พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลต...

130
พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลตาบลคลองตาหรุ อาเภอเมืองชลบุรี วัชพลประสิทธิ์ ก้อนแก้ว งานนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ตุลาคม 2557 ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยบูรพา

Upload: others

Post on 29-Jan-2021

7 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

  • พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี

    วัชพลประสิทธิ์ ก้อนแก้ว

    งานนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป

    วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ตุลาคม 2557

    ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยบูรพา

  • กิตติกรรมประกาศ การศึกษาเร่ือง “พฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี” ส าเร็จลงได้ด้วยความกรุณาจากหลายท่านที่ได้อนุเคราะห์ให้ความช่วยเหลือและให้ค าปรึกษา แนะน าแนวทางที่ถูกต้องอย่างดียิ่ง โดยเฉพาะอาจารย์เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ อาจารย์ที่ปรึกษางานนิพนธ์ ได้กรุณาให้ค าปรึกษา แนะน า ตลอดจนแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ของงานนิพนธ์ฉบับนี้ เพื่อความถูกต้องสมบูรณ์ ซึ่งผู้ศึกษารู้สึกซาบซึ้งในความกรุณาและเสียสละเวลา ของท่านเป็นอย่างยิ่ง จึงขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ขอขอบพระคุณ นางสาวน้ าทิพย์ สิงห์ตาก้อง ปลัดเทศบาลต าบลคลองต าหรุ นางวรรณี ปิ่นทองค า ผู้อ านวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และนางสาวจิณณ์กมล เดชชีวะ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาชุมชน รักษาราชการแทน ผู้อ านวยการกองสวัสดิการสังคม ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้กรุณาตรวจสอบความสมบูรณ์ของเนื้อหาและความเที่ยงตรงของเคร่ืองมือ และขอขอบพระคุณ ผู้สูงอายุ ที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี ทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม ท้ายที่สุด ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ บิดา มารดา ตลอดจนทุกท่านที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมิได้กล่าวนาม ณ ที่นี้ ผู้ศึกษาขอกราบขอบพระคุณไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย

    วัชพลประสิทธิ์ ก้อนแก้ว

  • 55930308: สาขาวิชา: การบริหารทั่วไป; รป.ม. (การบริหารทั่วไป)

    ค าส าคัญ: พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ/ ผู้สูงอายุ

    วัชพลประสิทธิ์ ก้อนแก้ว: พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี (THE HEALTH BEHAVIOR OF ELDERLY OF KLONGTUMRU SUB-DISTRICT, AMPHOE MUEANG CHON BURI) อาจารย์ผู้ควบคุมงานนิพนธ์: เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ, ศศ.ม. 119 หน้า. ปี พ.ศ. 2557.

    การวิจัยเร่ือง พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ

    อ าเภอเมืองชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ และเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพโดยรวม จ าแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล เก็บข้อมูลจากผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่างจ านวน 227 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( X ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรใช้ค่าการทดสอบที (Independent sample t-test) และใช้สถิติ One-way ANOVA, Brown-forsythe และ Welch โดยเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheff ’s method) โดยก าหนดระดับนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05

    ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่ตอบแบบสอบถามจะเป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 60-69 ปี มากกว่าคร่ึงมีสถานภาพสมรส มีการศึกษาระดับประถมศึกษา มากกว่าคร่ึงมีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน มีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย มีแหล่งที่มาของรายได้ส่วนใหญ่ ได้รับจากสวัสดิการจากรัฐ มีภาวะสุขภาพอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง มีสัดส่วนผู้มีโรคประจ าตัวและไม่มีโรคประจ าตัวใกล้เคียงกัน โดยพบว่า ผู้ที่มีโรคประจ าตัวป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด รองลงมาคือโรคเบาหวาน และการวิเคราะห์ระดับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี พบว่า ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมือ่พิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยมีพฤติกรรมด้านการรับประทานอาหารเป็นพฤติกรรมดีที่สุด รองลงมาคือ การปฏิบัติตนในภาวะเจ็บป่วย การจัดการความเครียด และมีพฤติกรรมการออกก าลังกายแย่ที่สุด และ เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุจ าแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า ผู้สูงอายุที่มีอายุ สถานภาพสมรส รายได้ ความพอเพียงของรายได้ และภาวการณ์มีโรคประจ าตัวแตกต่างกัน มีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้สูงอายุที่มีเพศ ระดับการศึกษา แหล่งที่มาของรายได้ส่วนใหญ่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

  • 55930308: MAJOR: GENERAL ADMINISTRATION; M.P.A. (GENERAL ADMINISTRATION) KEYWORDS: THE HEALTH BEHAVIOR OF ELDERLY/ ELDERLY WATCHAPOLPRASIT KONKAEW: THE HEALTH BEHAVIOR OF ELDERLY OF KLONGTUMRU SUB-DISTRICT, AMPHOE MUEANG CHON BURI. ADVISOR: TIENKAEW LIEMSUWAN, M.A. 119 P. 2014. The purposes of this study were to study to what extent was the elderly’s health behavior and to compare the overall health behavior of the elderly categorized by personal data. The data were collected from the sample group consisting of 227 elderly people. The statistics used for data analysis included frequency, percentage, mean ( X ), and standard deviation. Independent sample t-test, One-way ANOVA, Brown –Forsythe and Welch were used to analyze the differences among the variables. Scheff ’s method was also used to compare each pair and the significance level was determined at .05. The findings revealed that most of the elderly were female respondents whose age ranged from 60 to 69 years. More than half of the respondents’ marital status was married. They had primary school education. In addition, more than half of the respondents’ monthly income was less than 5,000 baht. Their income was less than their expenses. The source of most of their income was the government welfare. Their health condition was at the moderate level. The proportion of those with congenital disease and those with no congenital disease was similar. For those with congenital disease, high blood pressure was found the most and this was followed by diabetes. For the analysis of the extent of health behavior of the elderly of Klongtumru, Amphoe Mueang Chon Buri, it was found that the overall health behavior of the elderly was at the moderate level. When each aspect was considered, it was found that every aspect of health behavior of the elderly was at the moderate level. Eating habit was the best behavior. This was followed by the practice during illness and stress management. Exercise behavior was the worst. When there was the comparison of the overall health behavior of the elderly categorized by their personal data, it was found that the elderly with different age, marital status, income, adequacy of income, and the condition of congenital disease did not differ in health behavior. However, the elderly with different gender, level of education, and the source of income differed in health behavior at the significance level of .05.

  • สารบัญ

    หน้า บทคัดย่อภาษาไทย......................................................................................................................บทคัดย่อภาษาอังกฤษ................................................................................................................. สารบัญ........................................................................................................................................ สารบัญตาราง.............................................................................................................................. สารบัญภาพ................................................................................................................................. บทที่ 1 บทน า.................................................................................................................................. ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา.................................................................... ปัญหาของการวิจัย...................................................................................................... วัตถุประสงค์ของการวิจัย......................................................................................... .

    สมมติฐานการวิจัย....................................................................................................... ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย...................................................................... ขอบเขตการวิจัย........................................................................................................ กรอบแนวคิดในการวิจัย............................................................................................

    นิยามศัพท์เฉพาะ...................................................................................................... 2 แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง............................................................................... แนวคิดผู้สูงอายุ......................................................................................................... แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ............................................................................ แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ............................................................... สถานการณ์ของผู้สูงอายุ........................................................................................... นโยบายที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ................................................................................... งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง....................................................................................................

    3 วิธีด าเนินการวิจัย................................................................................................................ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง....................................................................................... เคร่ืองมือที่ใช้ในการวิจัย............................................................................................. การสร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ...................................................................

    ง จ ฉ ซ ฎ

    1 1 5 5 6 6 7 7 8

    11 11 25 27 32 41 57 66 66 68 69

  • สารบัญ (ต่อ)

    บทที่ หน้า การเก็บรวบรวมข้อมูล.............................................................................................. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล......................................................................................... การวิเคราะห์ข้อมูล.................................................................................................... เกณฑ์การแปลผล..................................................................................................... 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล........................................................................................................... ส่วนที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาล ต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี โดยการแสดงจ านวนและร้อยละ..................... . ส่วนที่ 2 วิเคราะห์ระดับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในด้านพฤติกรรม การออกก าลังกายพฤติกรรมด้านการรับประทานอาหาร พฤติกรรมด้าน การปฏิบัติตน ในภาวะเจ็บป่วย พฤติกรรมด้านการจัดการความเครียดของ ผู้สูงอายุ ที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี.............................. ส่วนที่ 3 การทดสอบสมมติฐาน................................................................................ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ..................................................................................... สรุปผลการวิจัย......................................................................................................... อภปิรายผล................................................................................................................ ข้อเสนอแนะ.............................................................................................................. บรรณานุกรม.............................................................................................................................. ภาคผนวก....................................................................................................................................

    ภาคผนวก ก......................................................................................................................... ภาคผนวก ข.........................................................................................................................

    ประวัติย่อของผู้วิจัย.....................................................................................................................

    70 71 71 72 73

    73

    77 86 96 96 97 102 105 109 110 114 119

  • สารบัญตาราง

    ตารางที่ หน้า 1-1 จ านวนประชากรในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุจ าแนกตามกลุ่มอายุ............................ 2-1 ดัชนีมวลกาย................................................................................................................. 2-2 สรุปงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม....... 3-1 การค านวณได้จ านวนกลุ่มตัวอย่างแต่ละชุมชน ............................................................ 4-1 จ านวนและร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จ าแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล............... 4-2 จ านวนและร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จ าแนกตามรายได้ของผู้สูงอายุ................... 4-3 จ านวนและร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จ าแนกตามภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ........ 4-4 จ านวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของผู้ตอบแบบสอบถาม จ าแนกตามพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุด้านการรับประทานอาหาร.......................... 4-5 จ านวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของผู้ตอบแบบสอบถาม จ าแนกตามพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุด้านการออกก าลังกาย.................................. 4-6 จ านวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของผู้ตอบแบบสอบถาม จ าแนกตามพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุด้านการปฏิบัติตนในภาวะเจ็บป่วย............. 4-7 จ านวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของผู้ตอบแบบสอบถาม จ าแนกตามพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุด้านการจัดการความเครียด......................... 4-8 สรุปผลการวิเคราะห์ระดับพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมสรุปผลการวิเคราะห์ระดับ พฤตกิรรมสุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขต เทศบาลต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี........................................................................................................... 4-9 การเปรียบเทียบเพศกับพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาล ต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี................................................................................. 4-10 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของพฤติกรรมสุขภาพโดยรวม จ าแนกตามอายุ...….... 4-11 ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างอายุกับพฤติกรรม

    สุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี............................................................................................................

    4-12 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของพฤติกรรมสุขภาพโดยรวม จ าแนกตามระดับ การศึกษา......................................................................................................................…

    3 32 64 67 74 75 76

    78

    81

    83

    85

    86

    87 87

    88

    88

  • สารบัญตาราง (ต่อ)

    ตารางที่ หน้า 4-13 ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระดับการศึกษา กับพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุที่อาศยัในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี........................................................................................................... 4-14 ผลความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพโดยรวม จ าแนกตาม ระดับการศึกษา.............................................................................................................. 4-15 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของพฤติกรรมสุขภาพโดยรวม จ าแนกตามสถานภาพ...................................................................................................… 4-16 ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างสถานภาพ กับพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี.......................................................................................................... 4-17 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของพฤติกรรมสุขภาพโดยรวม จ าแนกตามรายได้.......................................................................................................… 4-18 ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างรายได้กับพฤติกรรม สุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี............................................................................................................. 4-19 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของพฤติกรรมสุขภาพโดยรวม จ าแนกตาม ความพอเพียงของรายได้................................................................................................ 4-20 ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างความพอเพียง ของรายได้กับพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาล ต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี............................................................................... 4-21 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของพฤติกรรมสุขภาพโดยรวม จ าแนกตาม แหล่งรายได้ส่วนใหญ่................................................................................................... 4-22 ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างแหล่งรายได้ส่วนใหญ่ กับพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี........................................................................................................... 4-23 ผลความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพโดยรวม จ าแนกตาม รายได้ส่วนใหญ่............................................................................................................

    89

    89

    90

    90

    91

    91

    92

    92

    93

    93

    94

  • สารบัญตาราง (ต่อ)

    ตารางที่ หน้า 4-24 การเปรียบเทียบภาวการณ์มีโรคประจ าตัวกับพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุ ที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี............................................. 4-25 สรุปผลการทดสอบสมมติฐาน.......................................................................................

    94 95

  • สารบัญภาพ

    ภาพที่ หน้า 1-1 แนวโน้มร้อยละของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี..... 1-2 กรอบแนวคิดในการวิจัย......................................................................................................

    4 8

  • บทที่ 1 บทน ำ

    ควำมเป็นมำและควำมส ำคัญของปัญหำ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทย พบว่าปัจจุบัน สังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีแนวโน้มที่จ านวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีจ านวนเพิ่มขึ้นเร่ือย ๆ และจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางอายุของประชากรนั้น เกิดจากสัดส่วนของประชากรในวัยต่าง ๆ เมื่อจ าแนกประชากรออกเป็นกลุ่มอายุ 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ประชากรวัยเด็ก (อายุน้อยกว่า 15 ปี) วัยแรงงาน (อายุ 15-59 ป)ี และวัยสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) พบว่า ในระหว่าง ปี พ.ศ. 2553-พ.ศ. 2583 สัดส่วนของประชากรวัยเด็ก และวัยแรงงาน มีแนวโน้มลดลง ในขณะที่สัดส่วนของประชากรสูงอายุ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเน่ืองจากร้อยละ 13.2 ในป ีพ.ศ. 2553 เป็นร้อยละ 32.1 ในปี พ.ศ. 2583 และที่น่าสังเกต คือ ในปี พ.ศ. 2560 จะเป็นปีที่คาดว่าสัดส่วนของประชากรวัยเด็กจะเท่ากันกับสัดส่วนของประชากรวัยสูงอายุ อันเป็นผลจากความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุข รวมทั้งการกระจายบริการด้านสาธารณสุข และจากนโยบายการวางแผนครอบครัว ที่ส่งผลให้อัตราการเจริญพันธุ์ของประชากรลดลง จึงท าให้ประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นและมีอายุยืนยาว ซึ่งการมีอายุที่เพิ่มขึ้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

    จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรท าให้รัฐบาล ได้ตระหนักถึงสถานการณ์การมีอายุสูงขึ้นของประชากร และก าลังเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสังคมผู้สูงอายุ ในการวางแผนนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ที่จะเหมาะสมกับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงของสังคมผู้สูงอายุนั้น และส่งผลให้ภาคส่วนราชการต่าง ๆ ได้ตระหนัก และให้ความส าคัญกับ การเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เร่ิมจากมีการก าหนดแนวทาง การพัฒนาไว้อย่างเป็นรูปธรรม ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 เป็นต้นมา โดยในแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 8 ให้ความส าคัญกับการพัฒนากลุ่มผู้สูงอายุที่ยากจน ไม่มีญาติหรือผู้เลี้ยงดู มุ่งเน้นในเร่ืองการจัดสวัสดิการสงเคราะห์ในรูปของเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ การรักษาพยาบาลและการส่งเสริมครอบครัว ในการดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น นอกจากนี ้ในช่วงแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 10 ก าหนดแนวทางในการส่งเสริมคุณค่าของผู้สูงอายุ การสนับสนุนให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงบริการสังคมต่าง ๆ อย่างทั่วถึง ทั้งการพัฒนาศักยภาพในการประกอบอาชีพ การเสริมสร้างสุขภาพ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ได้หลากหลายวิธีอย่างเท่าเทียม รวมทั้งการส่งเสริมการออมเพื่อสร้างหลักประกันที่มั่นคงในการ

  • 2

    ด ารงชีวิตยามชราภาพ ด้วยการพัฒนาระบบการออมในรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น ส าหรับในช่วงแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 11 มุ่งเน้นและให้ความส าคัญกับการพัฒนาผู้สูงอายุให้มีความมั่นคง ทางเศรษฐกิจและสังคม มีคุณภาพและคุณค่า สามารถปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลงและ เป็นพลังในการพัฒนาสังคม โดยก าหนดแนวทางที่ส าคัญในการส่งเสริมการสร้างรายได้ และ การมีงานท าในผู้สูงอายุ การสนับสนุนให้มีการน าความรู้และประสบการณ์ของผู้สูงอายุ มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่นและประเทศ ตลอดจนการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุ ในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งในเร่ืองการจัดบริการสุขภาพและสวัสดิการสังคมอย่างบูรณาการ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

    การเปลี่ยนโครงสร้างทางอายุประชากรไทยเป็นประชากรสูงวัย เป็นภาวการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ประเด็นท้าทายที่ตามมา คือ จะท าอย่างไรที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุควบคู่ไปกับการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าต่อไปอย่างยั่งยืน (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, 2556) แนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จึงไม่ใช่เพียงแค่การจัดให้มีการสงเคราะห์หรือให้บริการต่าง ๆ ที่จ าเป็นแก่ผู้สูงอายุเท่านั้น เพราะจะท าให้ผู้สูงอายุถูกประเมินค่าว่าเป็นภาระของสังคม เป็นผู้ถ่วงรั้งกระบวนการพัฒนาของประเทศ แต่ต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีศักยภาพ สามารถพึ่งตนเองได้นานที่สุด และสามารถร่วมเป็นพลังในการพัฒนาครอบครัว ชุมชน และประเทศ ได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นองค์กรของชุมชนที่ถูกก าหนดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมตามหลักการกระจายอ านาจ ทั้งยังเป็นองค์กรที่แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ก าหนดให้เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ ทั้งในด้าน การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ การคุ้มครองผู้อายุ ตลอดจนรวบรวมข้อมูลด้านผู้สูงอายุ ในพื้นที่อย่างเป็นระบบเพื่อใช้เป็นฐานในการก าหนดแผน โครงการ และกิจกรรมด้านผู้สูงอายุให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการในพื้นที่ รวมทั้งสามารถใช้เป็นข้อมูลในการประเมินผลการด าเนินงานของตน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรที่มีบทบาทหน้าที่ตามกฎหมายที่จะรับผิดชอบในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรกลุ่มเปราะบาง และกลุ่มด้อยโอกาส รวมถึงประชากรสูงอายุ นอกจากนี้ยังเป็นองค์กรที่มีความใกล้ชิดผู้สูงอายุมากที่สุดถัดจากครอบครัว น่าจะเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุได้อย่างดี ด้วยเหตุนี้แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) จึงริเร่ิมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเพื่อพัฒนาและถอดบทเรียนจากพื้นที่ต้นแบบที่ท างานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยมีสมมติฐานว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีศักยภาพทั้งในด้านการเงิน บทบาทหน้าที่ตามกฎหมายน่าจะสามารถดึงพลังสมาชิกในชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มาร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุได้ อันจะช่วยให้การเปลี่ยนผ่านสู่

  • 3

    สังคมสูงวัยของชุมชนและของประเทศเป็นไปอย่างราบรื่น และส่งผลให้ชุมชนและประเทศมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายใต้บริบทของสังคมสูงวัย การสงเคราะห์ผู้สูงอายุนั้น ก็ถือเป็นภารกิจหน้าที่หนึ่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดบริการสาธารณะเพื่อประชาชน ซึ่งได้ก าหนดไว้ในพระราชบัญญัติก าหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอ านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และพระราชบัญญัติสภาต าบลและองค์การบริหารส่วนต าบล พ.ศ. 2537 กล่าวคือ พระราชบัญญัติก าหนดแผน และขั้นตอนการกระจายอ านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16(10) ก าหนดให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนต าบล มีอ านาจหน้าที่ในการสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส ซึ่งเป็นการกล่าวถึงการสงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยรวมไว้กับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสอ่ืน ๆ ส่วนองค์การบริหารส่วนจังหวัด กฎหมายฉบับนี้ได้ก าหนดให้มีอ านาจหน้าที่ในการสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เช่นเดียวกับ เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนต าบล โดยปรากฏอยู่ใน มาตรา 17(27) นอกจากนี้ พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 50(7) มาตรา 53(1) และ มาตรา 56(1) ก าหนดให้เทศบาลต าบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร มีอ านาจหน้าที่ต้องส่งเสริมการพัฒนาผู้สูงอายุ และตามพระราชบัญญัติสภาต าบลและองค์การบริหารส่วนต าบล พ.ศ. 2537 มาตรา 67(6) ก าหนดให้องค์การบริหารส่วนต าบล มีหน้าที่ดังกล่าวเช่นเดียวกัน โดยสะท้อนให้เห็นว่าผู้สูงอายุเป็นกลุ่มผู้ด้อยโอกาสกลุ่มหนึ่งที่ต้องได้รับการสงเคราะห์และได้รับการพัฒนา ซึ่งรวมถึงกลุ่มสตรี เด็ก และผู้พิการ ตารางที่ 1-1 จ านวนประชากรในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุจ าแนกตามกลุ่มอายุ

    ช่วงอำยุ ร้อยละ (%)

    ปี พ.ศ. 2554 ปี พ.ศ. 2555 ปี พ.ศ. 2556 ปี พ.ศ. 2557 0-9 12.83 12.19 11.25 11.49

    10-19 13.08 13.32 11.97 11.96 20-29 18.18 17.39 19.03 18.41 30-39 18.47 18.98 19.91 20.18 40-49 16.56 16.55 15.93 15.96 50-59 9.62 10.08 10.21 10.33

  • 4

    ตารางที่ 1-1 (ต่อ)

    ภาพที่ 1-1 แนวโน้มร้อยละของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี เทศบาลต าบลคลองต าหรุ เป็นชุมชนกึ่งชุมชนเมือง อยู่ใกล้กับนิคมอุตสาหกรรมอมตะ

    นคร มีประชากร ณ เดือนพฤษภาคม 2557 จ านวนทั้งสิ้น 4,405 คน เป็นเพศชาย 2,148 คน เพศหญิง 2,257 คน (ส านักทะเบียนอ าเภอเมืองชลบุรี, 2557) จากข้อมูลจะเห็นได้ว่ากลุ่มประชากร ที่ก าลังย่างเข้าสู่วัยสูงอายุที่อยู่ในช่วงอายุ 50-59 ป ี(ตาราง 1-1) เร่ิมมีจ านวนมากขึ้นและจากข้อมูลด้านประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นทุกปี (ภาพที่ 1-1) เน่ืองจากสภาพเศรษฐกิจสังคมที่เปลี่ยนแปลง ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นในด้านสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ อาจท าให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุต่ าลง จากข้อมูลการตรวจสุขภาพคัดกรองโรคของผู้สูงอายุ (กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

    ช่วงอำยุ ร้อยละ (%)

    ปี พ.ศ. 2554 ปี พ.ศ. 2555 ปี พ.ศ. 2556 ปี พ.ศ. 2557 60-69 6.35 6.35 6.27 6.31 70-79 3.60 3.73 3.78 3.75 80-89 1.14 1.20 1.47 1.43

    90 ปีขึ้นไป 0.17 0.21 0.18 0.18 รวม 100 100 100 100

  • 5

    เทศบาลต าบลคลองต าหรุ, 2557) พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีภาวะเจ็บป่วยโรคเร้ือรังและมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือด โรคอ้วน เป็นต้น จะเห็นได้จากการเก็บข้อมูล การเจ็บป่วยของผู้สูงอายุ พบว่า เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพ จากความหมายพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ (อรชร โวทวี, 2548, หน้า 31) คือ การส่งเสริมการกระท ากิจกรรมต่าง ๆ ของผู้สูงอายุ ให้มีการปฏิบัติจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจ าวัน เพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรงป้องกันการเกิดโรค สามารถด าเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้ อย่างปกติสุข และช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้รับการตอบสนองความต้องการในชีวิต เป็นผลให้ผู้สูงอายุมีความเป็นอยู่ที่ดี มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี อันจะน าไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี ในที่สุด ท าให้เทศบาลต าบลคลองต าหรุ ต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อให้ผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยได้มีการด าเนินงานด้านส่งเสริมสุขภาพ และสังคมให้แก่ผู้สูงอายุ ได้แก่ การส่งเสริมการออกก าลังกายเต้นแอโรบิค การตรวจสุขภาพคัดกรองความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ และการติดตามการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ

    ดังนั้น ผู้วิจัยในฐานะผู้ปฏิบัติงานด้านพัฒนาชุมชน กองสวัสดิการสังคม เทศบาลต าบลคลองต าหรุ จึงต้องการศึกษาพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมือง ชลบุร ีท าให้ทราบถึงระดับพฤติกรรมของผู้สูงอายุและเป็นแนวทางในการส่งเสริม ให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดี ทั้งในด้านการป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสุขภาพ รวมทั้งส่งเสริมให้ครอบครัวและสังคมมีส่วนร่วมในการพัฒนาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุต่อไป

    ปัญหำของกำรวิจัย 1. พฤติกรรมสุขภาพด้านพฤติกรรมการออกก าลังกาย พฤติกรรมด้านการรับประทาน

    อาหาร พฤติกรรมด้านการปฏิบัติตนในภาวะเจ็บป่วย พฤติกรรมด้านการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรีอยู่ในระดับใด

    2. ผู้สูงอายุ ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ รายได้ ความพอเพียงของรายได้ แหล่งที่มาของรายได้ส่วนใหญ่ ภาวะการมีโรคประจ าตัวแตกต่างกัน มีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร

    วัตถุประสงค์ของกำรวิจัย 1. เพือ่ศึกษาระดับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในด้านพฤติกรรมการออกก าลังกาย พฤติกรรมด้านการรับประทานอาหาร พฤติกรรมด้านการปฏิบัติตนในภาวะเจ็บป่วย พฤติกรรม ด้านการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี

  • 6

    2. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุ ที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบล คลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี จ าแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ รายได้ ความพอเพียงของรายได้ แหล่งที่มาของรายได้ส่วนใหญ่ ภาวะการมีโรคประจ าตัว

    สมมติฐำนกำรวิจัย 1. ผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุร ีที่มีเพศแตกต่างกัน

    มีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมแตกต่างกัน 2. ผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี ที่มีอายุแตกต่างกัน

    มีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมแตกต่างกัน 3. ผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี ที่มีระดับการศึกษา

    แตกต่างกัน มีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมแตกต่างกัน 4. ผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี ที่มีสถานภาพ

    แตกต่างกัน มีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมแตกต่างกัน 5. ผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี ที่มีรายได ้

    แตกต่างกัน มีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมแตกต่างกัน 6. ผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี ที่มีความพอเพียง

    ของรายได้แตกต่างกัน มีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมแตกต่างกัน 7. ผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี ที่มีแหล่งที่มาของ

    รายได้ส่วนใหญ่ แตกต่างกัน มีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมแตกต่างกัน 8. ผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี ที่มีภาวะการมี

    โรคประจ าตัวแตกต่างกัน มีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมแตกต่างกัน

    ประโยชน์ที่คำดว่ำจะได้รับ 1. ท าให้ทราบถึงพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี

    2. ผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ในการวางแผนการปฏิบัติงาน จัดกิจกรรมหรือโครงการของกองสวัสดิการสังคมและกองสาธารณสุข ฯ เทศบาลต าบลคลองต าหรุ องค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ตลอดจนครอบครัวและชุมชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุ เป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม ส่งผลใหผู้้สูงอายุมีสุขภาพดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

  • 7

    3. เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยต่อไปในประเด็นต่าง ๆ ให้กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น เช่น ปัญหาและอุปสรรคต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ

    ขอบเขตกำรวิจัย การวิจัยครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาล

    ต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี จึงได้ก าหนดขอบเขตการวิจัยไว้ดังนี้ 1. ขอบเขตของเน้ือหา การศึกษาคร้ังนี้ได้ศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบล

    คลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี มีตัวแปรที่ใช้ในการวิเคราะห์ ดังนี้ ตัวแปรอิสระ ตัวแปรอิสระ (Independent variable) คือ ลักษณะส่วนบุคคลของผู้สูงอายุ ประกอบไป

    ด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ รายได้ ความพอเพียงของรายได้ แหล่งที่มาของรายได้ส่วนใหญ่ ภาวะการมีโรคประจ าตัว

    ตัวแปรตาม ตัวแปรตาม (Dependent variable) คือ พฤติกรรมสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วย 4 ด้าน คือ

    การรับประทานอาหาร การออกก าลังกาย การปฏิบัติตนในภาวะเจ็บป่วย การจัดการความเครียด 2. ขอบเขตประชากร ประชากรที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้ เป็นผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ อ าเภอ

    เมืองชลบุร ีที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จ านวน 514 คน (ส านักทะเบียนอ าเภอเมืองชลบุรี, 2557) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ

    อ าเภอเมืองชลบุรี ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จ านวน 227 คน 3. ขอบเขตด้านระยะเวลา

    การศึกษาคร้ังนี้ได้ศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบล คลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี เร่ิมท าการศกึษาตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557

    กรอบแนวคิดในกำรวิจัย จากการทบทวนวรรณกรรม พบว่า มีผู้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพของ

    ผู้สูงอายุไว้ใกล้เคียงกัน การวิจัยครั้งน้ีผู้วิจัยจึงได้สนใจที่จะศึกษาว่าปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบไปด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ รายได้ ความพอเพียงของรายได้ แหล่งที่มาของรายได้ส่วนใหญ่ ภาวะการมีโรค

  • 8

    ประจ าตัว ที่ต่างกันจะท าให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพแตกต่างกันอย่างไร โดยเน้นพฤติกรรมสุขภาพ ใน 4 ด้าน คือ 1) การรับประทานอาหาร 2) การออกก าลังกาย 3) การปฏิบัติตนในภาวะเจ็บป่วย 4) การจัดการความเครียด ดังนั้น ผู้วิจัยจึงก าหนดกรอบแนวคิดในการวิจัยพฤติกรรม สุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี ไว้ดังนี้ (อรชร โวทวี, หน้า 69)

    ตัวแปรอิสระ

    ตัวแปรตาม

    ภาพที่ 1-2 กรอบแนวคิดในการวิจัย นิยำมศัพท์เฉพำะ

    เพื่อให้เข้าใจความหมายของค าที่ใช้ในการวิจัยตรงกัน ผู้ศึกษาจึงได้นิยามความหมายของ ค าต่าง ๆ ไว้ ดังนี้

    1. พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ หมายถึง กระท า หรือ ปฏิบัตขิองผู้สูงอายุจนเป็นลักษณะนิสัยในการด าเนินชีวิตประจ าวัน โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมสุขภาพ รักษาสุขภาพและ การป้องกันโรค ท าให้ตนเองมีสุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งประกอบไปด้วยพฤติกรรม 4 ด้าน คือ

    1.1 พฤติกรรมการรับประทานอาหาร หมายถึง การปฏิบัติตนของผู้สูงอายุในการบริโภคอาหารอย่างถูกต้องเหมาะสมในแต่ละวัน เช่น การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยที่

    ข้อมูลส่วนบุคคล 1. เพศ 2. อายุ 3. ระดับการศึกษา 4. สถานภาพ 5. รายได้ 6. ความพอเพียงของรายได้ 7. แหล่งที่มาของรายได้ส่วนใหญ่ 8. ภาวะการมีโรคประจ าตัว

    พฤติกรรมสุขภาพ 1. การรับประทานอาหาร 2. การออกก าลังกาย 3. การปฏิบัติตนในภาวะเจ็บป่วย 4. การจัดการความเครียด

  • 9

    อาหารนั้นต้องเป็นอาหารที่สะอาด ปราศจากสิ่งปนเปื้อนหรือเชื้อโรค เป็นอาหารที่เหมาะสมกับระบบย่อยอาหารของผู้สูงอายุ

    1.2 พฤติกรรมการออกก าลังกาย หมายถึง การปฏิบัติตนของผู้สูงอายุในการเคลื่อนไหวร่างกาย การท ากิจกรรมที่ได้ใช้พลังงาน หรือการบริหารกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจเป็นการประกอบอาชีพ หรือการออกก าลังกายตั้งแต่ระดับเบาถึงปานกลาง เช่น การเดิน การถีบจักรยาน การบริหารร่างกาย การร ามวยจีน โดยใช้ระยะเวลาในการออกก าลังกายคร้ังละประมาณ 30 นาที เป็นเวลา 3-5 วันต่อสัปดาห์ หลังการออกก าลังกายมีอัตราการเต้นของชีพจร 100-120 คร้ังต่อนาที และขณะออกก าลังกายไม่เกิดอาการหน้ามืด ใจสั่น

    1.3 พฤติกรรมการปฏิบัติตนในภาวะเจ็บป่วย หมายถึง การปฏิบัติตนของผู้สูงอายุเมื่อเกิดการเจ็บป่วย เช่น การไปรับการตรวจร่างกายกับเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุข การรับประทานยาการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรค การพักผ่อน การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในยามที่เจ็บป่วย

    1.4 พฤติกรรมการจัดการความเครียด หมายถึง การปฏิบัติตนของผู้สูงอายุเพื่อป้องกันหรือหลีกเลี่ยงจากภาวะเศร้า โกรธ กลัว หรือกังวล อันเกิดจากวัย หรือ จากความอ้างว้างเปล่าเปลี่ยว หรือการถูกทอดทิ้งให้อยู่คนเดียว โดยการพบปะ พูดคุยกับผู้อ่ืน หรือการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมต่าง ๆ ของชุมชน ตลอดจนการปฏิบัติตนตามหลักศาสนา เชน่ การนั่งสมาธิ หรือการท างานอดิเรกต่าง ๆ เพื่อให้รู้สึกสบายทั้งร่างกายและจิตใจ

    2. ผู้สูงอายุ หมายถึง ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ

    3. เพศ หมายถึง เพศของผู้สูงอายุ ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ โดยแบ่งเป็นเพศชาย และเพศหญิง

    4. อายุ หมายถึง จ านวนปีที่มีชีวิตอยู่ของผู้สูงอายุ 5. ระดับการศึกษา หมายถึง การจบการศึกษาขั้นสูงสุดของผู้สูงอายุ ได้แก่ ไม่ได้รับ

    การศึกษา ประถมศึกษาหรือเทียบเท่า มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย/ เทียบเท่า อนุปริญญา/ เทียบเท่า ปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี และอ่ืน ๆ โปรดระบุ

    6. สถานภาพ หมายถึง สถานภาพสมรสของผู้สูงอายุ ได้แก่ โสด สมรส หม้าย หย่า/ แยก 7. รายได้ของผู้สูงอายุ หมายถึง จ านวนเงินที่ผู้สูงอายุได้รับ ต่อเดือน 8. ความพอเพียงของรายได้ หมายถึง ความรู้สึกถึงความพอเพียงของเงินที่ผู้สูงอายุได้รับ

    ในแต่ละเดือนเพื่อใช้ในการด ารงชีวิต เมื่อเปรียบเทียบกับรายจ่าย โดยจ าแนกรายได้ออกเป็น รายได้มากกว่ารายจ่าย รายได้พอดีกับรายจ่าย รายได้น้อยกว่ารายจ่าย

  • 10

    9. แหล่งที่มาของรายได้ หมายถึง ที่มาของรายได้ที่เป็นตัวเงินของผู้สูงอายุ ในแต่ละเดือนมาจากการประกอบอาชีพ บ านาญ จากบุคคลในครอบครัว เช่น คู่สมรส บุตร เป็นต้น สวัสดิการจากรัฐ หรือมาจากแหล่งอื่น ซึ่งสามารถตอบได้มากกว่า 1 แหล่ง

    10. แหล่งที่มาของรายได้ส่วนใหญ่ หมายถึง ที่มาของรายได้หลักของผู้สูงอายุได้รับเงิน ในแต่ละเดือนมาจากการประกอบอาชีพ บ านาญ จากบุคคลในครอบครัว เช่น คู่สมรส บุตร เป็นต้น สวัสดิการจากรัฐ

    11. ภาวะการมีโรคประจ าตัว หมายถึง การที่ผู้สูงอายุมีหรือไม่มีโรคประจ าตัว โดยที่ โรคประจ าตัวนั้นในที่นี้ หมายถึง การเจ็บป่วยด้วยโรคเร้ือรัง ซึ่งเป็นโรคที่รักษาได้ไม่หายขาด ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาอย่างต่อเน่ืองนานมากกว่าหรือเท่ากับ 6 เดือน หรือตลอดชีวิตของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ ซึ่งประกอบด้วย ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคไต

  • บทที ่2 แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

    เพื่อให้การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลต าบลคลองต าหรุ อ าเภอเมืองชลบุรี ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี ้ 1. แนวคิดผู้สูงอายุ 1.1 ความหมายผู้สูงอายุ 1.2 ทฤษฎีเกี่ยวกับผู้สูงอายุ 1.3 การเปลี่ยนแปลงในวัยผู้สูงอายุ 2. แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ 2.1 ความหมายพฤติกรรม 2.2 ความหมายสุขภาพ 2.3 ความหมายพฤติกรรมสุขภาพ 3. แนวคิดพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ 4. สถานการณ์ของผู้สูงอายุ 5. นโยบายที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ 6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

    แนวคิดผู้สูงอาย ุ แนวคิดผู้สูงอายุ

    การให้ความหมายหรือค านิยาม โดยมีการก าหนดว่าบุคคลใดนั้นจะย่างเข้าสู่วัยสูงอายุเมื่อใดนั้น ก็จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน เช่น สภาพสังคม ประเพณ ีและกฎหมายของแต่ละประเทศ โดยทั่วไปความหมายของผู้สูงอายุจะใช้เรียกบุคคลที่มีอายุมากที่มีลักษณะผมขาว หน้าตาเหี่ยวย่น การเคลื่อนไหวเชื่องช้า เป็นต้น

    ส าหรับประเทศไทยมีการให้ความหมายของผู้สูงอายุตามองค์การอนามัยโลก และพระราชบัญญัติผู้สูงอายุฉบับปัจจุบัน พ.ศ. 2546 ผู้สูงอายุ คือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และ ได้มีการใช้ความหมายของผู้สูงอายุนี้ เป็นการก าหนดช่วงที่ผู้สูงอายุมีโอกาสเร่ิมได้รับสิทธิต่าง ๆ จากทางราชการด้วย เช่น การอายุเกษียณของข้าราชการหรืออายุที่เร่ิมได้รับเบี้ยยังชีพ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามการก าหนดอายุที่ 60 ปี นี้ไม่ได้เป็นเกณฑ์ หรือข้อตกลงที่เป็นสากลมีความแตกต่างกัน

  • 12

    12

    ไปในแต่ละประเทศ และประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่ก าหนดความหมายของผู้สูงอายุ คือ ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542 (สุรชัย อยู่สาโก, 2550, หน้า 13) ได้ให้ความหมายค าว่า ชรา ว่าแก่ด้วยอายุ ช ารุด ทรุดโทรม แต่ค านี้ไม่เป็นที่นิยม เพราะก่อให้เกิดความหดหู่ใจ และความถดถอยสิ้นหวัง ทั้งนี้ จากผลการประชุมของคณะผู้อาวุโส โดย พล.ต.ต. หลวงอรรถสิทธิสุนทร เป็นประธาน ได้ก าหนดค าให้เรียกว่า ผู้สูงอายุ แทนต้ังแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2512 เป็นต้นมา ซึ่งค านี้ให้ความหมายที่ยกย่องให้เกียรติแก่ผู้ที่ชราภาพว่าเป็นผู้ที่สูงทั้งวัยวุฒ ิคุณวุฒิ และประสบการณ์ แตย่ังมีนักวิชาการหลายท่านได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่าในช่วงอายุของผู้สูงอายุนั้น มีความแตกต่างกันตามสภาพร่างกายและจิตใจ จึงแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุ ได้ดังนี้ สาวิตรี ลิ้มชัยอรุณเรือง (2536 อ้างถึงใน พัชรี เขียวสอาด, 2550, หน้า 9) มีแนวคิดว่า ควรแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. ผู้สูงอายุตอนต้น อายุ 60-69 ปี มีสุขภาพกาย และจิตสังคมค่อนข้างดี 2. ผู้สูงอายุตอนกลาง อายุ 70-79 ปี เร่ิมพบความเสื่อมถอยทางร่างกายและจิตสังคม 3. ผู้สูงอายุตอนกลาง อายุ 80 ปีขึ้นไป พบว่าภาวะเสื่อมถอยปรากฏชัดเจน นอกจากนี้ ได้มีแนวคิดเพิ่มเติมว่า การแบ่งวัยผู้สูงอายุควรแบ่งตามการเปลี่ยนแปลง ทางด้านร่างกายในลักษณะเสื่อมถอยการเจริญเติบโตของร่างกาย และความต้านทานโรคน้อยลง ความสามารถด้านการปรับตัวและบทบาททางสังคมของแต่ละบุคคลจะมีความสามารถที่ แตกต่างกันออกไป ผู้สูงอายุจะมีลักษณะและปัจจัยที่ท าให้เกิดความชรา รวมทั้ง การใช้ชีวิตอยู่ในสังคมแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะปัญหาส่วนตัว ทางด้านร่างกายความสามารถในการปรับตัวของแต่ละบุคคลที่ไม่เหมือนกัน ตลอดจนบทบาทและลักษณะนิสัยทางสังคมของผู้สูงอายุที่ได้อยู่ในสังคมนั่นเอง (โสภาพรรณ รัตนัย, 2555, หน้า 8) จึงแบ่งผู้สูงอายุออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ วัยเร่ิมต้นของการสูงอายุ บุคคลที่มีอายุ 51-65 ป�