hoshin kanri for the lean enterprise thai version -14

6
Copyrighted Material of E.I.SQUARE PUBLISHING 244 Hoshin Kanri for the Lean Enterprise แปรนโยบายสู่การปฏิบัติสำหรับวิสาหกิจแบบลีนด้วย Hoshin Kanri เกี่ยวกับผู้เขียน Thomas Jackson เคยเป็น CEO ของบริษัทที่ปรึกษาลีนชั้นนำ Productivity, Inc. และเป็นผู้เขียนหนังสือ Implementing a Lean Management System, Corporate Diagnosis (Productivity Press) และ The President’s Diagnosis (Lean Press) ด้วย Tom เริ่มศึกษาเกี่ยวกับวิสาหกิจแบบลีนมาตั้งแต่ปี 1988 เมื่อเขาได้ตรวจต้นฉบับหนังสือ JIT Factory Revolution ของ Hiroyuki Hirano ให้สำนักพิมพ์ Productivity Press เขาคลั่งไคล้ลีนอย่างมากจนถึงกับทิ้งตำแหน่ง หน้าที่อันสุขสบายที่ University of Vermont เพื่อเริ่มบริษัทรับให้คำปรึกษาด้านลีน - ในประเทศมาเลเซีย! ที่นั่นเขาได้ เรียนรู้ว่าเทคนิคอันทรงพลังของวิสาหกิจแบบลีน ทั้ง JIT, SMED, TPM, Kanban ฯลฯ ล้วนเป็นเรื่องราวความสำเร็จ อันยิ่งใหญ่ของ Toyota เพียงแค่ครึ่งเดียว ส่วนอีกครึ่งเรื่องนั้น คือ Hoshin Kanri และ การปฏิวัติโครงสร้างองค์กร ธุรกิจสมัยใหม่ ในปี 2003 Tom และ Don Makie หุ้นส่วนของเขาได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัท taktX LLC เพื่อให้คำปรึกษา ด้านการจัดการแบบลีน ซึ่ง Tom ได้ประยุกต์ใช้ Hoshin Kanri กับทั้งการผลิตยางขอบหน้าต่างและประตู ตู้เย็น และ เครื่องให้อาหารไก่ การบริหารจัดการระบบคุณภาพ และการบริการด้านสาธารณสุข สุขภาพจิต และการบริการสังคม Tom คิดหาวิธีใหม่ๆ เพื่อให้ผู้อื่นได้เห็นลีนทั้ง 2 ด้านอยู่เสมอ คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Hoshin Kanri ได้ที่เว็บไซต์ www.hoshinkanri.biz

Upload: eisquare-publishing

Post on 27-Apr-2015

244 views

Category:

Documents


3 download

TRANSCRIPT

Page 1: Hoshin Kanri for the Lean Enterprise THAI Version -14

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

244 Hoshin Kanri for the Lean Enterprise แปรนโยบายสู่การปฏิบัติสำหรับวิสาหกิจแบบลีนด้วย Hoshin Kanri

เกี่ยวกับผู้เขียน

Thomas Jackson

เคยเปน็ CEO ของบรษิทัทีป่รกึษาลนีชัน้นำ Productivity, Inc. และเปน็ผูเ้ขยีนหนงัสอื Implementing a Lean

Management System, Corporate Diagnosis (Productivity Press) และ The President’s Diagnosis (Lean

Press) ด้วย Tom เริ่มศึกษาเกี่ยวกับวิสาหกิจแบบลีนมาตั้งแต่ป ี 1988 เมื่อเขาได้ตรวจต้นฉบับหนังสือ JIT Factory

Revolution ของ Hiroyuki Hirano ให้สำนักพิมพ ์ Productivity Press เขาคลั่งไคล้ลีนอย่างมากจนถึงกับทิ้งตำแหน่ง

หนา้ทีอ่นัสขุสบายที ่University of Vermont เพือ่เริม่บรษิทัรบัใหค้ำปรกึษาดา้นลนี - ในประเทศมาเลเซยี! ทีน่ัน่เขาได้

เรียนรู้ว่าเทคนิคอันทรงพลังของวิสาหกิจแบบลีน ทั้ง JIT, SMED, TPM, Kanban ฯลฯ ล้วนเป็นเรื่องราวความสำเร็จ

อันยิ่งใหญ่ของ Toyota เพียงแค่ครึ่งเดียว ส่วนอีกครึ่งเรื่องนั้น คือ Hoshin Kanri และ การปฏิวัติโครงสร้างองค์กร

ธรุกิจสมัยใหม ่ ในป ี2003 Tom และ Don Makie หุ้นส่วนของเขาได้ร่วมกันกอ่ตั้งบริษัท taktX LLC เพือ่ให้คำปรึกษา

ด้านการจัดการแบบลีน ซึ่ง Tom ได้ประยุกต์ใช ้ Hoshin Kanri กับทั้งการผลิตยางขอบหน้าต่างและประต ู ตู้เย็น และ

เครื่องให้อาหารไก ่ การบริหารจัดการระบบคุณภาพ และการบริการด้านสาธารณสุข สุขภาพจิต และการบริการสังคม

Tom คิดหาวิธีใหม่ๆ เพื่อให้ผู้อื่นได้เห็นลีนทั้ง 2 ด้านอยู่เสมอ คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Hoshin Kanri

ไดท้ีเ่วบ็ไซต ์www.hoshinkanri.biz

Page 2: Hoshin Kanri for the Lean Enterprise THAI Version -14

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

245บทสรุป

เกี่ยวกับผู้แปล

ดร.วิทยา สุหฤทดำรง อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จบการศึกษาปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต จากสถาบัน

เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปริญญาโท Engineering Management Sciences และปริญญาเอก

Industrial Engineering จาก Wichita State University สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการ

โซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ดร.วิทยา เป็นที่ปรึกษา นักวิจัย และวิทยากรเกี่ยวกับการจัดการลอจิสติกส์และโซ่อุปทาน แนวคิดแบบลีน

การปรับปรุงกระบวนการ รวมถึงการวัดสมรรถนะและหลักการบริหารสมัยใหม่ต่างๆ ให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและ

เอกชน นอกจากนี้ ยังมีงานเขียนบทความ หนังสือ และผลงานแปลอีกมากมาย อาทิ “วิถีแห่งโตโยต้า (The Toyota

Way)”, “ลอจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทานอธิบายได้...ง่ายนิดเดียว” , “แนวคิดแบบลีน” ฯลฯ

ไรย์วินทร์ บุญสวัสดิ ์ วิทยากรและที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะองค์กรและ

บุคลากร การปรับปรุงกระบวนการธุรกิจและผลิตภาพตามแนวทางแบบลีน และหลักการบริหารสมัยใหม่อื่นๆ ให้กับ

วิสาหกิจต่างๆ ทั้งในภาคการผลิตและภาคการบริการ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตสาขา

วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และปริญญาโทด้านการบริหาร

ธุรกิจ (MBA) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยทำงานทั้งในด้านเทคนิคและการตลาดให้กับบริษัทชั้นนำของประเทศ

ในธุรกิจการสื่อสารโทรคมนาคม รวมทั้งงานด้านบริการโครงการการส่งเสริมนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ให้กับวิสาหกิจขนาด

กลางและขนาดย่อม

ยุพา กลอนกลาง เคยเป็นวิศวกรฝ่ายผลิตที่บริษัท บางกอกอีเกิลวิง จำกัด ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ก่อน

จะศึกษาต่อจนได้เป็นมหาบัณฑิตวิศวกรรมอุตสาหการ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดน

ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “การผลิตแบบลีนในระดับกลยุทธ์ และการจำลองสถานการณ์” จากนั้นได้ประกอบธุรกิจส่วนตัว

พร้อมๆ กับมีส่วนร่วมในงานแปลหลายเล่มของ อี.ไอ.สแควร์ สำนักพิมพ์ เช่น แนวคิดแบบลีน, Essential Supply

Chain Management : เจาะ “แก่น” โซ่อุปทาน, การผลิตแบบเซลลูล่าร์, การผลิตแบบทันเวลาพอดี, การผลิต

แบบดึง และการบ่งชี้ “ความสูญเปล่า” รวมทั้งหนังสือเกี่ยวกับการผลิตและเครื่องมือแบบลีนอีกหลายเล่ม

Page 3: Hoshin Kanri for the Lean Enterprise THAI Version -14

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

246 Hoshin Kanri for the Lean Enterprise แปรนโยบายสู่การปฏิบัติสำหรับวิสาหกิจแบบลีนด้วย Hoshin Kanri

Holistic operational strategy (Hos)

ผมเชื่อว่ากลยุทธ์ทุกอย่างในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดหรือด้านใดนั้น ล้วนสนับสนุนกระบวนการธุรกิจ

(Business Process) และกลยุทธ์เหล่านั้นย่อมมีความสัมพันธ์กันในรูปแบบองค์รวม (Holistic) มิใช่แยกกันดำเนิน-

งานหรือจัดการแบบแยกระบบ (Separated System) ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ใช้แก้ปัญหาไม่ได้

ผมจึงได้สร้างกรอบความคิดในการดำเนินงาน (Framework) ขึ้นมา คือ Holistic Operational Strategy

(HOS) โดยผมมองว่า กิจกรรมต่างๆ ในองค์กรนั้น เริ่มมาจาก วิสัยทัศน์ (Vision) ของผู้นำองค์กร หรือ CEO ที่จะต้อง

สร้าง กลยุทธ์ (Strategy) หรือยุทธศาสตร์ขององค์กร และนำเสนอต่อทุกคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียในองค์กรด้วย พันธกิจ

ขององค์กร (Mission Statement)

จากนั้นยุทธศาสตร์ขององค์กรจะถูกนำมาแปรไปสู่การปฏิบัติ (Deployment) เป็นระดับการจัดการในองค์กร

ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

1) ระดับกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ (Strategic Level)

2) ระดับกลวิธีหรือยุทธวิธี (Tactical Level)

3) ระดับการปฏิบัติการ (Operational Level)

จากการที่ผมได้สังเกตข้อปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice) ของบริษัทชั้นนำระดับโลก ผมได้จัดเอากลยุทธ์

ทางการจัดการที่มีอยู่ในปัจจุบันใส่เข้าไปใน Framework ของผมดังนี้

สำหรับระดับยุทธศาสตร์ (Strategic) ผมมองว่า Logistics และ Supply Chain Management จะต้อง

เป็นพื้นฐานที่สำคัญขององค์กรที่จะต้องบ่งชี้ให้ได้ เพราะกระบวนการลอจิสติกส์และโซ่อุปทานถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญ

ของกระบวนการสร้างสรรค์คุณค่าสำหรับลูกค้า จึงต้องนำมาพิจารณาในระดับกลยุทธ์นี้ เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ

โครงสร้างขององค์กรและผลตอบแทนในการลงทุนค่อนข้างในระยะยาว (Long Term Planning)

Page 4: Hoshin Kanri for the Lean Enterprise THAI Version -14

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

247บทสรุป

ส่วนในระดับกลวิธี (Tactical Level) ผมมองว่า เรื่อง Lean Manufacturing และ Lean Enterprise จะถูกนำ

มาใช้ เพราะเป็นการวางแผนในระยะกลาง ส่วนในระดับการปฏิบัติการ (Operational Level) นั้น Six Sigma และ

Process Improvement จะถูกนำมาใช้ในการลดความแปรปรวนและเพิ่มความแม่นยำของกระบวนการธุรกิจ

กิจกรรมต่างๆ ภายในองค์กรจะถูกเชื่อมโยงกันด้วยข้อมูลสารสนเทศ (Information) ดังนั้น ERP (Enterprise

Resource Planning) จึงถูกนำมาเพื่อให้ทุกกิจกรรมประสานงานกันด้วยข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและอย่างรวดเร็ว

(Real Time) เมื่อดำเนินงานแล้วก็จะต้องมีการวัดสมรรถนะขององค์กร ทั้งทางด้านการเงินและด้านที่ไม่ใช่การเงิน

ด้วยแนวคิดของ Balanced Scorecard เพื่อนำมาใช้เพื่อประเมินผลแนวทางในการปรับปรุงแผนกลยุทธ์ในรูปแบบ

ของแผนผังกลยุทธ์ (Strategy Map) กิจกรรมที่กล่าวมาทั้งหมดจะดำเนินการได้โดยการทำงานร่วมกัน (Colla-

boration) ของทุกคนในองค์กร ซึ่งเป็นการแบ่งปัน (Sharing) ทั้งทรัพยากร ความรู้ผลประโยชน์ และความเสียหาย

ทั้งนี้ กิจกรรมและผลลัพธ์ทุกอย่างที่เกิดภายในองค์กรก็จะต้องมีการเชื่อมต่อกันไปยังองค์ประกอบอื่นๆ ในโซ่อุปทาน

ด้วย E - Business

กจิกรรมขององคก์รทัง้หมดจะตอ้งผา่นเขา้สูก่ระบวนการจดัการความรูแ้ละการวศิวกรรม (การสรา้งสรรค)์

ความรู้ (Knowledge Management and Engineering) กระบวนการจัดการตรงนี้มีความสำคัญมาก เพราะกิจกรรม

ทั้งหมดจะต้องถูกนำไปปฏิบัติใช้บนโครงสร้างหลักขององค์กร คือ คน (People) กระบวนการ (Process) และ

เทคโนโลยี (Technology) ที่จะต้องรองรับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป การจัดการความรู้จึงเป็น

กลไกหนึ่งที่ผลักดันให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา

ที่จริงแล้ว ส่วนต่างๆ ใน Framework นี้ เป็นกิจกรรมต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในองค์กร ผมเพียงแต่นำมาจัดเรียงและ

สร้างความสัมพันธ์เบื้องต้นเพื่อให้เห็นภาพใหญ่

แล้วคุณจะพบว่า “ลีน” นั้นเป็นแค่ส่วนหนึ่งของ HOS ที่ผมนำเสนอเท่านั้นเอง!!

ดร.วิทยา สุหฤทดำรง

[email protected]

อี.ไอ.สแควร์ สำนักพิมพ์

Page 5: Hoshin Kanri for the Lean Enterprise THAI Version -14

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 6: Hoshin Kanri for the Lean Enterprise THAI Version -14

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING