รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ · food innovation and packaging...

5
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ผลของการดื่มน้าเชื่อมล้าไยต่อคุณภาพการนอนหลับ และความดันโลหิตในอาสาสมัครไทยที่มีสุขภาพดี The Effect of Longan Syrup on Sleep Quality and Blood Pressure in Healthy Thai Volunteers โดย ศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มิถุนายน 2560

Upload: others

Post on 21-Oct-2019

6 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ · Food Innovation and Packaging Center, Chiang Mai University 1 รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

1 Food Innovation and Packaging Center, Chiang Mai University

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

ผลของการดื่มน ้าเชื่อมล้าไยต่อคุณภาพการนอนหลับ

และความดันโลหิตในอาสาสมัครไทยที่มีสุขภาพดี

The Effect of Longan Syrup on Sleep Quality and Blood Pressure in Healthy Thai Volunteers

โดย

ศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มิถุนายน 2560

Page 2: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ · Food Innovation and Packaging Center, Chiang Mai University 1 รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

2 Food Innovation and Packaging Center, Chiang Mai University

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือศึกษาประสิทธิภาพของน้้าเชื่อมล้าไยสกัดเข้มข้น ต่อคุณภาพของการนอนหลับ ความดันโลหิต ระดับของน้้าตาล และไขมันในเลือด ของกลุ่มอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี จ้านวน 37 คน โดยท้าการทดสอบก่อน และหลังการดื่มน้้าเชื่อมล้าไยเป็นระยะเวลา 3 เดือน ท้าการศึกษาวิจัยโดยให้อาสาสมัครประเมินคุณภาพการนอนหลับโดยใช้แบบสอบถาม Pittsburgh Sleep quality Index (PSQI), วัดความดันโลหิต และเจาะเลือดเก็บตัวอย่าง ก่อนเริ่มดื่มน้้าเชื่อมล้าไย สัปดาห์ที่ 2, 6 และ 12 ผลการศึกษาและวิจัยพบว่า การดื่มน้้าเชื่อมล้าไยเป็นระยะเวลา 3 เดือน สามารถเพ่ิมคุณภาพของการนอนหลับในกลุ่มอาสาสมัครได้ และไม่ส่งผลต่อการเพ่ิมขึ้นของระดับน้้าตาลในเลือด ท้าให้ค่าความดันแบบ diastolic ลดลงอย่างมีนัยส้าคัญ พบว่าไม่ส่งผลต่อระดับปริมาณไขมัน (total cholesterol, triglyceride) ในเลือด และการเปลี่ยนแปลงการท้างานของตับและไต โดยสรุปการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการดื่มน้้าเชื่อมล้าไยทุกวันมีผลต่อการเพ่ิมคุณภาพของการนอนหลับ และช่วยลดระดับความดันโลหิต รวมทั้งระดับของไขมันในเลือด ดังนั้นน้้าเชื่อมล้าไยสามารถน้าไปสู่การท้าวิจัยและพัฒนาใช้ในการแพทย์ทางเลือกได้ อย่างไรก็ตาม อาจมีการศึกษาเพ่ิมเติมในด้านระยะเวลาที่เพ่ิมขึ้น และการทดสอบในผู้ป่วยต่อไป

Page 3: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ · Food Innovation and Packaging Center, Chiang Mai University 1 รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

3 Food Innovation and Packaging Center, Chiang Mai University

Abstract

This study aimed to investigate the beneficial effects of longan syrup on the sleep quality, blood pressures, blood glucose levels and lipid profile in 37 healthy volunteers. The test was done before and after taking longan syrup once a day for 3 months. Sleep quality using Pittsburgh Sleep quality Index (PSQI), systolic and diastolic blood pressure and blood sample were measured at the baseline and at week 2, 6 and 12 after longan syrup first intake. Results showed that 3 month longan syrup consumption improved sleep quality in volunteers and there is no impact on the increase of blood sugar. Moreover, there was significantly decreased in diastolic blood pressure. In addition, there was no effect on lipid profile (total cholesterol and triglyceride), liver function and renal function. In conclusion, this study has showed that daily consumption of longan syrup can improve the sleep quality and reduce the diastolic blood pressures. Therefore, longan syrup may be useful for an alternative or complementary therapy. However, future works of long term period consumption and testing in patient should be further studied. .

Page 4: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ · Food Innovation and Packaging Center, Chiang Mai University 1 รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

23 Food Innovation and Packaging Center, Chiang Mai University

บทท่ี 4 วิจารณ์และสรุปผลการศึกษา

ล้าไย จัดเป็นผลไม้เพ่ือสุขภาพที่พบในต้ารับยาแพทย์แผนโบราณของจีน มีคุณสมบัติทางยา ใช้บ้ารุงหัวใจ บ้ารุงเลือด บ้ารุงประสาท บ้ารุงผิวพรรณ แก้อาการเครียด นอนไม่หลับ ช่วยท้าให้ความจ้าดี เนื่องจากประกอบไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งประกอบด้วย gallic acid, ellagic acid, corilagin และ tannic acid รวมทั้งธาตุอาหาร วิตามิน โปรตีน ไขมัน และน้้าตาล (1-13) สอดคล้องกับรายงานการศึกษาละวิจัยที่ผ่านมาพบว่าสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่พบในล้าไยมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระเทียบเท่ากับชาเขียวของประเทศญี่ปุ่น (16)

ผลการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามของกลุ่มอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีในการดื่มน้้าเชื่อมล้าไย เพ่ือศกึษาฤทธิ์และประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากล้าไยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการนอนหลับ ความดันโลหิต ระดับน้้าตาลและไขมันในเลือด ตลอดจนความปลอดภัยหรือผลข้างเคียงจากการรับประทานน้้าเชื่อมล้าไยต่อการท้างานของตับและไตตลอดระยะเวลา 3 เดือน พบว่ากลุ่มอาสาสมัครมี 37 ราย ประกอบด้วยเพศชายและหญิง 17 และ 20 คน ตามล้าดับ มีอายุเฉลี่ย 31.4 ปี (ช่วงอายุ 23-45 ปี) ประกอบอาชีพหรือก้าลังศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอก ภายในคณะแพทยศาสตร์ และคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถานภาพโสดเป็นส่วนใหญ่ และพบว่ามีปัญหาในการนอนหลับจากความเหนื่อยล้าหรือความเครียดที่เกี่ยวข้องกับการท้างานและการเรียนการสอน การท้าวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา รวมทั้งอาสาสมัครทั้งหมดไม่มีประวัติของการแพ้ยาสมุนไพรหรือติดสิ่งเสพติด

การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพของการนอนหลับในอาสาสมัครทั้ง 37 ราย ก่อนเข้าร่วมโครงการวิจัย โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับการนอนหลับฉบับภาษาไทย (Pittsburgh sleep quality index, PSQI) พบว่า อาสาสมัคร จ้านวน 12 ราย มีปัญหาในการนอนหลับซึ่งเกี่ยวข้องกับลักษณะของการท้างานในโรงพยาบาล เช่น แพทย์ พยาบาล นักรังสีการแพทย์ ที่ต้องปฏิบัติงานระบบผลัดหมุนเวียน ท้าให้ชีวภาพเปลี่ยนไป รวมทั้งการเตรียมตัวสอบและการท้าวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาโทและเอก ย่อมส่งผลกระทบต่างๆ เช่น เวลานอนผิดปกติ ต้องเปลี่ยนเวลานอน ท้าให้นอนหลับยาก เวลาการนอนลดลง ซึ่งอาจส่งผลท้าให้อามรณ์และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ความเครียด ความเหนื่อยล้า วิตกกังวล อาการหงุดหงิด ก้าวร้าว กระบวนการคิดและตัดสินใจผิดปกติ เป็นต้น หลังจากอาสาสมัครได้บริโภคน้้าเชื่อมล้าไยเป็นระยะเวลา 3 เดือน พบว่า เหลือเพียงอาสาสมัคร 7 ราย ที่มีปัญหาคุณภาพการนอนหลับไม่ดี ซึ่งก็สอดคล้องกับงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า ล้าไย มีสรรพคุณที่ช่วยบ้ารุงประสาทและสมอง ป้องกันอาการอ่อนเพลีย เพ่ิมความสดชื่นให้แก่ร่างกาย เพ่ิมความจ้าและการรับรู้ จึงท้าให้หลับสบายขึ้น (1-2,4,14) อย่างไรก็ตามหากอาสาสมัครทั้ง 7 ราย ได้บริโภคน้้าเชื่อมล้าไยต่อเนื่องอีกสักระยะ รวมทั้งการเพ่ิมปริมาณของน้้าเชื่อมล้าไยที่บริโภคตามขนาดของน้้าหนักตัว และจ้ากัดช่วงเวลาในการบริโภค เช่นรับประทานก่อนเข้านอนประมาณครึ่งชั่วโมง ก็อาจจะช่วยท้าให้คุณภาพและประสิทธิภาพของการนอนหลับดีขึ้น

การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดชีวภาพที่พบในน้้าเชื่อมล้าไยกับการเปลี่ยนแปลงความดันโลหิตในกลุ่มอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี พบว่าหลังอาสาสมัครรับประทานน้้าเชื่อมล้าไย ค่าความดันเลือดทั้ง systolic และ diastolic มีแนวโน้มลดลง เมื่อเทียบกับก่อนรับประทานน้้าเชื่อมล้าไย โดยเฉพาะค่าความดันเลือด diastolic ลดลงอย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติ จึงมีความเป็นไปได้สารสกัดที่พบในน้้าเชื่อมล้าไยอาจเกี่ยวข้องกับการเพ่ิมปริมาณของ NO จาก nitrite ในเลือด ซึ่งส่งผลท้าให้ความดันโลหิตลดลง และยับยั้งการเกาะกลุ่มของ

Page 5: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ · Food Innovation and Packaging Center, Chiang Mai University 1 รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

24 Food Innovation and Packaging Center, Chiang Mai University

เกล็ดเลือด เพ่ิมการไหลเวียนของเลือด และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดได้ (18) สอดคล้องกับการศึกษาของ Tsai et al. (2008) พบว่าสารสกัดจากดอกล้าไยช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอ้วนลงพุงหรือ metabolic syndrome อย่างไรก็ตามการรับประทานน้้าเชื่อมล้าไย ไม่มีผลท้าให้ระดับน้้าตาลกลูโคสในเลือดลดลง ตลอดระยะเวลา 3 เดือนของกลุ่มอาสาสมัครในระหว่างที่เข้ารับการวิจัย เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างในโครงการวิจัยนี้ เป็นอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี และค่าเฉลี่ยของระดับน้้าตาลกลูโคสในเลือดทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการวิจัยอยู่ในเกณฑ์ปกติ จึงอาจไม่ท้าให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของระดับน้้าตาลกลูโคสในเลือดจากสารสกัดที่พบจากล้าไยได ้(1, 17)

ผลการตรวจวัดระดับไขมันในกระแสเลือดในอาสาสมัครคือ total cholesterol และ triglyceride ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการวิจัย พบว่าผลการตรวจวัดระดับของไขมันทั้ง 2 ชนิดไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัด แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือเมื่อพิจารณาค่าความแปรปรวน (SD) ของระดับ triglyceride ที่ค่อนข้างกว้าง ผู้วิจัยเชื่อว่าสาเหตุหนึ่งเกิดจากการพฤติกรรมการบริโภคอาหารของอาสาสมัครก่อนท้าการเจาะเก็บตัวอย่างเลือด เนื่องจากไม่ได้จ้ากัดประเภทของอาหารในการบริโภคของอาสาสมัคร รวมทั้งปริมาณที่เหมาะสมในการบริโภคน้้าเชื่อมล้าไยของอาสาสมัครของแต่ละราย ซึ่งอาจท้าให้เห็นฤทธิ์และประสิทธิภาพของสารสกัดในน้้าเชื่อมล้าไยต่อการลดระดับไขมันในเลือดได้ไม่ชัดเจนนัก

จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าในเบื้องต้นการรับประทานน้้าเชื่อมล้าไยของอาสาสมัครที่มีสุ ขภาพดีทั้ง 37 ราย ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 3 เดือน นั้นมีความปลอดภัยและไม่มีผลข้างเคียง เนื่องจากสารสกัดชีวภาพที่พบในน้้าเชื่อมล้าไยไม่มีผลต่อการท้างานของตับและไต เพราะค่าเฉลี่ยเคมีโลหิต AST, ALT, BUN และ Creatinine ที่บ่งบอกการท้างานของตับและไต ไม่แตกต่างจากช่วงก่อนการรับประทานน้้าเชื่อมล้าไยในกลุ่มอาสาสมัคร

การศึกษานี้พบว่าการดื่มน้้าเชื่อมล้าไยในกลุ่มอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี มีผลต่อการเพ่ิมคุณภาพของการนอนหลับ และมีแนวโน้มการลดลงของความดันโลหิตแบบ diastolic โดยไม่ส่งผลต่อการเพ่ิมข้ึนของระดับน้้าตาลในเลือด และไม่พบผลของน้้าเชื่อมล้าไยต่อต่อการท้างานของตับและไตตลอดระยะเวลา 3 เดือน

ข้อเสนอแนะ

ควรท้าการศึกษาโดยให้มีการดื่มน้้าเชื่อมล้าไยเป็นระยะเวลานานขึ้น เพ่ิมปริมาณของกลุ่มอาสาสมัครให้มากขึ้นเพ่ือลดตัวแปรต่างๆ การก้าหนดปริมาณที่เหมาะสมต่อการบริโภคให้เหมาะสมกับอาสาสมัครแต่ล ะรายเช่น ปริมาณที่รับประทานต่อน้้าหนักของอาสาสมัคร นอกจากนี้อาจจะศึกษาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการรับประทานน้้าเชื่อมล้าไยเพ่ือเพ่ิมประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในน้้าเชื่อมล้าไยต่อคุณภาพการนอนหลับ ความดันโลหิต ระดับไขมัน และน้้าตาลในเลือด