบสมมติฐาน

ฯลฯ)

• แผนภูมิกล่อง (Box Plots) (หน้า 171) อธิบายแผนภาพประเภทหนึ่งที่

สรุปการแจกแจงหรือกระจายตัวของข้อมูลแบบต่อเนื่อง คุณคงมีโอกาส

น้อยที่จะวาดด้วยมือ แต่มักเห็นได้บ่อยหากใช้ซอฟต์แวร์สถิติ ขอให้คุณ

ทบทวนตามที่จำเป็น

• ผังความถี่/ฮิสโตแกรม (Frequency Plot/Histogram) (หน้า 172) สรุป

ผังความถี่ประเภทต่างๆ และตีความรูปแบบที่แสดงความหมายออกมา

เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการประเมินการแจกแจงปกติ (Normality); เป็นสิ่งที่

แนะนำสำหรับกลุ่มตัวแทนของข้อมูลแบบต่อเนื่อง

• การแจกแจงปกติ (Normal Distribution) (หน้า 177) อธิบายคุณสมบัติ

ของการแจกแจง “ปกต”ิ หรือ “ระฆังคว่ำ” ขอให้คุณทบทวนตามที่จำเป็น

• การแจกแจงไม่ปกติ/ทฤษฎีแนวโน้มเข้าสู่ศูนย์กลาง (Non-Normal

Distribution/Central Limit Theorem) (หน้า 178) อธิบายการแจกแจง

หรือกระจายตัวประเภทอื่นๆ ที่พบกับข้อมูลแบบต่อเนื่อง และวิธีที่เรา

สามารถสรุปผลทางสถิติที่ใช้การได้แม้ว่าจะเป็นการแจกแจงแบบไม่ปกติ

ก็ตาม ขอให้คุณทบทวนตามที่จำเป็น

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING